ความสัมพันธ์เวียดนาม-พม่า: ย้อนมองอดีตและมุ่งสู่อนาคต

(VOVworld) – “ความสัมพันธ์เวียดนาม-พม่า: ย้อนมองอดีตและมุ่งสู่อนาคต” คือหัวข้อของการสัมมนานานาชาติซึ่งจัดโดยสถาบันวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และระหว่างประเทศพม่าที่กรุงฮานอยซึ่งได้ดึงดูดนัก วิชาการและผู้แทนเกือบ 90 คนจากสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยของ หน่วยงานและสมาคมต่างๆ ตลอดจนนักการทูตจากหลายประเทศ รวมทั้งเวียดนามและพม่าเข้าร่วม ในการนี้ บรรดาผู้แทนได้วิเคราะห์อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนาม กับพม่าในยุคต่างๆ


(VOVworld) – “ความสัมพันธ์เวียดนาม-พม่า: ย้อนมองอดีตและมุ่งสู่อนาคต” คือหัวข้อของการสัมมนานานาชาติซึ่งจัดโดยสถาบันวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และระหว่างประเทศพม่าที่กรุงฮานอยซึ่งได้ดึงดูดนักวิชาการและผู้แทนเกือบ 90 คนจากสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยของ หน่วยงานและสมาคมต่างๆ ตลอดจนนักการทูตจากหลายประเทศ รวมทั้งเวียดนามและพม่าเข้าร่วม ในการนี้ บรรดาผู้แทนได้วิเคราะห์อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับพม่าในยุคต่างๆ

ความสัมพันธ์เวียดนาม-พม่า: ย้อนมองอดีตและมุ่งสู่อนาคต - ảnh 1
การสัมมนา“ความสัมพันธ์เวียดนาม-พม่า: ย้อนมองอดีตและมุ่งสู่อนาคต”

ในบทสุนทรพจน์ที่อ่านในการประชุม ดร. หวอซวนวิง หัวหน้าห้องวิจัยการเมืองและความสัมพันธ์ต่างประเทศสังกัดสถาบันวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์สังคมเวียดนามได้วิเคราะห์ถึงความร่วมมือ การสนับสนุนกันระหว่างเวียดนามกับพม่าในด้านการทูตในกรอบอาเซียนว่าการสนับสนุนด้านการทูตระหว่างสองประเทศได้แสดงให้เห็นว่า เวียดนามและพม่ามีความเข้าใจระหว่างกัน มีเสียงพูดเดียวกันและสนับสนุนกันในปัญหาของภูมิภาคซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่อให้ทั้งสองประเทศร่วมมือทวิภาคีในกรอบอาเซียนและในฟอรั่มทั้งในภูมิภาคและโลก ทุกความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในทุกสภาวการณ์ก็เพื่อความสนใจร่วมและผลประโยชน์ของกัน นั่นคือการยืนยันถึงอธิปไตย ความสัมพันธ์เวียดนามและพม่าและการสนับสนุนด้านการทูตระหว่างสองประเทศในกรอบอาเซียนไม่อยู่นอกกฏระเบียบดังกล่าว”
เวียดนามได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับพม่าเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 1975 ซึ่งนิมิตหมายสำคัญในความสัมพันธ์ด้านการทูตระหว่างสองประเทศคือเมื่อปี 2010 ทั้งสองประเทศได้ลงนาม “แถลงการณ์ร่วม” โดยให้คำมั่นว่า จะผลักดันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจใน 12 ด้านคือ การเกษตร พืชอุตสาหกรรม สัตว์น้ำ การเงิน ธนาคาร การบิน โทรคมนาคม ปิโตรเลี่ยม การทำเหมืองแร่ การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า การผลิตเครื่องจักรกล การประกอบรถยนต์ การก่อสร้าง ความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน
นับตั้งแต่ช่วงนั้นมาจนถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศได้รับการประเมินว่า มีความคล่องตัว นี่ก็คือคำยืนยันของศาสตรจารย์ Carole Ann Chit Tha สมาชิกคณะกรรมการบริหารสถาบันพม่าเกี่ยวกับศิลปะและวิทยาศาสตร์สังกัดกระทรวงการศึกษาพม่า ในบทความเกี่ยวกับ “ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนาม-พม่าในยุคใหม่” ศาสตรจารย์ Carole Ann Chit Tha ได้ทบทวนนิมิตหมายสำคัญในความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ พร้อมทั้งย้ำถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในยุคใหม่ความสัมพันธ์เวียดนาม-พม่ากำลังพัฒนาอย่างกว้างลึก ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างคึกคัก ความสัมพันธ์ด้านการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือกำลังมีขึ้นในทุกด้านและทุกระดับ โดยเฉพาะในกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคแม่น้ำโขงขยายวง กรอบความร่วมมืออาเซียนและกรอบความร่วมมือในภูมิภาคและพหุภาคี ในฐานะสมาชิกอาเซียน ทั้งสองประเทศต่างมีความรับผิดชอบในการสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียน การเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนได้นำมาซึ่งผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ให้แก่ทั้งสองประเทศ เช่นความมั่นคง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคมและการทูต ในหลายปีที่ผ่านมา การเยือนและการแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนระดับสูงได้ช่วยยกระดับความร่วมมือขึ้นสู่ขั้นสูงใหม่ พม่าและเวียดนามมีประสบการณ์มากมายเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและต้องขยายทุกศักยภาพเพื่อกลายเป็นหุ้นส่วนที่ประสบความสำเร็จในระยะยาว
สำหรับความหมายของการสัมมนาต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ นาย Wynn Lwin อดีตเอกอัครราชทูตพม่าประจำอินเดีย อิหร่าน ไนจีเรียและสมาชิกของสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของพม่าได้เผยว่าการจัดการประชุมครั้งนี้จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชาติเวียดนามและพม่ามีความแน่นแฟ้นมากขึ้น ร่วมกันมุ่งสู่ก้าวเดินพัฒนาต่อไปในกรอบอาเซียน เวียดนามและพม่าได้ช่วยเหลือกันในอดีตและหวังว่า จะร่วมมือต่อไปในก้าวเดินพัฒนาใหม่และในเป้าหมายใหม่กับอาเซียน มีการเปิดหลายประเด็นต่อพม่า พม่ามีมุมมองใหม่ๆต่อเวียดนามนับตั้งแต่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เวียดนามเป็นประเทศที่ดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศเป็นจำนวนมาก นี่คือทั้งโอกาสและความท้าทายต่อเวียดนามและเวียดนามได้ถอดบนเรียนที่ล้ำค่าซึ่งนี่คือสิ่งที่พม่าต้องเรียนรู้”
การสัมมนาได้ประสบความสำเร็จอย่างงดงามและบรรดาผู้แทนได้สรุปว่า ทั้งสองประเทศต้องผลักดันการจัดการเสวนาเชิงวิชาการและการพบปะระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐบาล ตลอดจนผลักดันการพบปะสังสรรค์ระดับประชาชนเพื่อวางมาตรการต่างๆเพื่อมีส่วนร่วมผลักดันความสัมพันธ์ร่วมมือเวียดนาม-พม่าในทศวรรษที่จะถึงนี้./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด