เกษตรกรนิงถ่วนปลูกองุ่นเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน
Văn Cảnh-Tô Tuấn -  
(VOVworld) – จังหวัดนิงถ่วนในภาคกลางตอนล่างเป็นเขตที่มีชื่อเสียงในการปลูกองุ่นของ เวียดนามโดยองุ่นนิงถ่วนได้กลายเป็นสินค้าที่มีศักยภาพเพื่อการพัฒนาซึ่ง ด้วยความได้เปรียบนี้ จังหวัดนิงถ่วนจึงเห็นว่า ควรพัฒนาพันธุ์และการปลูกองุ่นในจังหวัดนิงถ่วนให้กลายเป็นเขตผลิตองุ่นที่ ใหญ่ที่สุดของประเทศเพื่อมีส่วนร่วมปรับปรุงมาตรฐานในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ให้มีความสมบูรณ์
(VOVworld) – จังหวัดนิงถ่วนในภาคกลางตอนล่างเป็นเขตที่มีชื่อเสียงในการปลูกองุ่นของเวียดนามโดยองุ่นนิงถ่วนได้กลายเป็นสินค้าที่มีศักยภาพเพื่อการพัฒนาซึ่งด้วยความได้เปรียบนี้ จังหวัดนิงถ่วนจึงเห็นว่า ควรพัฒนาพันธุ์และการปลูกองุ่นในจังหวัดนิงถ่วนให้กลายเป็นเขตผลิตองุ่นที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเพื่อมีส่วนร่วมปรับปรุงมาตรฐานในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ให้มีความสมบูรณ์
สวนปลูกองุ่นในจังหวัดนิงถ่วน
|
ในหลายปีมานี้ องุ่นถือเป็นไม้ผลเฉพาะและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจในจังหวัดนิงถ่วนโดยมีพื้นที่ปลูกองุ่นคิดเป็นร้อยละ 3 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมดของจังหวัดและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจคิดเป็นร้อยละ 13 ของยอดมูลค่าการผลิตเกษตรของจังหวัด แต่ในหลายปีที่ผ่านมา พื้นที่ปลูกองุ่นของจังหวัดยังคง พัฒนาอย่างล่าช้าและยังไม่มีเขตปลูกองุ่นปลอดสารพิษ ในสภาวการณ์ดังกล่าว ควบคู่กับกระบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ จังหวัดนิงถ่วนได้ปฏิบัติมาตรการต่างๆอย่างพร้อมเพรียงเกี่ยวกับการวางแผน เปลี่ยนแปลงโครงสร้างพันธุ์พืชและตระหนักว่า องุ่นคือพืชเศรษฐกิจหลักเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนาเป็นสวนขนาดใหญ่ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการผลิต พัฒนาอาชีพปลูกองุ่นตามแนวทางที่ปลอดสารและยั่งยืน
นาย เหงียนวันหม่อย ในตำบล เฟือกถ่วน อำเภอนิงเฟือก จังหวัดนิงถ่วนซึ่งเป็นหนึ่งใน 30 คนที่ได้ประกอบอาชีพปลูกองุ่นมาเป็นเวลา 30 ปีและประสบความยากลำบาก แต่จากการช่วยเหลือของทางการตำบลในการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในการปลูก จนถึงปัจจุบัน นาย เหงียนวันหม่อยได้มีสวนองุ่นขนาดใหญ่ จัดสรรองุ่นสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากองุ่นไปยังตลาด นอกจากพื้นที่ปลูกองุ่น 1.5 เฮกต้าร์ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชของเวียดนามหรือ VietGAP แล้ว นาย หม่อย ยังมีพื้นที่ปลูกองุ่น 10 เฮกตาร์ ปัจจุบัน เครื่องหมายการค้า “องุ่น คุณหม่อย” ได้มีส่วนแบ่งในตลาดและสวนองุ่นของเขาก็ยังเป็นสถานที่วิจัย ให้การช่วยเหลือด้านเทคนิคและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้แก่ครอบครัวเกษตรกรที่ปลูกองุ่น นาย เหงียนวันหม่อยได้เผยว่า“จากความต้องการผลไม้ปลอดสารพิษที่นับวันเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ถึงแม้ลำบากแต่ผมก็คิดว่า แนวทางที่จำเป็นในปัจจุบันคือการปลูกองุ่นตามมาตรฐาน VietGAP เพราะไม่ต้องกลัวปัญหาความราคาตกต่ำ อีกทั้งยังช่วยปกป้องสุขภาพของผู้บริโภคและของตัวเราเอง”
ส่วนที่ตำบล เยินหาย อำเภอนิงหาย จังหวัดนิงถ่วน รูปแบบปลูกองุ่นตามมาตรฐาน VietGap ก็ได้รับการปฏิบัติเมื่อต้นปี 2014 โดยครอบครัวเกษตรกรที่เข้าร่วมรูปแบบนี้ก็ได้รับการถ่ายทอดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในการปลูกองุ่นปลอดสารพิษในเบื้องต้นและกระบวนการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ก่อนเก็บเกี่ยวซึ่งผ่าน 1 ฤดูเก็บเกี่ยวตามมาตรฐาน VietGap สวนองุ่นของครอบครัวเหล่านี้ต่างได้รับใบรับรองผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษและมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 25 ส่วนรายได้ก็เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30 การปลูกองุ่นตามมาตรฐาน VietGap ยังให้ผลดีในหลายด้าน เช่น ประหยัดค่าใช้จ่ายให้แก่เกษตรกร จำกัดการใช้ปุ๋ยและสารเคมีด้วยการใช้ปุ๋ยธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปริมาณผลผลิตองุ่นก็เพิ่มมากขึ้น
ตามโครงการ “พัฒนาการเกษตร เกษตรกรและชนบทจังหวัดนิงถ่วนในช่วงปี 2011-2020” ทางจังหวัดยังได้ตั้งเป้าไว้ว่า องุ่นคือผลไม้หลัก พื้นที่ปลูกองุ่นจะเพิ่มขึ้นเป็น 2500 เฮกต้าร์ ปริมาณผลผลิตบรรลุ 4 หมื่น 1 พันตันในปี 2015 และ 6 หมื่นตันในปี 2020 นอกจากนั้น ทางจังหวัดยังเน้นพัฒนาการปลูกองุ่นในเขตที่เหมาะสมและค้ำประกันว่า ในปี 2015 ปริมาณผลผลิตองุ่นที่บรรลุมาตรฐาน VietGap จะอยู่ที่ร้อยละ 30 สร้างเครื่องหมายการค้าและปฏิบัติการเชื่อมโยงและร่วมมือตามแขนงอาชีพระหว่างเกษตรกรปลูกองุ่น ผู้แปรรูปและผู้จำหน่ายเพื่อเพิ่มผลผลิต คุณภาพ ตอบสนองความต้องการเกี่ยวกับการขยายตลาด นาย โจวทังลอง รองผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทนิงถ่วนได้เผยว่า“พวกเราได้ตรวจสอบที่ดินที่เหมาะสมกับการปลูกองุ่น ให้ความสนใจถึงการวิจัย การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและหาพันธุ์องุ่นที่เหมาะสม ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะกับแต่ละสภาพที่ดิน ควบคู่กับโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน มีการเชื่อมโยงกับสถานประกอบการในการจำหน่ายและให้ความสนใจถึงเขตปลูกองุ่นปลอดสารพิษ สร้างเครื่องหมายการค้าองุ่นนิงถ่วนควบคู่กับการรักษาสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับการรับรอง”
การพัฒนาองุ่นนิงถ่วนอย่างยั่งยืนกำลังแสดงให้เห็นว่า นี่คือแนวทางที่ถูกต้อง นำผลิตภัณฑ์เกษตรของจังหวัดนิงถ่วนมีส่วนแบ่งที่ยั่งยืนในตลาดอย่างค่อยเป็นค่อยไป การเน้นพัฒนาผลไม้ที่มีความได้เปรียบนี้ยังมีส่วนร่วมยกระดับประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกร ตลอดจนผลักดันกระบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่./.
Văn Cảnh-Tô Tuấn