การินดิง เครื่องดนตรีที่อนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของอินโดนีเซีย

(VOVworld) –  อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศมีเอกลักษณ์วัฒนธรรมอันโดดเด่นและมีเครื่องดนตรีพื้นเมืองหลายชนิดที่มีเสียงไพเราะน่าฟังรวมทั้งแคนการินดิงซึ่งเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่ยังไม่เป็นที่รู้แพร่หลายนักในอินโดนีเซีย


(VOVworld) –  อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศมีเอกลักษณ์วัฒนธรรมอันโดดเด่นและมีเครื่องดนตรีพื้นเมืองหลายชนิดที่มีเสียงไพเราะน่าฟังรวมทั้งแคนการินดิงซึ่งเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่ยังไม่เป็นที่รู้แพร่หลายนักในอินโดนีเซีย

การินดิง เครื่องดนตรีที่อนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของอินโดนีเซีย - ảnh 1
การินดิงเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของอินโดนีเซียที่ทำจากไม้ไผ่(Photo:Karinding)

การินดิงเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของชนเผ่าซุนดาในเขตชวาตะวันออกที่ทำจากไม้ไผ่ บางเพียง๐.๕เซนติเมตร กว้าง๑เซนติเมตรและมีความยาวตั้งแต่๑๐ถึง๑๘เซนติเมตรและถูกแบ่งเป็น๓ส่วนโดยส่วนที่๑มีความยาวประมาณ๗ถึง๘เซนติเมตรสำหรับมือถือ ส่วนที่๒มีความยาวประมาณ๓ถึง๔เซนติเมตรสำหรับเป่าและส่วนสุดท้ายมีความยาวประมาณ๕ถึง๖เซนติเมตรที่ผู้เล่นสามารถเคาะเพื่อควบคุมโน๊ตดนตรี นายกางมาน หัวหน้าวงดนตรี“การินดิง อ๊าตตั๊ก”ที่บันดุงเผยว่าเขานิยมสะสมเครื่องดนตรีที่ใช้ริมผีปากเป่าเหมือนการินดิงจึงได้เดินทางไปยังท้องถิ่นหลายแห่งและประเทศต่างๆเพื่อค้นหาเครื่องดนตรีลักษณะดังกล่าว“เครื่องดนตรีชนิดนี้สามารถพบได้ในหลายเขต เช่น ในเขตชนกลุ่มน้อยซุนดาและอาเจะห์ รวมทั้งที่เวียดนามก็มีเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายๆกับการินดิงที่เรียกว่าแก่นโมย ส่วนการินดิงของไทยและเขตทิเบตประเทศจีนนิยมทำด้วยโลหะ”

นายอากี อาแมง สมาชิกของวงดนตรี“การินดิง อ๊าตตั๊ก” ที่มีหน้าที่ทำการินดิงให้กลุ่มเผยว่า  การินดิงแต่ละอันมีราคา๓หมื่น๕พันถึง๗หมื่นรูเปีย หรือประมาณ๓ถึง๕.๕เหรียญสหรัฐ ขั้นตอนในการทำการินดิงที่ใช้เวลานานที่สุดคือการรอให้ไม้ไผ่แห้งซึ่งอาจต้องใช้เวลาถึง๙เดือน “ตอนเริ่มทำการินดิงใหม่ๆ ผมต้องใช้เวลา๓วัน แต่ปัจุบันใช้เวลาเพียง๑ถึง๒ชั่วโมงเท่านั้น”

เครื่องดนตรีที่มีเสียงเหมือนเสียงจักจั่นนี้มีมาเมื่อกว่า๗๐๐ปีก่อนและมักใช้ในการขับไล่แมลงเพื่อปกป้องพืช ต่อจากนั้น ชนกลุ่มน้อยซุนดาได้ใช้ในกิจกรรมการละเล่นประจำวันและงานเทศกาลต่างๆ แล้วค่อยๆได้รับการเผยแเพร่ในชนเผ่าอื่นๆ นายกางมานกล่าวว่า ต้องใช้เวลาฝึกประมาณ๑เดือนจึงสามารถเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้ได้“ต้องยึดมั่นในหลักการ๓ประการคือจับการรินดิงให้แน่น มีความอดทนและความหลงไหลเพราะไม่ใช่แค่เป่าให้มีเสียงแต่นี่เป็นการแสดงศิลปะ”

ปัจจุบัน เครื่องดนตรีพื้นเมืองนี้กำลังเริ่มได้รับความนิยมโดยมีวงดนตรี๕คนบางวงมี๒คนเล่นการินดิง อีกสองคนเล่นเครื่องกระทบและขลุ่ย นอกจากนี้ วงดนตรีต่างๆ เช่น การินดิง อาตต๊าก และการินดิง แกแลมปุง ยังเล่นกับเครื่องดนตรีอื่นๆเพื่อทำให้การแสดงมีชีวิตชีวา นอกจากนี้ยังมีการเปิดสอนการินดิงตามโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและมหาวิทยาลัยต่างๆอีกด้วย./.

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด