ครูหญิงชาวเวียดนามพิชิตฝันสู่เส้นทางการรำพื้นเมืองอินโดนีเซีย
Nguyen Ha - VOV5 -  
(VOVWORLD) - นางสาวเหงียนถิเห่าครูสอนภาษาอังกฤษได้บอกว่า เธอไม่เคยคิดเลยว่าการฟ้อนรำจะทำให้เธอได้รับทุนมาศึกษาวิชาศิลปะที่อินโดนีเซียและหลังจากเรียนการฟ้อนรำเป็นเวลา 3 เดือนที่เมืองปาดัง จังหวัดสุมาตราตะวันตก เธอก็สามารถแสดงให้เห็นถึงทักษะความสามารถในด้านนี้และได้สร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ในชีวิตของครูหญิงที่มีอายุ 29 ปีคนนี้
เหงียนถิเหา สวมใส่ชุดพื้นเมืองอินโดนีเซีย |
เหงียนถิเหา ดูงามสง่ายิ่งหลังจากแต่งหน้าอย่างสวยงามสวมใส่ชุดพื้นเมืองอินโดนีเซียในท่ารำจาน “TariPiring” ที่อ่อนช้อยงดงามซึ่งเป็น 1 ใน 2 ท่ารำที่นักเรียนในโครงการ "ทุนการศึกษาด้านศิลปะและวัฒนธรรมอินโดนีเซีย” หรือIACS ปี 2019 ได้ฝึกและแสดงที่เมืองปาดัง ในชั้นเรียนนี้มีนักเรียนทั้ง 10 คนที่มาจากประเทศต่างๆทั่วโลก ซึ่งคุณครู เหงียนถิเห่าเป็นตัวแทนของเวียดนาม
TariPiringคือท่ารำพื้นเมืองของปาดังที่ยกย่องความงามในการทำงานของประชาชนบอกเล่าเกี่ยวกับวิถีชีวิตและความอบอุ่นของครอบครัวเกษตรกร เช่นบรรยากาศในทุ่งนาที่สามีทำงานอย่างขยันขันแข็ง ส่วนภรรยาก็ถือจานนำอาหารมาให้สามีช่วยไล่นกไล่กาและแมลงไม่ให้มายุ่ง และสามีก็จุดเทียนนำทางให้ภรรยายามตอนกลับบ้านยามค่ำคืน "TariPiringคือท่ารำที่สวยงามโดยเน้นแสดงออกทางหน้าตา ซึ่งผู้รำต้องยิ้มตลอดเวลาผู้หญิงต้องยิ้มให้ผู้ชายเพื่อแสดงถึงความรักต่อสามีถ้าหากตอนรำพลาดทำจานตกก็ไม่เป็นไรเราก็แค่ยิ้มและรำต่อไป ชุดที่ใส่ก็สวยมากเราต้องสวมชฎาที่มีเทียนซึ่งหนักมากแต่ก็สวยงามเช่นกัน"
เธอต้องฝึกซ้อมอย่างหนัก |
เพื่อนๆที่มาจากประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่มีพื้นฐานด้านศิลปะแล้ว แต่คุณเหงียนถุเห่าเป็นคนเดียวที่ไม่มีพื้นฐานในเรื่องนี้ โดยเธอได้รับเลือกจากเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำเวียดนามเนื่องจากมีทักษะความสามารถในการสื่อสาร มีมนุษยสัมพันธ์ดีและชอบเรียนรู้ เพราะTariPiringคือท่ารำที่ยากที่สุดในโครงการ IACSซึ่งไม่เพียงแต่มีจานเป็นอุปกรณ์ประกอบการรำเท่านั้น แต่ชฎาที่มีเทียนที่ทุกคนต้องสวมนั้นก็มีน้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัมอีกด้วยดังนั้นเพื่อสามารถแสดงบนเวทีได้ เธอและเพื่อนๆต้องฝึกซ้อมอย่างหนัก ซึ่งครั้งแรกที่ได้ชมการรำTariPiring เธอและเพื่อนต่างได้คิดว่า ยากมากแม้แต่สำหรับนางรำมืออาชีพก็ถือว่ายากจริงๆ “สิ่งที่ยากที่สุดคือมีจานเป็นอุปกรณ์ประกอบในการรำ ถ้าหากไม่มั่นใจเราจะทำไม่ได้ตอนฝึกก็ทำให้จานตกแตกหลายร้อยใบไม่มีเทคนิคในการถือจาน ต้องฝึกให้เกิดความชำนาญเท่านั้นในสองสามวันก่อนที่เริ่มเรียน เราต้องฝึกถือจานเช็ดจานและล้างจานผู้เรียนแต่ละคนต้องหาทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง”
แสดงบนเวที
|
ในท่ารำนี้นอกจากต้องใช้จานประกอบการรำ นักรำต้องใช้ขาเป็นหลักเพื่อให้ลำตัวไม่กระเด้งขึ้นลงพร้อมกับจังหวะเท้าเพื่อไม่ให้จานตกแตกบางวันเธอและเพื่อนๆนอนไม่หลับเนื่องจากปวดเท้าปวดเข่ามากแต่ก็ไม่บ่นไม่ท้อเพราะรู้ว่าครูฝึกปวดมากกว่าเนื่องจากต้องฝึกซ้อมให้แก่ผู้เรียนทั้ง 12 คน
แม้เป็นครั้งแรกที่ฝึกรำแต่เธอก็มีความมั่นใจเป็นอย่างมากเธอรู้ว่าตัวเองไม่มีพื้นฐานในด้านนี้ดังนั้นจึงได้พยายามฝึกซ้อมมากกว่าเพื่อนๆโดยขอให้ครูและเพื่อนๆช่วยฝึกให้เธอเพิ่มเติม แล้วในช่วงค่ำ เธอก็จะฝึกต่อในห้องพักซึ่งความพยายามของเธอก็ได้รับคำชื่นชมจากครูและเป็นคนเดียวที่ทำให้จานแตกแค่ 1 ใบในตลอดเวลา 3 เดือนที่ฝึกซ้อมส่วนเพื่อนๆคนอื่นๆทำจานแตกประมาณ 10-12 ใบนาย อันเดรียหนึ่งในครูสอนการฟ้อนรำในชั้นเรียนแสดงความคิดเห็นว่า "ผมขอชื่นชมความพยายามของคุณเห่า ถึงแม้เป็นครูสอนภาษาอังกฤษและไม่มีพื้นฐานในการฟ้อนรำ แต่เธอมีความขยันหมั่นเพียรเป็นอย่างมากยกตัวอย่างเช่นตอนผมสอนท่ารำใหม่ ๆ เธออาจเรียนช้ากว่าเพื่อนๆแต่ก็มีความพยายามและขอให้เพื่อนๆช่วยสอนให้ด้วย"
จากความพยายามดังกล่าว เห่าได้รับเลือกเป็น 1 ใน 4 นางรำTariPiringในระหว่างการแสดงบนเวที เธอสามารถรำได้อย่างอ่อนช้อยไม่แพ้เพื่อนๆที่มาจากอินโดนีเซียและประเทศอื่นๆ
นอกจากเรียนท่ารำTariPiringเหงียนถิเห่าและเพื่อนๆยังเรียนท่ารำTariIdangและเล่นดนตรีพื้นเมืองอินโดนีเซีย โดยได้มีโอกาสสัมผัสวิถีชีวิตของชาวท้องถิ่นและแสดงในเทศกาลต่างๆของอินโดนีเซีย ชั้นเรียนศิลปะเป็นเวลา 3 เดือนนี้ถือว่า คุ้มค่ามากสำหรับเธอและเพื่อนๆ "ก่อนอื่นดิฉันเชื่อมั่นในคำพูดที่ว่า “ถ้าตั้งใจพยายามเราจะทำได้” เพราะก่อนที่เข้าร่วมโครงการนี้ ก็ไม่เคยคิดว่าเราจะรำเป็นเรื่องที่สองคือนอกจากมีพรสวรรค์แล้ว ก็ต้องฝึกซ้อมให้มากๆถ้าหากดิฉันฝึกเพียง8 ชั่วโมงตามที่ครูสอนก็คงรำไม่ได้ดิฉันไม่มีพรสวรรค์ในเรื่องนี้งต้องฝึกและขยันมากกว่าเพื่อนๆดิฉันคิดว่าโครงการนี้คุ้มค่าเป็นอย่างมากเพราะทำให้ได้เรียนรู้หลายๆอย่าง"
|
หลังจากกลับประเทศเวียดนามเมื่อเดือนกันยายนปี 2019 เธอได้เริ่มปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้กับเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำเวียดนามว่าจะร่วมเผยแพร่วัฒนธรรมอินโดนีเซียในเวียดนามปัจจุบันนี้เธอกำลังช่วยสโมสรนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ฮานอยสอนการฟ้อนรำของอินโดนีเซียซึ่งสำหรับเธอนั้นนี่ไม่เพียงแต่เพื่อปฏิบัติตามคำมั่นเท่านั้น หากยังเป็นการแปรความฝันที่ต้องการเป็นสะพานเชื่อมด้านวัฒนธรรมระหว่างเวียดนามกับอินโดนีเซียให้เป็นรูปธรรมอีกด้วย./.
Nguyen Ha - VOV5