พ่อแม่บุญธรรม – ลำธารแห่งความรัก

(VOVWORLD) -เมื่อได้รับข่าวนักศึกษาลาวในประเทศเวียดนามประสบความยากลำบากหรือล้มป่วย คุณลุง ด๋าวหาง ทหารผ่านศึกในจังหวัดหายเยืองก็รู้สึกกังวลและเศร้าใจเป็นอย่างมาก จึงตัดสินใจร่วมมือกับเพื่อนสหายที่เป็นอดีตทหารอาสาเวียดนามที่เคยไปรบในประเทศลาว จัดทำโครงการรับนักศึกษาลาวเป็นบุตรบุญธรรม
พ่อแม่บุญธรรม – ลำธารแห่งความรัก - ảnh 1เป็นครอบครัวเดียวกัน
เมื่อปี 2018 นักศึกษาลาว 12 คนที่เดินทางมาศึกษาในประเทศเวียดนามได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีจากพ่อแม่บุณธรรม ครูอาจารย์ เจ้าหน้าที่จังหวัดฯ และสมาคมมิตรภาพเวียดนาม – ลาวสาขาจังหวัดหายเยือง และได้ถูกตั้งชื่อเป็นภาษาเวียดนาม เช่น “ห่ง” “ห่า” “กิ๋ว” “ลอง” “ดว่าน” “เก็ด” “หิว” “หงิ” เป็นต้น ซึ่งหมายถึงไมตรีจิตมิตรภาพและความสามัคคีที่ยั่งยืนเหมือนสายน้ำโขงที่เชื่อมโยงระหว่างสองประเทศ ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา นักศึกษาลาว 12 คนดังกล่าวได้กลายเป็นบุตรบุญธรรมของ 6 ครอบครัวชาวเวียดนามที่มีพ่อหรือแม่เป็นทหารผ่านศึกในสมรภูมิลาว คุณป้าเฟี้ยมและคุณลุงด๋าวหางเผยว่า
“ เราคิดว่า นักศึกษาลาวที่มาเรียนในเวียดนามก็เหมือนลูกหลานของเรา เราจึงสั่งสอนเหมือนลูกหลานเรา ”
“ในวันหยุดสุดสัปดาห์ ผมพาลูกบุญธรรมมาอยู่กับครอบครัวผมเพื่อจะไม่คิดถึงบ้าน ผมมักจะปรุงอาหารลาวให้พวกเขากิน พวกเขาชอบมาก ”
จากการดูแลเอาใจใส่ของพ่อแม่บุญธรรม นักศึกษาลาวค่อยๆ คลายความคิดถึงบ้านเมื่อต้อห่างจากพ่อแม่มาศึกษาในจังหวัดหายเยือง ประเทศเวียดนาม โดยรู้สึกโชคดีที่ได้กลายเป็นลูกหลานในครอบครัวคนเวียดนาม  ได้รับความรัก ความดูแลเอาใจใส่ของพ่อแม่และพี่น้องชาวเวียดนาม นางสาว Yang Thouasivith ที่มีชื่อเวียดนามคือ เฉียน นักศึกษาคณะบัญชี มหาวิทยาลัยหายเยืองกล่าวว่า
“เมื่อเริ่มมาเวียดนาม บางครั้งก็หนูรู้สึกเหงาบ้างแต่หลังจากที่มีพ่อแม่บุญธรรม ก็หาเหงา เพราะว่า หนูรู้สึกเหมือนกำลังอยู่กับพ่อแม่ที่ลาว พี่น้องในครอบครัวก็รักเราเหมือนน้องสาวจริงๆ เลย”
พ่อแม่บุญธรรม – ลำธารแห่งความรัก - ảnh 2พ่อแม่บุญธรรมถ่ายรูปกับบุตรบุญธรรมในพิธีสำเร็จการศึกษา

ถึงแม้มีอายุกว่า 70 ปีและสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง แต่จากความรักที่มีต่อชาวลาวเป็นพิเศษ คุณป้าคุณลุงต่างรู้สึกยินดีที่มีลูกมีหลานเพิ่มขึ้น การมีบุตรบุญธรรมลาวได้ช่วยให้บรรยากาศในครอบครัวสนุกสนาน อบอุ่นและผูกพันใกล้ชิดมากขึ้น คุณลุงวันเล่าว่า

“เมื่อภรรยาคุยเรื่องรับบุตรบุญธรรมที่เป็นนักศึกษาลาวกับผม ผมบอกว่า เงินทองมากเท่าไหร่ก็ไม่สามารถซื้อความรักที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ได้ พ่อแม่บุญธรรมต่างก็แก่แล้วไม่มีเงินทองมีแต่ความรักให้พวกเขามาก”
การได้มีโอกาสมาศึกษาในประเทศเวียดนาม ได้รับการฝึกอบรมจากครูอาจารย์และการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ของเพื่อนๆ ชาวเวียดนาม โดยเฉพาะได้กลายเป็นบุตรบุญธรรมในครอบครัวทหารผ่านศึก ทำให้นักศึกษาลาวรู้สึกโชคดีเป็นอย่างมาก คุณ เด็ด ซึ่งมีชื่อภาษาเวียดนามคือ หงิ และนางสาว Tina Thipliemkhoan ที่เพิ่งผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบกล่าวด้วยความซาบซึ้งใจว่า
“ถ้าหากเปรียบเทียบ เราก็ไม่แตกต่างกับลูกหลานของพ่อแม่บุญธรรมที่กำลังศึกษาในกรุงฮานอย โดยพวกท่านโทรศัพท์ให้กำลังใจเราอยู่เสมอ ถ้าหากโทรหาเราไม่ติด พ่อแม่ก็บอกรุ่นพี่ที่ในมหาวิทยาลัยให้มาดูว่า เราสบายดีไหม แล้วบอกให้เรากลับไปเยี่ยมบ้านเมื่อมีเวลาว่าง เราอยู่ร่วมกันอย่างผูกพันใกล้ชิดเหมือนลูกหลานจริงๆ ทำกับข้าวหรือทำอะไรที่บ้านพ่อแม่บุญธรรมก็รู้สึกเหมือนเป็นบ้านของเราจริงๆ พี่น้องในครอบครัวก็ดีมาก ถ้าหากเราพบปัญหาอะไรก็ให้ความช่วยเหลือทันที”  
พ่อแม่บุญธรรม – ลำธารแห่งความรัก - ảnh 3ในพิธีสำเร็จการศึกษา

“ หนูไม่เคยคิดว่า จะมีใครดีกับเราอย่างนี้ คืนที่หนูต้องผ่าตัด พ่อแม่บุญธรรมไม่หลับเลย รอถึงตอนที่หนูตื่น พวกเขาดูแลหนูเหมือนลูกแท้ ๆ เมื่อพ่อแม่คนลาวของหนูมาเวียดนาม พ่อแม่บุญธรรมยังดูแลทั้งหนูและพ่อแม่ของหนู เมื่อมีเรื่องเศร้าหรือไม่สบายใจ หนูจะกลับบ้านพ่อแม่บุญธรรม พวกเขาดูแลหนูเหมือนลูกหลานจริงๆ พี่ๆก็ให้ความสนใจและโทรศัพท์มาให้กำลังใจบ่อยๆ”ไม่เพียงแต่ให้การดูแลเอาใจในเรื่องการกินอยู่เท่านั้น แต่พ่อแม่บุญธรรมก็สนในเรื่องอนาคตของลูกด้วย โดยหวังว่า หลังจบมหาวิทยาลัย ลูกๆบุญธรรมจะมีงานดี ๆ ทำและมีทักษะความชำนาญเพื่อนำไปใช้พัฒนาบ้านเกิด

“ผมบอกกับลูกอยู่เสมอว่า ต้องหมั่นกลับบ้านบ่อย ๆเพื่อศึกษาค้นคว้าวัฒนธรรมและสั่งสมประสบการณ์เพื่อใช้ในการเรียน ในอนาคต เมื่อกลับประเทศลาวก็สามารถใช้ความสามารถที่มีได้อย่างเต็มที่”
“อยู่ที่เวียดนาม เรารู้สึกอุ่นใจเหมือนที่ได้อยู่บ้านที่ประเทศลาว คนเวียดนามรักและให้การช่วยเหลือเราเป็นอย่างมาก ช่วยให้เราไม่เหงาและไม่เศร้าเมื่ออยู่ไกลบ้าน มีแต่คนเวียดนามที่รักคนลาวแบบนี้” นี่คือความคิดเห็นของเด็ด Tina และนักศึกษาลาวอีกหลายๆ คนที่ได้มีโอกาสมาศึกษาในประเทศเวียดนาม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด