ลู่ทางเชื่อมโยงการลงทุนระหว่างไทยกับเวียดนาม

(VOVWORLD) - ไทยกำลังอยู่อันดับ 9จากจำนวน 129ประเทศและดินแดนที่ลงทุนในเวียดนาม โดยนอกจากบริษัทใหญ่ๆที่เข้ามาลงทุนในเวียดนามมากกว่า 20ปี เช่น เครือบริษัทเอสซีจีและซีพีแล้ว ปัจจุบัน มีสถานประกอบการที่มีศักยภาพด้านการเงินและเทคโนโลยีของไทยจำนวนหนึ่งให้ความสนใจมาลงทุนก่อสร้างโรงงานตามนิคมอุสาหกรรมต่างๆของเวียดนาม 

ส่วนรัฐบาลไทยได้ส่งเสริมให้สถานประกอบการขยายการลงทุนในต่างประเทศ รวมถึงเวียดนามเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ช่องทางจำหน่ายสินค้าของไทย โดยในหลายปีมานี้ รัฐบาลไทยได้สนับสนุนการอบรมและจัดกิจกรรมการสำรวจลู่ทางการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับเวียดนามให้แก่สถานรปะกอบการ ซึ่งล่าสุดนี้คือลู่ทางเชื่อมโยงการลงทุนระหว่างมุกดาหาร-สะหวันนะเขต-เว้-ดานัง-ฮานอย

ลู่ทางเชื่อมโยงการลงทุนระหว่างไทยกับเวียดนาม - ảnh 1คณะผู้แทนสถานประกอบการที่ได้รับการอบรมจากบีโอไอมาสำรวจ ที่นครดานัง (ภาพจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย)

ผมมาเวียดนาม 10 ครั้งแล้ว สิ่งที่เราเข้ามาก็คือว่า เราได้มีความมั่นใจว่า ถ้าเรามาลงทุนที่เวียดนาม ในเรื่องของการลงทุน เรื่องการก่อสร้าง สถานที่ในการตั้งธุรกิจ พนักงานที่จะเข้ามาช่วยกันทำงาน เรามั่นใจว่า และประทับใจว่า  3 อย่างนี้ เวียดนามมีพร้อมเพียงพอ รวมถึงในเรื่องของระบบการขนส่ง ซึ่งถึงแม้ว่าการเดินทางจากเหนือจรวดใต้อาจจะไกลแต่เวียดนามก็มีท่าเรือทางตอนเหนือและท่าเรือทางตอนใต้ ซึ่งสามารถขนส่งได้ทางท่าเรือ รวมถึงอาเซียนของเรา มีเรื่องของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกตะวันตก ซึ่งสามารถเชื่อมการเดินทางในภูมิภาคอย่างดีด้วยเช่นกัน เวียดนามมีนิคมอุตสาหกรรมถึง 324 นิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ เพราะฉะนั้นค่อนข้างสะดวกต่อการลงทุนในอนาคตสำหรับผู้ลงทุนต่างชาติ

ลู่ทางเชื่อมโยงการลงทุนระหว่างไทยกับเวียดนาม - ảnh 2 ภาพท่าเรือดานัง (สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย)

นาย ธิติพันธ์ อัครวงศ์วริศ กรรมการบริหารบริษัทวินเนอร์ อินเตอร์ พลาสจำกัดที่ทำธุรกิจพลาสติกมาเป็นเวลา 12ปีในประทศไทยและมีโรงงาน1 แห่งในประเทศอินเดีย เป็นหนึ่งในสถานประกอบการ 50แห่งที่เข้าร่วมโครงการสำรวจลู่ทางการลงทุนที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอจัดขึ้น นาย ธิติพันธ์ อัครวงศ์วริศเผยว่า บริษัทของเขามีโรงงานผลิตพลาสติก ที่ จังหวัดนครปฐม ใกล้จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการสำรวจลู่ทางการลงทุนระหว่างเวียดนามกับไทย ดังนั้น การเข้าร่วมกิจกรรมสำรวจเส้นทางระหว่างมุกดาหาร-  สะหวันนะเขต - เว้ - ดานัง-  ฮานอยนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการสำรวจที่นครดานังและกรุงฮานอย ซึ่งเป็นท้องถิ่นที่มีการพัฒนาอย่างคล่องตัวทำให้เขาสามารถมองเห็นถึงความได้เปรียบและศักยภาพของจังหวัดเหล่านี้

ผมมีpartnerที่เวียดนามที่ซื้อพาเลทพลาสติก ของโรงงานผมมาขายที่กรุงฮานอย มีความสัมพันธ์อยู่ประมาณ 3ปีแล้ว ถ้าเกิดดูไปแล้ว เรามีแผนที่ลงทุนที่ฮานอยเพราะว่า เราดูที่ดานังแล้ว จากการที่เราดูที่ดานังปรากฎว่า บางธุรกิจสามารถทำได้ บางธุรกิจไม่สามารถทำได้เพราะดานังเป็นเมืองอุตสาหกรรมกึ่งท่องเที่ยว เพราะงั้น อุตสาหกรรมที่เป็นอุตสาหกรรมหนักไม่สามารถทำได้ อุตสาหกรรมบางอย่างสามารถทำได้ แต่ฮานอยค่อนข้างที่จะเปิดกว้างสำหรับทุกอุตสาหกรรมที่จะลงทุนเพราะงั้นถ้าเกิดฮานอยเปิดกว้างในทุกอุตสาหกรรม กลุ่มนักธุรกิจไทยสามารถมารวมตัวและสามารถทำงานร่วมกันได้”

ลู่ทางเชื่อมโยงการลงทุนระหว่างไทยกับเวียดนาม - ảnh 3คณะผู้แทนไทยไปเยือนบริษัทซีพีที่นิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดเถื่อเทียนเว้  (ภาพจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย)

นอกจากบริษัทที่เคยทำการสำรวจประเทศเวียดนามมาหลายครั้งอย่างบริษัทวินเนอร์ อินเตอร์ พลาสจำกัด ในกรอบการเดินทางครั้งนี้ ยังมีบริษัทใหม่ๆที่มาสำรวจที่เวียดนามเป็นครั้งแรก เช่น บริษัทเบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด ที่มีประสบการณ์ในการบริหารและจัดการกากอุตสาหกรรมมาเป็นเวลา 20ปีและมีโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ 3แห่งในประเทศไทย นางสาว ภัทรารัตน์ เหลืองวิริยะ ผู้ช่วยกรรมการบริหารและผู้ประสานธุรกิจระหว่างประเทศของบริษัทเบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด แสดงความพอใจต่อการเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆของบริษัทไทยที่ลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาวในเวียดนาม

เรามีโอกาสไปพบกับบริษัท prime ก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่บีโอไอคัดเลือกให้เราไปดู ก็ได้คุยข้อมูลเชิงลึก เรื่องของทั้งแรงงาน ค่าแรง ผลประกอบการทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่เงิน รวมไปจนถึงความ friendly ของแรงงานแล้วก็ความน่าไว้วางใจ คนเวียดนามเป็นคนที่ค่อนข้าง flexible trustable เป็นแรงงานที่มีศักยภาพ ดังนั้น เรามองว่า เรื่องของเงินเป็นเรื่องสำคัญ ผลประกอบการก็เป็นเรื่องสำคัญ อีกเรื่องหนึ่งคือ human resourse เราก็สอบถามเขาถึงธุรกิจที่เราเชี่ยวชาญ คือเรื่องwaste investment ว่า มีกฎหมาย มีข้อบังคับหรือ ว่า ระเบียบในเรื่องนี้ไม๊ ก็ปรากฎว่า ก็มี มันก็เลยเป็นสัญญาที่ดี”

จากการเล็งเห็นถึงประสิทธิผลของโครงการสำรวจลู่ทางเชื่อมโยงการลงทุนระหว่างเวียดนามกับไทย นอกเหนือจากเส้นทางมุกดาหาร-  สะหวันนะเขต - เว้ - ดานัง-  ฮานอยแล้ว ในปี 2019 บีโอไอได้ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอยจัดกิจกรรมสำรวจลู่ทางการลงทุนระหว่างกรุงเทพฯ – นครพนม – วิงห์ – ฮานอยและเส้นทางอุบลราชธานี –สะหวันนะเขต –กว๋างตริ– เถื่อเทียนเว้– ทางหลวงหมายเลข9 ซึ่งเส้นทางต่างๆดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายร่วมคือเชื่อมโยงการลงทุนระหว่างไทยกับภาคเหนือและภาคกลางของเวียดนาม นายธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอยได้ให้ข้อสังเกตว่า

ตอนนี้ ภาคเหนือ กำลังมีเศรษฐกิจที่เติบโตมากขึ้น แล้วก็ที่ทางเหนือ ที่เมืองฮาลอง มีนิคมอุตสาหกรรมของอมตะที่เปิดหน้าดินแล้ว ก็จะพานักลงทุนไปดูนิคมอุตสาหกรรมของเราที่กำลังจะเปิดตัว คาดว่า นักธุรกิจไทยก็เรียนตรงๆว่า มีความมั่นใจและคุ้นเคยกับผู้ประกอบการที่นิคมอุตสาหกรรมของไทย สามารถคุยกันได้ง่าย คุยกันรู้เรื่อง มีการแนะนำ เพราะอมตะนี้ทำธุรกิจอยู่ในเวียดนามมานานมาก น่าจะ 20ปีขึ้นไป ดังนั้น ก็จะเป็นที่พึ่งพาของนักธุรกิจใหม่ๆได้”

ลู่ทางเชื่อมโยงการลงทุนระหว่างไทยกับเวียดนาม - ảnh 4นายธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอยและนาย เจิ่นวันเมียน รองประธานคณะกรรมการประชาชนนครดานังในโอกาสเข้าร่วมการเสวนาเชื่อมโยงการลงทุนและการค้าระหว่างนครดานังกับประเทศไทย  (ภาพจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย)

นายธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอยยังเผยว่า นอกจากการจัดกิจกรรมสำรวจการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมของสถานประกอบการไทย รัฐบาลไทยยังส่งเสริมการสำรวจลู่ทางการลงทุนเพื่อพัฒนาการผลิตและส่งออกสินค้าทางทะเลผ่านท่าเรือในเมืองท่าไฮฟองและการส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีนผ่านจังหวัดหล่างเซินของเวียดนาม โดยในระหว่างวันที่ 17-21มิถุนายนนี้ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอยและบีโอไอจะนำคณะผู้แทนสถานประกอบการรวม 35คนไปสำรวจลู่ทางเชื่อมโยงระหว่างกรุงฮานอย เมืองท่าไฮฟอง จังหวัดกว๋างนิง จังหวัดหล่างเซินและเมืองหนานหนิง ประเทศจีน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด