การพัฒนาพื้นที่ดินดานในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

(VOVWORLD) -จากความพยายามในตลอดกว่า 40 ปีที่ผ่านมา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีได้ปฏิบัติโครงการต่างๆ เพื่อเปลี่ยนพื้นที่รกร้างว่างเปล่าให้กลายเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ ช่วยให้ชาวบ้านสามารถปลูกพืชปลูกผลไม้ได้ สร้างงานทำและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
การพัฒนาพื้นที่ดินดานในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี - ảnh 1พื้นที่ดินดานนี้กลายเป็นพื้นที่ที่สามารถปลูกผักปลูกพืชได้
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายนของปี 2526 ซึ่งวันนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จมาพื้นที่แห่งนี้ เจอสภาพดินถูกทำลาย เกษตรกรขาดหลักวิชาการในการทำการเกษตร แล้วปี 2535 ท่านเสด็จมาอีกครั้งหนึ่ง เจอสภาพดินที่แข็งเป็นดาน พระองค์ท่านก็เห็นว่า ดินที่แข็งเป็นดานแบบนี้ปลูกพืชไม่ได้เลย ไม่สามารถอยู่รอดได้ พระองค์ท่านให้ทดสอบปลูกหญ้าแฝกตามลักษณะเป็นแนวธรรมชาติ เพราะหญ้าแฝกนี้มันโตขึ้นในสภาพดินที่แข็งเป็นดานได้ เราก็ทดสอบแล้ว เมื่อมันโตขึ้น หญ้าแฝกจะเหมือนกำแพงเพื่อกักเก็บตะกอนดิน กับเศษดินเศษไม้ทับถมขึ้นมาก็กลายเป็นหน้าดินขึ้นมาใหม่ นี่คือกระบวนการสร้างหน้าดินที่ห้วยทรายด้วยหญ้าแฝก”
การพัฒนาพื้นที่ดินดานในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี - ảnh 2นาย กวินพัฒน์ ธีรประเสริฐกุล หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย

ตามคำอธิบายของนาย กวินพัฒน์ ธีรประเสริฐกุล หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย นี่คือวิธีการที่ทางศูนย์ได้ปฏิบัติในตลอดกว่า 40 ปีที่ผ่านมาเพื่อช่วยให้พื้นที่ดินดานนี้กลายเป็นพื้นที่ที่สามารถปลูกผักปลูกพืช ปลูกผลไม้ได้ทุกวันนี้ ธรรมชาติที่เคยเสื่อมโทรมได้กลับมาอุดมสมบูรณ์  หญ้าแฝกช่วยให้ธรรมชาติกลับคืนมา อีกทั้งก็มีเห็ดโคนที่ชาวบ้านที่อยู่รอบ ๆ ศูนย์สามารถมาเก็บได้และไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่า

การใช้หญ้าแฝกเพื่อบำบัดน้ำเสียและแก้ไขปัญหาที่ดินปนเปื้อนถือเป็นวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการในหลายด้าน พร้อมทั้งเป็นวิธีการที่ทำง่าย ประหยัดเงิน และดีต่อธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หญ้าแฝกยังสามารถใช้ประโยชน์ได้มายมาก เช่น เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าหัตถกรรม เป็นอาหารสัตว์ ใช้มุงหลังคา เป็นเชื้อเพลิง ใช้คลุมดินหรือหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น

หลังจากที่ปรับปรุงดินแล้ว ทางศูนย์ฯ ยังช่วยเหลือเกษตรสามารถวางแผนการผลิตและปลูกต้นไม้ที่เหมาะสมแบบหมุนเวียน ซึ่งช่วยให้การทำเกษตรมีความยั่งยืนและมีรายได้สูงขึ้น นาย กวินพัฒน์ ธีรประเสริฐกุล เผยต่อไปว่า

“ที่ผ่านมา เกษตรกรได้รับการส่งเสริมในการปลูกพืชอย่างเดียวแต่ไม่รู้จักเรื่องของวิธีการจำหน่าย การขาย เราเริ่มง่ายๆ จากการปลูกพืชหมุนเวียน ก็คือปลูกผักบุ้งหมุนเวียน ผักบุ้งที่นี่ ประเทศไทย ก็ใช้เวลาปลูกประมาณ 24 วัน เราก็ทำ 24 แปลง แต่เราไม่ได้ปลูกในวันเดียว เราปลูกวันละ 1 แปลง จนครบ 24 วัน ได้ผักบุ้งทุกวัน ได้เก็บเกี่ยวทุกวัน ถือว่าเป็นการวางแผน แล้วก็แปลงอ้อยคั้นน้ำเหมือนกัน วางแผนการผลิตเหมือนกันเป็นวงรอบ เพราะอ้อยคั้นน้ำปลูกใช้เวลา 8-10 เดือน ดังนั้น เราก็มีอ้อยส่งให้ลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง แต่ที่ผ่านมา เกษตรกรปลูกแปลงใหญ่ ขายแปลงเดียววันเดียว แล้วรอไปอีก 10 เดือนจะได้มีเงิน แต่ทำหมุนเวียนแบบนี้จะได้มีเงินทุกวัน เพราะฉะนั้นปัจจุบันนี้ สิ่งที่ศูนย์ฯ ดำเนินไปก็คือ ส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักในเรื่องปลูกพืช รู้จักการวางแผน รู้จักการตลาดและท้ายที่สุดให้รู้จักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยเพื่อให้ลูกหลานได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป”

การพัฒนาพื้นที่ดินดานในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี - ảnh 3นาง จินตนา นามจัด

นาง จินตนา นามจัด ที่ทำงานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายประมาณ 20 ปี ได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่น่ายินดีของพื้นที่แห่งนี้ได้เผยว่า โครงการนี้ไม่เพียงแต่ช่วยปรับปรุงที่ดินเท่านั้น หากยังช่วยสร้างงานทำให้เกษตรกรที่นี่ให้รายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย ฉันเป็นพนักงานของศูนย์ห้วยทราย นาน 20 ปีแล้วค่ะ ทำช่วงที่ยังสาวๆ อยู่ ตอนนี้ที่นี่ดีขึ้น เพราะว่า มีอะไรแบบน้ำอ้อยมาทำให้เพิ่มรายได้ขึ้นมาอีก ที่นี่มันเป็นเขาเมื่อก่อน ตอนนั้นที่นี่มันเป็นแบบป่าสับปะรด เขาก็เปลี่ยนเป็นพื้นที่ห้วยทราย พื้นที่ทั่วไปในบริเวณศูนย์ตรงนี้ได้ดี ปรับปรุงพื้นที่มันดี ใส่ปุ๋ยใส่อะไรให้มันปลูกต้นไม้และงอกงามขึ้น”

การพัฒนาพื้นที่ดินดานในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี - ảnh 4พื้นที่ปลูกอ้อยคั้นน้ำ

แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกษตรกรให้การสนับสนุนและปฏิบัติตามวิธีการทำเกษตรที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพเหล่านี้ ถึงแม้โครงการได้เสร็จสิ้นลง แต่ทางศูนย์ฯ ยังคงให้การช่วยเหลือเกษตรกรในการวางแผน ให้ความรู้ด้านการตลาดและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นาย กวินพัฒน์ ธีรประเสริฐกุล กล่าวว่า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายเป็นศูนย์เรียนรู้ เกษตรกรสามารถเข้าหาความรู้ได้ในแหล่งเรียนรู้ที่นี่ เช่น การทำปุ๋ย การทำถ่านชีวภาพ การปลูกอ้อยคั้นน้ำ ถามว่า เราจะวางแผนต่อคนที่ไม่เห็นด้วยยังไง เราคงจะไปบังคับเขาไม่ได้ จนกว่าเขาจะเห็นด้วย แล้วก็มีคนที่เริ่มก่อนแล้วค่อยทำตาม

การพัฒนาพื้นที่ดินดานในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี - ảnh 5เปลี่ยนพื้นที่รกร้างว่างเปล่าให้กลายเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์

ควบคู่กับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเขตชนบทเป็นเขตตัวเมืองและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในยุคปัจจุบัน โครงการต่างๆ ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายไม่เพียงแต่ช่วยปรับปรุงที่ดินและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเท่านั้น หากยังสร้างงานทำ เพิ่มรายได้และแก้ปัญหาความยากจนให้แก่ชาวบ้านได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย หลังจากที่ปฏิบัติโครงการต่างๆ ในห้วยทรายแล้ว ทางศูนย์ฯ ยังขยายรูปแบบที่มีประสิทธิภาพนี้เพื่อช่วยปรับปรุงที่ดินในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและช่วยให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด