ศึกษาค้นคว้าวัฒนธรรมไทยผ่านเพลงและการรำรากไทย

(VOVWORLD) - เพลงรากไทยเป็นเพลงประจำรายการคุณพระช่วย ซึ่งเพลงนี้ถูกแต่งเมื่อเกือบ  10ปีก่อน และได้รับความนิยมจากผู้ที่รักวัฒนธรรมพื้นเมืองของไทยเพราะเป็นเพลงที่ไพเราะมีความหมายดี  นอกจากนี้ ยังมีการแสดงรำรากไทยประกอบการรำต่างๆ เช่น รำโขนและรำมาตรฐาน ในรายการของเราวันนี้ ขอเชิญคุณผู้ฟังร่วมกับผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุเวียดนามศึกษาเกี่ยวกับเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยผ่านการแสดงรำรากไทยของครูและนักศึกษาศูนย์เผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมไทยสังกัดมหาวิทยาลัยฮานอยนะคะ

 

ศึกษาค้นคว้าวัฒนธรรมไทยผ่านเพลงและการรำรากไทย - ảnh 1 การแสดงรำรากไทยของครูและนักศึกษาศูนย์เผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมไทยสังกัดมหาวิทยาลัยฮานอย

 การแสดงรำรากไทยมีขึ้นในห้องเรียนกว้าง 150ตารางเมตรที่ถูกตกแต่งด้วยลูกโปร่งและธงรูปสามเหลี่ยมหลากหลายสีสัน บริเวณรอบเวทีการแสดง มีการตั้งเก้าอี้เพื่อรองรับผู้ชมกว่า 100 คน ที่กำลังให้ความสนใจกับการแสดงรำรากไทย นางรำ 9คนที่มีอายุตั้งแต่ 20-21 ปี สวมใส่ผ้าถุงหลากหลายสีสัน ความยาวถึงตาตุ่มกับเสื้อตัวในแขนกุด ห่มทับด้วยสไบ ทรงผมเกล้าขึ้น ยืนเรียงสี่แถวแนวนอน โดยสามแถวแรกยืนเป็นรูปสามเหลี่ยม มีนางรำห้าคนมือซ้าย อยู่มรท่าตั้งวง ส่วนมือขวาอยู่ในท่าจีบหงายข้างหลัง และยกเท้าซ้ายขึ้น ส่วนนางรำที่ยืนแถวสุดท้ายแบ่งเป็นสองฝั่งที่ถือพัดและพานใส่ดอกกุหลาบสีแดงและดอกเบญจมาศสีเหลือง สำหรับนางรำที่ถือพัดนั้น อยู่ในชุดเสื้อลูกไม้สีขาวและเข็มขัดสีเหลือง

“เพลงนี้มักถูกนำมารำในโอกาสวันสำคัญต่างๆของไทย ดังเช่นเทศกาลสงกรานต์ในวันนี้ พวกหนูได้ฝึกรำมาเป็นเวลาหนึ่งเดือน การรำรากไทยเป็นการรำอ่อนช้อย ซึ่งค่อนข้างยาก โดยเฉพาะการดัดมือต้องฝึกให้ได้เพราะยิ่งดัดได้มาก มือจะยิ่งสวย”

“หนูชอบชุดแต่งกายนี้เป็นอย่างมากเพราะสื่อถึงเสน่ห์และความงามของสตรีไทย โดยครูได้ช่วยพวกเราใส่ชุดนี้เพราะต้องใส่เป็นชั้นๆ ส่วนการทำผมก็จะเกล้าขึ้น ซึ่งการใส่ชุดแต่งกายและการแต่งหน้าต้องใช้เวลาสองชั่วโมง”

“หนูรำพัดค่ะ การรำพัดจะช่วยเติมแต่งสีสันและทำให้การแสดงมีชีวิตชีวามากขึ้น  ครูบอกว่า ชุดแต่งกายของหนูเป็นชุดแต่งกายของขุนนางไทยในสมัยโบราณที่เป็นฟูๆช่วงไหล่”

ศึกษาค้นคว้าวัฒนธรรมไทยผ่านเพลงและการรำรากไทย - ảnh 2 นางสาว วรัญญา โสดาวัฒน์
 

ผู้ออกแบบท่ารำในวันนี้คือนางสาว วรัญญา โสดาวัฒน์ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สาขาภาษาเวียดนาม ซึ่งเป็นนิสิตฝึกงานในศูนย์เผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมไทยสังกัดมหาวิทยาลัยฮานอย โดยนางสาว วรัญญา โสดาวัฒน์ ได้กล่าวว่า นางรำมักจะใส่ชุดแต่งกายพื้นเมืองในการแสดงรำรากไทย“รำรากไทยและโปรยดอกไม้จะเป็นชุดไทยจักรี ส่วนรำพัดจะเป็นชุดราชปะแตน รำพัด หนูคิดว่า ใส่ชุดราชปะแตนจะสวยกว่า โดดเด่นด้วย เพราะว่ารำดึงความโดดเด่นไปแล้ว หนูก็อยากให้ชุดราชปะแตนได้เผยแพร่ออกไปด้วย ไม่ใช่หนูอยากแค่ชุดไทยจักรี อยากให้รู้จักชุดราชปะแตนด้วย ชุดราชปะแตนเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ได้เปลี่ยนมาเรื่อยๆจนมาถึงชุดไทยจักรี ตอนนี้ชุดไทยก็คือชุดไทยจักรี”

นางสาว วรัญญา โสดาวัฒน์ ยังเผยว่า ต้องเปลี่ยนท่ารำไปบ้างให้สอดคล้องกับนักษึกษาเวียดนามเพราะท่ารำจริงๆมีความยากเนื่องจากมีท่ารำโขนรวมอยู่ด้วย“เพลงรำรากไทยเป็นรำอ่อนช้อย ส่วนรำโขนจะมีตัวละคร ตัวยักษ์ และตัวลิง หนูก็เลยเอาท่ารำมาตรฐานทั้ง 10 มาตรฐานมารวมกัน ก็เลยเปลี่ยนท่าทางไปบ้าง เช่น งามแสงเดือน ตั้งวง จีบคว่ำจีบหงาย  ส่วนช่วงแสดงโขน หนูจะให้เป็นรำพัดและรำโปรยดอกไม้ค่ะ”

สำหรับเพลงรากไทย นางสาว วรัญญา โสดาวัฒน์ เผยว่า เนื้อเพลงสื่อถึงคำเรียกร้องให้คนไทยต้องร่วมกันธำรงและอนุรักษ์รากเหง้าและเอกลักษณ์วัฒนธรรมของบรรพบุรุษ“เนื้อเพลงมีความหมายอยู่แล้ว จะยกตัวอย่างนะคะ จะมีท่อนหนึ่งเริ่มต้นเลย “ลมจะแรงเพียงไหน ไม่อาจโค่นต้นไม้ล้มลงไป” ลมจะแรงเพียงไหน เหมือนกับพ่อ ที่มีปัญหามากมายแค่ไหน พ่อก็สามารถพาลูกไปถึงจุดหมายได้ค่ะ”

ศึกษาค้นคว้าวัฒนธรรมไทยผ่านเพลงและการรำรากไทย - ảnh 3  การแสดงรำรากไทยของครูและนักศึกษาศูนย์เผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมไทยสังกัดมหาวิทยาลัยฮานอย
การอนุรักษ์วัฒนธรรมของไทยมีความคล้ายคลึงกับเกียรติประวัติที่ดีงามของประชาชาติเวียดนาม ดังนั้นเพลงและการรำรากไทยจึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมเป็นจำนวนมาก

“เพลงนี้เป็นเพลงที่มีความหมายและเพราะมาก เนื้อเพลงยกย่องความสวยงามและคุณค่าวัฒนธรรมของประเทศไทย คนไทยก็มีความภาคภูมิใจต่อการรำพื้นเมืองต่างๆ”

“ดิฉันชอบชุดแต่งกายของนางรำมากที่สุดเพราะสวยมากและสื่อถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย ดิฉันเคยฟังเพลงไทยหลายเพลง ไทยมีเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่หลากหลายเหมือนเวียดนาม การรำพื้นเมืองของไทยเป็นการรำที่อ่อนช้อย ต้องดัดมือให้งอสวยงามและใช้มือมากกว่าเท้า”

“การทำทรงผมและการสวมใสชุดแต่งกายพื้นเมืองของไทยมีความพิถีพิถัน ส่วนเครื่องประดับทุกอย่างของคนไทยล้วนมีความปราณีตสวยงาม จากการเข้าร่วมงานวันนี้ทำให้ดิฉันชื่นชอบวัฒนธรรมไทยมากขึ้น”

ศึกษาค้นคว้าวัฒนธรรมไทยผ่านเพลงและการรำรากไทย - ảnh 4  การแสดงรำรากไทยของครูและนักศึกษาศูนย์เผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมไทยสังกัดมหาวิทยาลัยฮานอย

 เสียงปรบมือเมื่อจบการแสดงที่ใช้เวลาแค่ 4 นาทีและความรู้ที่ได้จากการฝึกรำเป็นเวลากว่า 1 เดือนถือเป็นผลสำเร็จของครูและนักศึกษาของศูนย์เผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมไทยสังกัดมหาวิทยาลัยฮานอย  นางสาว วรัญญา โสดาวัฒน์บอกว่า จะพยายามแนะนำเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยเพื่อทำให้นักศึกษาเวียดนามรักภาษาและวัฒนธรรมไทยมากขึ้น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

Janpen kongkam

การฟ้อนรำของไทยเรามีความงามจริงๆค่ะขอบคุณนักศึกษาไทยที่ทำให้การฟ้อนรำและการแต่งกายแบบไทยๆดูดีและงามเด่นไกลไปถึงประเทศเพื่อนบ้านค่ะ

ข่าวอื่นในหมวด