นำศิลปะการแสดงโขนสู่สายตาของผู้ชมชาวเวียดนาม

(VOVworld) – เช่นเดียวกับการแสดง “ต่วง” หรืออุปรากรของเวียดนาม โขนถือเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการ อ่อนช้อยและมีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบัน โขนได้กลายเป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับการแสดงในเทศกาลพิเศษต่างๆของไทยหรือใน กิจกรรมการประชาสัมพันธ์ศิลปะวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ รวมทั้งประเทศเวียดนาม

(VOVworld) – เช่นเดียวกับการแสดง “ต่วง” หรืออุปรากรของเวียดนาม โขนถือเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการ อ่อนช้อยและมีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบัน โขนได้กลายเป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับการแสดงในเทศกาลพิเศษต่างๆของไทยหรือในกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ศิลปะวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ รวมทั้งประเทศเวียดนาม ต่อไปนี้ขอเชิญท่านพบปะกับคุณคัทรียา ประกอบผลเพื่อศึกษานาฏศิลป์ชั้นสูงนี้

นำศิลปะการแสดงโขนสู่สายตาของผู้ชมชาวเวียดนาม - ảnh 1
คุณคัทรียา ประกอบผลกำลังทำการแสดงโขนตอน “หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา”

บนเวทีกลางแจ้งในกรุงฮานอย คุณคัทรียา ประกอบผลกำลังทำการแสดงโขนตอน “หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา” โดยเธอกำลังอยู่ในชุดของนางสุพรรณมัจฉาที่มีชฎา กำไลข้อมือไข่มุก เสื้อคลุมสีเหลืองที่มีหางปลาสั้นๆด้านหลัง โดยแสดงสีหน้าที่ดูสดใสน่ารัก สุภาพอ่อนโยนผสมกับความเขินอายที่กำลังถูกหนุมานไล่ตาม นี่คือหนึ่งในเนื้อเรื่องที่น่าสนใจจากเรื่องรามเกียรติ์ในพระราชนิพนธิ์ของรัชการที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โดยมีเค้าโครงจากมหากาพย์รามายณะของชาวอินเดีย ซึ่งในภาษาเวียดนามเรียกว่าซีตาหรือเรียมเกร์ในภาษากัมพูชา สรีรามในอินโดนีเซียและอาลิมในภาษาฟิลิปินส์ เมื่อกล่าวถึงความหลงไหลในการแสดงศิลปะชั้นสูงนี้ คุณคัทรียา ประกอบผลบอกว่า “ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมแต่ว่าเห็นขึ้นมาก็แล้วก็ โอ้เราอยากที่จะเป็นอย่างนี้ เราดูพี่ อะไรอย่างนี้เราก็รู้สึกว่า โอ้เราชอบและอยากเป็นอย่างนี้ พูดง่ายๆเลยก็คือใจรัก เลยถึงอดทนที่จะแบบฝึกหัดอะไรที่มันยากๆ แบบนี้ได้ แล้วพอเรามาถึงณจุดๆนั้น เราสามารถทำได้สำเร็จ เราก็รู้สึกภาคภูมิใจสิ่งที่เราอดทนกับสิ่งๆนั้นมา แล้วเราก็รู้สึกไม่เหนื่อย เรารู้สึกมีความสุขที่ทำได้สิ่งที่เรารัก”
เช่นเดียวกับท่ารำในการแสดงอุปรากรโบราณของเวียดนาม การเคลื่อนไหวของร่างกายตัวละครในการแสดงโขนเลียนแบบมาจากท่าทางของสิ่งต่างๆในธรรมชาติโดยใช้หลักของนาฏศิลป์เข้าไปผสมให้สวยขึ้น เช่น หนุมานมีท่าทางเหมือนลิงที่กำลังเต้นและเอี้ยวมองสิ่งรอบๆตัว เป็นต้น ในอดีตมีเฉพาะผู้ชายเท่านั้นที่สามารถแสดงโขนได้แต่หลังศตวรรษที่ 19 ผู้หญิงก็สามารถทำการแสดงได้และมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่น มีแสดงเฉพาะตัวละครที่เป็นลิงและยักษ์เท่านั้น โดยจะต้องสวมหน้ากาก ส่วนโขนพระและโขนตัวนางจะสวมชฎาหรือใช้ผมปลอมแทน สำหรับคุณคัทรียา ประกอบผลนั้น เธอได้ฝึกแสดงโขนเมื่อตอนอายุ 10 กว่าขวบและถึงขณะนี้ก็ได้ผูกพันกับการแสดงศิลปะชั้นสูงนี้กว่า 20 ปีแล้ว “การฝึกหัดสำหรับการแสดงประเภทโขนก็ค่อนข้างที่ต้องใช้เวลานาน ใช้เวลาฝึกเป็นสิบๆปีถึงจะสามารถทำได้ดีและทำได้ออกมาอย่างสวยงาม ลึกซึ้งแล้วก็เข้าใจความหมายของแต่ละท่าทางการแสดงเพราะว่าต้องค่อนข้างที่จะอาศัยการฝึกหัดแล้วก็ประสบการณ์ค่อนข้างมาก เพราะว่าจะรำยังใงให้รำออกมาได้สวยแล้วก็ทำได้ถูกต้อง การแสดงโขนจะมีตัวละคร 4 ประเภท ก็คือ โขนพระ โขนตัวนาง โขนยักษ์แล้วก็โขนลิง อย่างหนุมานก็จะเป็นโขนลิง วิธีการฝึกการหัดก็จะแตกต่างกันไปแต่ว่าเทคนิคของตัวที่เป็นผู้ชายที่เป็นลิงเป็นยักษ์นั้น ก็ค่อนข้างยากกว่า เพราะต้องใช้กำลังขา เพราะฉะนั้นคนที่สามารถแสดงโขนได้ มันยากเพราะอาศัยการฝึกหัดอย่างเข้มข้น”
นำศิลปะการแสดงโขนสู่สายตาของผู้ชมชาวเวียดนาม - ảnh 2

เมื่อดูคุณคัทรียา ประกอบผลแสดงโขน ผู้ชมทุกคนต่างหลงไหลในท่าทางต่างๆของเธอที่กำลังแสดงตัวละครนางสุพรรณมัจฉา
“นี่เป็นครั้งแรกที่ผมดูการแสดงโขน แม้ไม่รู้ภาษาไทยแต่ผมก็สามารถเข้าใจเนื้อหาได้เพราะมันคล้ายๆกับเรื่องซีตาของเวียดนาม ซึ่งล้วนมีโครงเรื่องมาจากมหากาพย์รามายณะของชาวอินเดียที่หลายคนทราบแล้ว”
“ผมชอบฉากที่หนุมานไล่จับเมียคือนางสุพรรณมัจฉา ใบหน้าเปี่ยมไปด้วยอารมณ์ต่างๆ อย่างเช่น ความโกรธและความรัก ท่าทางดูเหมือนลิงจริงๆ ส่วนเมียของเขาคือนางสุพรรณมัจฉารำสวยมาก ดูเหมือนเธอใช้ทั้งร่างกายในการแสดงโขน”
“ดิฉันชอบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายของตัวละครในการแสดงโขนมากที่สุดสวยและมีรายละเอียดมาก ส่วนเนื้อหาก็มีความหลากหลาย”
คุณคัทรียา ประกอบผลและคู่รำโค้งคำนับผู้ชมพร้อมรอยยิ้ม วันนี้ เธอและคู่รำได้ช่วยให้ผู้ชมชาวเวียดนามรู้จักการแสดงโขน ซึ่งเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด