การเลี้ยงไก่ดำสมุนไพร - มาตรการแก้ปัญหาภัยแล้งของชาวบ้านเชิงหวาย
กิมเงิน - VOV5 -  
(VOVworld) – ในรอบสองปีที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยและประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องรับมือกับปัญหา ภัยแล้งที่รุนแรง โดยเฉพาะตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้วถึงเดือนพฤษภาคมปีนี้ จังหวัดพิษณุโลก เป็นอีกจังหวัดหนึ่งในหลายๆจังหวัดที่ประสบผลเสียหายจากปัญหาภัยแล้งมาก เพราะประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ดังนั้นเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในช่วงน้ำน้อยไม่เพียงพอต่อการเพาะ ปลูก ภาครัฐทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นได้หันมาส่งเสริมพัฒนาการเลี้ยงสัตว์แก่ชาวนาภายใต้โครงการ เกษตรแปลงใหญ่ นั่นคือ การเลี้ยงไก่ดำครบวงจรที่บ้านเชิงหวาย ตำบลตลุกเทียม อำเภอพรหมพิราม
(VOVworld) – ในรอบสองปีที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยและประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องรับมือกับปัญหาภัยแล้งที่รุนแรง โดยเฉพาะตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้วถึงเดือนพฤษภาคมปีนี้ จังหวัดพิษณุโลก เป็นอีกจังหวัดหนึ่งในหลายๆจังหวัดที่ประสบผลเสียหายจากปัญหาภัยแล้งมากเพราะประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ดังนั้นเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในช่วงน้ำน้อยไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ภาครัฐทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นได้หันมาส่งเสริมพัฒนาการเลี้ยงสัตว์แก่ชาวนาภายใต้โครงการเกษตรแปลงใหญ่ นั่นคือ การเลี้ยงไก่ดำครบวงจรที่บ้านเชิงหวาย ตำบลตลุกเทียม อำเภอพรหมพิราม
การเลี้ยงไก่ดำสมุนไพร - มาตรการแก้ปัญหาภัยแล้งของชาวบ้านเชิงหวาย
|
กลุ่มผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามได้ไปเยี่ยมจังหวัดพิษณุโลกในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ.2016 แม้ว่าจะเริ่มเข้าฤดูฝนแล้ว ขณะนี้เป็นเวลา 10 โมงเช้าแต่สภาพอากาศก็ยังคงร้อนอบอ้าว หญ้าริมทางแห้งกรอบ และพื้นดินบนทุ่งนาแตกระแหง เมื่อเข้าหมู่บ้านเชิงหวาย พื้นที่ที่เมื่อก่อนใช้ปลูกข้าวส่วนใหญ่ไม่ได้ปลูกข้าวแล้ว และเปลี่ยนมาเป็นฟาร์มเลี้ยงไก่ดำของกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ดำเชิงหวาย ซึ่งได้รับการก่อตั้งเมื่อปี คศ.2015 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ดำนี้ได้ช่วยสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร คุณชาตรี ยอดอยู่ดี ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ดำ และคุณประเดิม เมืองมูล ที่ปรึกษากลุ่มฯเผยว่า “รายได้หลักของเราคือการทำนาแต่ตอนนี้นาทำไม่ได้ อาชีพหลักตอนนี้ที่สร้างรายได้เสริมก็คือ เลี้ยงไก่ดำขุน ตอนนี้เรามีรายได้ทุกเดือนจากการขายไก่โดยจะมีพ่อค้าจากจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายมารับซื้อไก่ที่กลุ่มของผมเองนะครับ... รายได้มันก็ไม่ถึงขั้นสูงมากแต่เราสามารถมีรายได้ประมาณ เดือนละ2000-3000 บาท คือ เฉลี่ยรายได้ตัวละ 35 บาท พอนำมาแทนรายได้จากการทำนา....”
“...แต่ก่อนเป็นอาชีพเสริมแต่ในอนาคตคิดว่าจะเป็นอาชีพหลักที่มั่นคงยั่งยืนได้ เพราะตลาดมีความต้องการไก่ดำสูงและเป็นที่นิยมบริโภค โดยเริ่มเลี้ยงจากไก่ไม่มากตัวให้มีประสบการณ์จึงค่อยเพิ่มจำนวนมากขึ้น เลี้ยงไก่ดำสามารถทดแทนได้ทุกอาชีพ ใช้น้ำน้อย และอาจจะเป็นหนึ่งอาชีพที่ สามารถทดแทนได้กับปัญหาภัยแล้ง...”
****** การเลี้ยงไก่ดำอยู่ในมาตรการที่ 4 ของกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ไทย นั่นคือ การเสนอโครงการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของชุมชน ส่วน 7 มาตรการที่เหลือ ประกอบด้วย ส่งเสริมความรู้ และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ชะลอหรือขยายเวลาชำระหนี้ การจ้างงาน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน การเสริมสร้างสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สินและการสนับสนุนอื่น ๆ.
แม้ได้รับการก่อตั้งกว่า 1 ปีเท่านั้น โดยในตอนแรกมีสมาชิกเพียง 15 คน แต่ปัจจุบันนี้ กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ดำเชิงหวายได้มีสมาชิกกว่า 100 คน เลี้ยงไก่ดำหมุนเวียนได้กว่า 1 หมื่นตัว ความสำเร็จดังกล่าวมาเริ่มต้นจากการช่วยเหลือสนับสนุนเงินทุนของหน่วยงานท้องถิ่น การสนับสนุนการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนและสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาล
คุณประเดิม เมืองมูล ที่ปรึกษากลุ่มฯอธิบายว่า “ทุนสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลตลุกเทียมจำนวน 160,000 บาท นับเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนากลุ่มมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบัน สมาชิกสามารถมีรายได้ต่อคนต่อเดือน ประมาณ 3,500-5,000 บาท ต่อการเลี้ยงไก่ 100 ตัว โดยรอบการเลี้ยงต่อรุ่น 90 วัน..”
สมาชิกในกลุ่มบางคนจะทำหน้าที่เลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์เพื่อให้ได้ไข่ นำไปฟักที่เครื่องฟักไข่ของกลุ่มฯ ลูกไก่ดำที่เกิดมาจะถูกส่งต่อไปยังสมาชิกรายอื่นๆเพื่อขุนต่ออีกราว 75-90 วัน แล้วส่งเข้าโรงชำแหละสัตว์ปีกมาตรฐานในเขตอำเภอพรหมพิราม และสุดท้ายเข้าแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ไก่ดำแปรรูปหลายชนิดออกจำหน่าย หมุนเวียนครบวงจรเข้าเป็นชุดออกเป็นชุด ทำให้เกษตรกรและกลุ่มมีรายได้สม่ำเสมอ สมาชิกหนึ่งคนหากต้องการเลี้ยงไก่ดำขาย 300 ตัวต่อเดือน เพราะฉะนั้นเขาก็จะต้องเลี้ยงไก่เป็นรุ่นในฟาร์มหมุนเวียนจำนวน 1,000 ตัว
การเลี้ยงไก่ดำสมุนไพรต้องใช้เวลานานกว่าการเลี้ยงไก่เนื้อธรรมดา แต่การเลี้ยงไม่ต้องใช้อาหารสำเร็จรูป โดยสามารถใช้เศษอาหารได้หรืออาหารที่ผลิตขึ้นมาเองจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น หยวกกล้วย รำปลายข้าว เศษอาหาร ซึ่งทำให้ต้นทุนต่ำ มีเงินแค่ 5,000-10,000 บาท ก็เลี้ยงได้แล้ว และไก่ดำก็ทนต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ทนโรค เป็นต้น
อาหารประเภทต่างๆที่ทำจากไก่ดำ
|
ไก่ดำได้รับความนิยมจากผู้บริโภคและมีราคาแพงกว่าไก่เนื้อธรรมดาประมาณ 3 เท่าเนื่องจากมีความเชื่อว่า ดีต่อสุขภาพ ดังนั้นเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ทางกลุ่มยังผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆจากไก่ดำเพื่อแนะนำให้แก่ผู้บริโภคและนักท่องเที่ยว
นอกจากทำอาหารธรรมดาต่างๆ เช่น ไก่ลวก และไก่ส้ม ไก่ดำยังทำเป็นอาหารแห้งได้ เช่น กุนเชียงไก่ ลูกชิ้นไก่ ไก่ยอ และไก่หยอง เพื่อเป็นสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวหรือส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียง เช่น ลาวและพม่า
จากความพยายามดังกล่าว หลังการดำเนินงานมาเป็นเวลากว่า 1 ปี เกษตรกรที่นี่ได้มีรายได้เสริมที่มั่นคง ผลตอบแทนมากน้อยขึ้นกับปริมาณไก่ดำที่เลี้ยงและความชำนาญ ในรายที่เริ่มต้นรายได้แม้จะยังไม่เท่ากับการปลูกข้าวแต่ก็เพียงพอเพื่อให้ผ่านพ้นภัยแล้งไปได้.
กิมเงิน - VOV5