“45 ปี ปิยสัมพันธ์ ไทย-เวียดนาม : มรรคาแห่งประวัติศาสตร์”

(VOVWORLD) - ในโอกาสรำลึกครบรอบ 45 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเวียดนาม-ไทยซึ่งตรงกับวันที่ 6 สิงหาคม  เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา ดร.เจืองถิหั่ง อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางและดร.นคร เสรีรักษ์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เขียนหนังสือชื่อ “45 ปี ปิยสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม (ค.ศ.1976-2021): มรรคาแห่งประวัติศาสตร์”  หนังสือเล่มนี้ถือเป็นหนึ่งในเอกสารอันล้ำค่าสำหรับประชาชนทั้งสองประเทศเพื่อจะได้มีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับสัมพันธไมตรีระหว่างเวียดนามกับไทย ในรายการชายคาอาเซียนวันนี้ ทางผู้จัดทำรายการขอเชิญท่านผู้ฟังพบปะกับดร. นคร เสรีรักษ์เพื่อศึกษาเรียนรู้หนังสือเล่มนี้
“45 ปี ปิยสัมพันธ์ ไทย-เวียดนาม : มรรคาแห่งประวัติศาสตร์” - ảnh 1
 
 

หนังสือ “45 ปี ปิยสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม (ค.ศ.1976-2021): มรรคาแห่งประวัติศาสตร์” ถูกจัดพิมพ์เป็น 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาเวียดนามที่มี 272 หน้าและภาษาไทยที่มี 367 หน้าซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก โดยส่วนแรกคือ สัมพันธภาพไทย-เวียดนามก่อนปีค.ศ. 1976 ส่วนที่สองคือ 45 ปีสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม (ค.ศ. 1976-2021):มรรคาแห่งประวัติศาสตร์ และส่วนที่สามคือการเจรจาทางการฑูต - แนวโน้มร่วมในความสัมพันธ์เวียดนาม - ไทย ดร. นคร เสรีรักษ์ ได้เล่าถึงโอกาสในการร่วมมือกับ ดร.เจือง ถิ หั่งเพื่อเขียนหนังสือเล่มนี้ว่า

“ผมสนใจเรื่องการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อยู่แล้ว แล้วก็ให้ความสนใจเกี่ยวกับเวียดนามเป็นพิเศษ เพราะว่าเคยไปเวียดนามแล้วก็ประทับใจเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เวียดนามพอสมควรก็เลยอยากรู้จักอยากศึกษามากขึ้นได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับเวียดนามมากขึ้น โดยเฉพาะได้มีโอกาสรู้จักกับดร. เจืองถิหั่ง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มีพูดคุยกัน แลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ท่านอาจารย์เจืองก็เล่าให้ฟังเกี่ยวกับเวียดนาม จุดที่น่าสนใจมากก็คือท่านได้มอบหนังสือให้อ่านอยู่ หนังสือของท่านอาจารย์เจือง ท่านเขียนเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์หรือลุงโฮ ท่านเขียนอยู่ 2-3 เล่ม ก็ได้มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกัยประวัติศาสตร์เวียดนามมากสืบเนื่องตลอดมา เมื่ออาจารย์เจืองเล่าให้ฟังว่าอยากเขียนหนังสือ อยากทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ โดยเฉพาะในโอกาส 45 ปีครบรอบความสัมพันธ์ไทยเวียดนาม จึงคิดว่าจะทำงานร่วมกันในการเขียนหนังสือเล่มนี้ครับ

ดร.นคร เสรีรักษ์ แสดงความเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมีคุณลักษณะเด่น 4 ประการ คือความสัมพันธ์ที่ดีงามระหว่างราชวงศ์ไทยกับผู้นำเวียดนาม ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างผู้นำทางการเมืองของทั้งสองประเทศ การพบปะและหารือในเวทีทางการทูตและการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่นักการทูตระหว่างสองประเทศ และการประชุมและความร่วมมือระหว่างผู้บริหารระดับสูงของทั้งภาครัฐและสถานประกอบการ แต่อย่างไรก็ตาม ดร.นคร เสรีรักษ์ ให้ความสนใจเป็นพิเศษถึงความสัมพันธ์ระดับประชาชนกับประชาชนซึ่งดร.นคร เสรีรักษ์ มีแสดงความเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนไทยกับประชาชนเวียดนามมีความสำคัญที่สุดและเป็นกุญแจสู่ความเป็นจริงของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

“ต้องเล่าว่าในระดับประชาชนต่อประชาชน ผมเห็นว่าคนไทยกับคนเวียดนามมีความสัมพันธ์ที่น่าประทับใจ ผมประทับใจมากคือในช่วงสงครามที่เกิดขึ้นในเวียดนามค่อนข้างรุนแรง ในขณะที่ในทางประเทศไทยในช่วงปี 1975-1976 คนไทย นักเรียน นักศึกษาก็จัดการชุมนุมกันที่กรุงเทพฯ แล้วก็ในหลายๆจังหวัดเพื่อคัดค้านการที่อเมริกามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยเพราะว่าเราไม่อยากให้เครื่องบินบินจากประเทศไทยเพื่อไปทิ้งระเบิดในประเทศเวียดนาม  เรารู้สึกมีความห่วงใยต่อประชาชนชาวเวียดนาม ซึ่งผมคิดว่ามุมในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่อประชาชน ถ้าประชาชนในสองประเทศมีความรัก ความห่วงใยต่อกัน ตรงนี้มีความสำคัญ ในช่วงที่สองที่มีการเปลี่ยนนโยบายระหว่างประเทศ ประเทศไทยมีนโยบายเปลี่ยนสนามรบมาเป็นสนามการค้า ซึ่งเป็นภาพที่ชัดมากเลยคือจากการสู้รบกันในสงคราม การเผชิญหน้า การทะเลาะกันเปลี่ยนมาเป็นการทำค้าขายกัน รู้จักกัน มาแลกเปลี่ยนกัน จับมือกัน ผมคิดว่า เรื่องของการที่ประชาชนสองประเทศมีความสัมพันธ์กันเป็นเรื่องที่สำคัญ น่าจะเป็นมิติใหม่ มีความหมายระหว่างสองประเทศ”

“45 ปี ปิยสัมพันธ์ ไทย-เวียดนาม : มรรคาแห่งประวัติศาสตร์” - ảnh 2ดร.นคร เสรีรักษ์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ดร.นคร เสรีรักษ์ เผยว่า เขาและดร.เจือง ถิ หั่ง ต้องศึกษาและอ้างอิงเอกสารจำนวนมากจากทั้งประเทศไทยและเวียดนาม สำหรับเอกสารภาษาไทย บางครั้งข้อมูลบางอย่างต้องได้รับการตรวจสอบจากทั้งสองฝ่าย ดร.นคร เสรีรักษ์ มีหน้าที่ค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น เอกสารของกระทรวงการต่างประเทศหรือเอกสารทางวิชาการ เช่น เมื่อกล่าวถึงข้อตกลง สนธิสัญญา ข้อตกลงต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม หนึ่งใน "ความท้าทาย" ที่ยิ่งใหญ่ในกระบวนการเขียนหนังสือให้เสร็จเรียบร้อยก็คือ ในหลายห้วงเวลา ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนาม-ไทยนั้นตึงเครียดมาก โดยเฉพาะในช่วงที่สหรัฐอเมริการุกรานเวียดนามโดยได้ก่อสร้างฐานทัพสหรัฐหลายแห่งบนดินแดนประเทศไทย ดังนั้น การวิเคราะห์เพื่อให้ผู้อ่านเห็นถึงน้ำใจ ความรักและความปรารถนาดีของคนไทยที่มีต่อประเทศและคนเวียดนามแม้ในช่วงเวลาที่ยากลำบากและตึงเครียดที่สุดก็เป็นหนึ่งในเนื้อหาสำคัญที่ดร. นคร เสรีรักษ์และดร. เจืองถิหั่งอยากถ่ายทอดอย่างสมบูรณ์ที่สุดในอนาคต เขาหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ประชาชนทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ของทั้งสองประเทศมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ยาวนานกว่า 800 ปีระหว่างสองประเทศเพื่อกระชับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด เพราะในปัจจุบันความต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศไทยของเยาวชนเวียดนามก็มีมาก

“ตอนที่ผมเคยไปประชุมที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ได้มีโอกาสพูดคุยกับชาวเวียดนามหลายคน พบปะกับนักศึกษาที่เป็นอาสาสมัครในการประชุมระหว่างประเทศ ซึ่งผมประทับใจมาก  เขาบอกว่าอยากรู้จักประเทศไทย เขามีข้อมูลมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เช่น จุฬาลงกรณ์ ธรรมศาสตร์ มีมหาวิทยาลัยต่างๆหลายที่หลายแห่ง เขาสามารถเอ่ยชื่อถึงสถาบันการศึกษาในประเทศไทยได้ แสดงให้เห็นว่า เขาสนใจ เขายังบอกว่า ถ้ามีโอกาสเขาอยากจะมาหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า เขาอยากมาศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศไทย ผมคิดว่า ไม่ว่าจะเป็นประชาชนหรือเป็นเยาวชน เป็นนักเรียน นิสิตนักศึกษา  การที่เขาให้ความสนใจมิติในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแล้ว ผมคิดว่าก็คงคล้ายๆกับผมเองคือเมื่อสนใจประวัติศาสตร์ของเวียดนามก็อยากจะค้นคว้า อยากอ่านหนังสือมากขึ้น อยากรู้จักให้มากขึ้น”

“45 ปี ปิยสัมพันธ์ ไทย-เวียดนาม : มรรคาแห่งประวัติศาสตร์” - ảnh 3ดร.กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ดร.นคร เสรีรักษ์ ยังบอกด้วยว่ายังสนใจและอยากทการศึกษาวิจัยใหมากขึ้นอีก ในมติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในระดับประชาชนต่อประชาชน ซึ่งหากมีนักศึกษาชาวเวียดนามสนใจมาศึกษาร่วมกันก็จะน่าสนใจมาก ปัจจุบัน หนังสือ “45 ปีปิยสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม (คศ.1976-2021): มรรคาแห่งประวัติศาสตร์” ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางได้มอบให้แก่ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศไทยเพื่อเก็บรักษาและให้บริการแก่ผู้อ่าน อีกทั้งมอบให้แก่สมาคมมิตรภาพ องค์กรมวลชนของไทย รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางได้กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางเห็นว่า การตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับ 45 ปีความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามไม่เพียงแต่ช่วยให้นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเท่านั้น หากยังช่วยให้ผู้อ่านมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในตลอด 45 ปีที่ผ่านมาเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามให้พัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้น”./.

ถ้าผู้อ่านสนใจหนังสือเล่มนี้ทั้งฉบับภาษาเวียดนามและภาษาไทยสามารถคลิคเข้าลิงค์ดังต่อไปนี้  https://drive.google.com/file/d/1KTZwICohD6SFecstr7FhRg7-IGPr60le/view?usp=sharing
https://drive.google.com/file/d/1MN6GXh5jEn41BP9uc9NUtUWH_nBEKPi3/view

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด