ขยายความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป

(VOVworld) –  การเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันกำลังทำให้ยุโรปและเอเซียมีจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ และกลายเป็นปัจจัยที่นำพาการพัฒนาของโลก จากความแตกต่างในระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี สหภาพยุโรปหรืออียูและอาเซียนซึ่งเป็นตัวแทนให้แก่สองภูมิภาคที่รวม๓๗ประเทศพร้อมประชากรกว่า๑พันล้านคนจะมีโอกาสมากมายเพื่อร่วมมือและสนับสนุนให้แก่กันในระยะใหม่นี้


(VOVworld) –  การเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันกำลังทำให้ยุโรปและเอเซียมีจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ และกลายเป็นปัจจัยที่นำพาการพัฒนาของโลก จากความแตกต่างในระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี สหภาพยุโรปหรืออียูและอาเซียนซึ่งเป็นตัวแทนให้แก่สองภูมิภาคที่รวม๓๗ประเทศพร้อมประชากรกว่า๑พันล้านคนจะมีโอกาสมากมายเพื่อร่วมมือและสนับสนุนให้แก่กันในระยะใหม่นี้

ขยายความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป - ảnh 1
ขยายความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป(Photo:www.mbb.org.mt )

 อียูเป็นคู่สนทนารายแรกและยาวนานปีที่สุดของอาเซียนโดยตั้งแปี๑๙๗๗ เมื่อกลไกการสนทนาของอาเซียนกับหุ้นส่วนใหญ่ๆในโลกได้รับการจัดตั้งซึ่งอียูในตอนนั้นยังถูกเรียกว่า อีซีก็ถือเป็นคู่สนทนาของอาเซียนตั้งแต่ปี๑๙๗๒โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานเป็นพิเศษอาเซียนหรือเอสซีซีเอเอ็นเพื่อเจรจากับอียูเกี่ยวกับปัญหาการค้า นับแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับอียูได้พัฒนาในหลายด้าน เช่น การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความมั่นคงและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ  ศาสตราจารย์โจซี ดามูรีแห่งศูนย์วิจัยนานาชาติและยุทธศาสตร์อินโดนีเซียได้ยืนยันว่า หลายประเทศในกลุ่มอาเซียนถืออียูเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์“สหภาพยุโรปมักอยู่อันดับ๑หรืออันดับ๒ในรายชื่อประเทศและภูมิภาคที่นำเข้าสินค้าจากหลายประเทศอาเซียน เช่น เวียดนาม ไทย และอินโดนีเซีย ส่วนในด้านการลงทุน สหภาพยุโรปก็ได้จัดสรรเงินทุนและโอกาสธุรกิจมากมายในอาเซียน บริษัทหลายแห่งของกลุ่มนี้ได้ตั้งฐานการผลิตในอาเซียน”

ในเวลาที่ผ่านมา อาเซียนและอียูเน้นผลักดันการค้าและการลงทุนอยู่เสมอ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับอียูกำลังย่างเข้าสู่ระยะใหม่หลังวิกฤติเศรษฐกิจโลกเมื่อปี๒๐๐๘ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลกระทบและการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างประเทศต่างๆและภูมิภาค โดยเฉพาะ การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี๒๐๑๕จะทำให้อียูมีตลาดใหญ่ นอกจากนี้ ปัจจุบัน ทั้งอียูและอาเซียนต่างแสวงหารูปแบบพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ ประสบการณ์รับมือกับวิกฤตหนี้สาธารณะของอียูจะเป็นบทเรียนอันล้ำค่าต่ออาเซียนและโลก นายเดวิด โอซูลีวาน ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานต่างประเทศอียูกล่าวว่า อียูขยายความร่วมมือกับเวียดนามเพราะเวียดนามถือเป็นสะพานเชื่อมระหว่างสองกลุ่ม“อียูและเวียดนามได้ลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือและหุ้นส่วนในทุกด้านเมื่อปี๒๐๑๒ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์เพื่อยกระดับและขยายความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่าย  ทั้งสองฝ่ายจะพยายามสิ้นสุดการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีในปีนี้ซึ่งเป็นเป้าหมายที่มีความเป็นไปได้สูงในการปฏิบัติ”

ตามความทรงจำของบรรดานักวิเคราะห์ ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม–อียูจะนำผลประโยชน์ที่ยั่งยืนมาให้แก่ทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะในด้านภาษี สินค้าส่งออกของเวียดนามไปยังอียูจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้อยละ๓๐ถึงร้อยละ๔๐ เมื่อปี๒๐๑๓ เวียดนามเป็นหุ้นส่วนการค้าใหญ่อันดับ๔ของอียูในกลุ่มอาเซียน อียูเป็นหนึ่งในนักลงทุนต่างชาติที่สำคัญของเวียดนาม ด้วยคำมั่นสัญญากว่า๑พันล้านยูโร

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า สำหรับอียู อาเซียน รวมทั้งเวียดนามเป็นหุ้นส่วนการค้าใหญ่ เข้มแข็งและสำคัญ ส่วนอียูเป็นตลาดนำเข้าที่สำคัญของประเทศอาเซียน ดังนั้น การผลักดันความร่วมมือระหว่างอียูกับอาเซียนกำลังช่วยให้ทั้งสองฝ่ายฟันฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจและมุ่งสู่ระยะขยายตัวใหม่./.

Trung Cường-VOV5

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด