นักเขียนท้ายบ๊าเหล่ยกับรางวัลซีไรต์ปี๒๐๑๓

(VOVworld) – ผลงานที่เป็นนวนิยายของนักเขียนเวียดนามท้ายบ๊าเหล่ย“มิงซือ”หรือครูที่ปรีชาสามารถ”ได้รับเกียรติเป็นตัวแทนของเวียดนามเข้ารับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนหรือซีไรต์เมื่อวันที่๑๔ตุลาคมที่ผ่านมาซึ่งเป็นรางวัลที่ราชสำนักของไทยก่อตั้งเมื่อปี๑๙๗๙โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสดุดีนักเขียนและกวีที่มีผลงานยอดเยี่ยมในภูมิภาค


(VOVworld) – ผลงานที่เป็นนวนิยายของนักเขียนเวียดนามท้ายบ๊าเหล่ย“มิงซือ”หรือครูที่ปรีชาสามารถ”ได้รับเกียรติเป็นตัวแทนของเวียดนามเข้ารับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนหรือซีไรต์เมื่อวันที่๑๔ตุลาคมที่ผ่านมาซึ่งเป็นรางวัลที่ราชสำนักของไทยก่อตั้งเมื่อปี๑๙๗๙โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสดุดีนักเขียนและกวีที่มีผลงานยอดเยี่ยมในภูมิภาค

นักเขียนท้ายบ๊าเหล่ยกับรางวัลซีไรต์ปี๒๐๑๓ - ảnh 1
นวนิยายมิงซือ(Photo:nguoilaodong )
นักเขียนท้ายบ๊าเหล่ยต้องใช้เวลา๔ปีโดยให้เวลา๓ปีกับการรวบรวมข้อมูลข่าวสารเป็นเวลา๓ปีเพื่อแต่งนวนิยายเรื่อง“มิงซือ”หรือครูที่ปรีชาสามารถ หนากว่า๔๐๐หน้ากระดาษโดยระบุกระบวนการขยายอาณาเขตที่ยากลำบากแต่ฮึกเหิมของพระเจ้าแผ่นดินเหงวียนหว่าง อย่างไรก็ดี นวนิยายเล่มนี้ไม่ได้บรรยายแต่การขยายอาณาเขตเท่านั้นแต่สิ่งที่สำคัญคือช่วยให้เรารู้จักผู้ที่เป็นครูในชีวิตของตนดังที่พระเจ้าแผ่นดินเหงวียนหว่างทรงตรัสว่า“พวกท่านได้กำชับให้ข้าพเจ้ารู้ถึงความจริงที่ไม่อาจลืมได้นั่นคือ ครูของข้าพเจ้าไม่เพียงแต่เป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับข้าพเจ้าหรือผู้ที่พูดในสิ่งที่สอดคล้องกับความปรารถนาของข้าพเจ้าเท่านั้นหากรวมทั้งผู้ที่พูดขัดกับความปรารถนาของข้าพเจ้า ผู้ที่ทำร้ายข้าพเจ้าและศัตรูของข้าพเจ้าก็ล้วนแต่เป็นครูที่ปรีชาสามารถของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าสำนึกในบุญคุณของพวกเขาเพราะพวกเขาได้สอนให้ข้าพเจ้ารับรู้หลายสิ่งหลายอย่าง” นักเขียนท้ายบ๊าเหล่ยกล่าวว่า“การแต่งหนังสือเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดินเหงวียนหว่างถือเป็นการทดสอบความสามารถของผมเพราะ เรื่องเกิดขึ้นเมื่อกว่า๕๐๐ปีก่อน ดังนั้น การค้นหาเอกสารจึงยากมาก แต่จากความเคารพศรัทธาต่อพระเจ้าแผ่นดินเหงวียนหว่างที่มีคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ในการขยายอาณาเขตทางภาคใต้ ผมจึงพยายามค้นหาเอกสารเพื่อสามารถแต่งนวนิยายที่ย้อนอดีตชีวิตส่วนหนึ่งของพระองค์”
มิงซือถูกแบ่งเป็น๗ส่วนโดยแต่ละส่วนมีการสอดแทรกระหว่างปัจจุบันกับอดีต  ดังนั้น หลายคนเห็นว่า นี่เป็นนวนิยายที่อ่านยาก แถมยังเป็นนวนิยายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และเกี่ยวกับบุคคลที่ยังได้รับการถกเถียงกันในประวัติศาสตร์เวียดนาม อย่างไรก็ดี ตามความเห็นของนักเขียน เหงวียนหว่างเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีคุณูปการในการขยายอาณาเขตของเวียดนาม“เหงวียนหว่างเป็นขุนนางฝ่ายบู๊ที่มีความสามารถ ที่ได้ขอเข้าดูแลควบคุมเขตถ่วนฮว้าเนื่องจากจิ่งเกี้ยมที่เป็นพี่เขยที่กำลังควบคุมกองทัพมีความประสงค์ที่จะฆ่าทุกคนในครอบครัวเขา ในช่วงที่ดูแลควบคุมถ่วนฮว้า เขาได้ขยายอาณาเขตไปทางภาคใต้ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ทั้งภาคใต้เวียดนามในปัจจุบันมาจากการขยายอาณาเขตของเหงวียนหว่าง ก่อนหน้านั้น ตั้งแต่ราชวงค์ลี้ และราชวงค์เล ก็มีการขยายอาณาเขตไปบ้างแล้วแต่การขยายอาณาเขตในยุคของพระเจ้าแผ่นดินเหงวียนหว่างถือว่าสำคัญที่สุด”
นักเขียนท้ายบ๊าเหล่ยกับรางวัลซีไรต์ปี๒๐๑๓ - ảnh 2
นักเขียนท้ายบ๊าเหล่ย(Photo:nguoilaodong )
นักเขียนท้ายบ๊าเหล่ยเกิดเมื่อปี๑๙๔๕ ที่จังหวัดเหงะอานและเป็นนักเขียนในสมัยทำสงครามต่อต้านอเมริกาเพื่อกู้ชาติ ดังนั้น ชื่อของเขาจึงผูกพันกับผลงานเกี่ยวกับสงครามและหลังสงคราม ท้ายบ๊าเหล่ยมีผลงานไม่มากแต่เมื่อมีผลงานใหม่ๆก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีและสร้างความประทับใจให้แก่ผู้อ่าน เช่น เรื่องสั้น เชิงเขาห่อนเต่าปี๑๙๗๘ ทีมประหารชีวิตปี๑๙๙๔ ทหารสองนายกลับกรมทหารปี๑๙๗๘ และนวนิยายต่างๆ เช่น พวกเขาร่วมสมัยกับใครช่วงปี๑๙๗๘ถึงปี๑๙๘๐ หุบเขาแห่งการทดสอบปี๑๙๘๑ คาบสมุทรปี๑๙๘๓ ปฏิสังขรณ์ปี๒๐๐๓ Kheemamaปี๒๐๐๔ ล่าสุดคือ นวนิยายมิงซือปี๒๐๑๐ที่ได้รับรางวัลจากสมาคมนักเขียนเวียดนามปี๒๐๑๒และรางวัลซีไรต์ปี๒๐๑๓
เกี่ยวกับรางวัลนี้ ท้ายบ๊าเหล่ยเผยว่า นี่เป็นรางวัลของราชสำนักไทยที่มีบทบาทเป็นอย่างมากบนเวทีวรรณกรรมระดับภูมิภาค นักเขียนและกวีที่ได้รับรางวัลนี้ต่างเป็นตัวอย่างที่ดีที่ได้รับการคัดเลือกจากประเทศต่างๆและนับเป็นครั้งแรกในรอบ๑๑ปีที่ผ่านมาที่รางวัลซีไรต์ได้มอบให้แก่นักเขียน๑๐คนของทั้ง๑๐ประเทศสมาชิกอาเซียน “กวีและนักเขียนของ๑๐ประเทศ แต่ละคนมีจุดแข็งที่แตกต่างกันแต่ผมรู้สึกมีความประทับใจที่สุดต่อกวีชาวไทยคุณอังคาร กัลยาณพงค์ซึ่งเป็นกวีที่เกิดในเขตชนบทติดกับบริเวณชายแดนลาว เขาแต่งกลอนได้ไพเราะ ผมได้อาศัยคนแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาเวียดนาม และเห็นว่า ไพเราะมาก ”
จากวัตถุประสงค์สดุดีนักเขียนและวรรณกรรมในภูมิภาค ผลงานที่ได้รับรางวัลซีไรต์ทุกปีมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสั้น นวนิยาย กลอน ผลงานด้านศาสนา เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ รางวัลซีไรต์ไม่เพียงแต่เป็นการรับรองผลงานของนักเขียนหรือกวีคนหนึ่งเท่านั้นหากยังสร้างโอกาสให้บรรดานักเขียน กวีพบปะและผลักดันการพัฒนาวรรณกรรมของภูมิภาคอีกด้วยเพื่อมีส่วนร่วมขยายความเข้าใจและสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชนประเทศอาเซียน./.

Kim Ngân - VOV5

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด