สาขาวิชาอาเชียนศึกษากับกระบวนการผสมผสานเข้ากับภูมิภาค

(VOVWorld) – ในสภาวการณ์ที่เวียดนามเริ่มผสมผสานเข้ากับกระแสภูมิภาค เมื่อปี๑๙๙๗ มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยได้จัดตั้งสาขาวิชาอาเชียนศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ในทุกด้านเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในหลายปีที่ผ่านมา สาขาวิชาอาเชียนศึกษาได้มีส่วนร่วมผลิตบุคลากรให้แก่กระบวนการผสมผสานที่นับวันยิ่งเข้มแข็งของประเทศ


 (VOVWorld) – ในสภาวการณ์ที่เวียดนามเริ่มผสมผสานเข้ากับกระแสภูมิภาค เมื่อปี๑๙๙๗ มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยได้จัดตั้งสาขาวิชาอาเชียนศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ในทุกด้านเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในหลายปีที่ผ่านมา สาขาวิชาอาเชียนศึกษาได้มีส่วนร่วมผลิตบุคลากรให้แก่กระบวนการผสมผสานที่นับวันยิ่งเข้มแข็งของประเท
สาขาวิชาอาเชียนศึกษากับกระบวนการผสมผสานเข้ากับภูมิภาค - ảnh 1
พิธีมอบใบประกาศนียบัตรให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาตินครโฮจิมินห์(Photo:ctsv.hcmussh.edu.vn)

จากวัตถุประสงค์ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาอาเชียนศึกษาได้ช่วยให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งปัญหาประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  องค์การอาเซียน ปัญหาที่เกี่ยวข้องถึงเวียดนามและอัพเดทข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภูมิภาคนี้อยู่เสมอ  ในตอนแรก สาขาวิชาอาเชียนศึกษาผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีเท่านั้น แต่นับตั้งแต่ปี๒๐๐๐ก็ผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาโท และปริญญญาเอก  ในกระบวนการฝึกอบรม  ทางคณะได้เชิญอาจารย์จากคณะการศึกษานานาชาติและคณะประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยและสถาบันเศรษฐกิจ การเมืองและสถาบันศาสนา พร้อมทั้งร่วมมือกับสถาบันวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สังกัดสถาบันสังคมศาสตร์เวียดนามเพื่อทำการฝึกอบรม รวมทั้งให้คำปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์  นอกจากนี้ บรรดาอาจารย์ของสาขาวิชานี้ยังเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์กับมหาวิทยาลัยต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มหาวิทยาลัยมาลายา มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และมหาวิทยาลัยต่างๆของไทย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยต่างๆในภาคอีสาน มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มหาวิทยาลัยโรยัลในกรุงพนมเปญ รวมทั้งมีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา   ศาสตราจารย์ ดร.Mai Ngọc Chừ หัวหน้าภาควิชาอาเซียนศึกษาเผยว่า“สำหรับสาขาไทยศึกษา หลังจากที่จบจากมหาวิทยาลัย นักศึกษาจำนวนมากไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอกที่ประเทศไทย ทุกปี นักศึกษาของสาขาวิชาอาเชียนศึกษาไปฝึกงานที่มหาวิทยาลัยต่างๆของไทย และนักศึกษาไทยจำนวนหนึ่งก็มาเวียดนาม  นอกจากนี้ พวกเรายังมีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ด้วย”

สาขาวิชาอาเชียนศึกษากับกระบวนการผสมผสานเข้ากับภูมิภาค - ảnh 2
ฝึกทักษะให้แก่นักศึกษาหญิงที่เข้าร่วมโครงการทุนการศึกษาMeraliปีการศึกฏษา๒๐๑๒-๒๐๑๓ ( Photo:www.vnu.edu.vn )

คณะบดีสาขาวิชาอาเชียนศึกษากำลังประสานกับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อร่างหลักสูตรอาเชียนศึกษาสำหรับทั้งภูมิภาค ศาสตราจารย์ ดร.Mai Ngọc Chừ เผยว่า“ปัจจุบัน พวกเราและมหาวิทยาลัยต่างๆในมาเลเซีย ไทย ลาว มีความประสงค์ที่จะร่างหลักสูตรร่วมของภูมิภาคที่สอนเป็นภาษาอังกฤษและภาษาถิ่น พวกเราจะรับรองคะแนนของนักศึกษาสาขาวิชานี้ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยอื่นเพื่อสร้างเครือข่ายการศึกษาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งถือเป็นวิธีการร่วมมือที่ดี” หลังจากที่จบจากการศึกษา นักศึกษาสามารถใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาที่สามในภูมิภาค เช่น ภาษาไทยและมาเลยู เป็นต้น พร้อมทั้งมีวิธีการวิจัยเกี่ยวกับภูมิภาคและทักษะการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศต่อแนวโน้มผสมผสานภูมิภาคที่นับวันยิ่งเข้มแข็งในปัจจุบัน จำนวนนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาอาเชียนศึกษานับวันยิ่งเพิ่มขึ้น  คุณDoãn Hoàng An นักศึกษาในสาขาวิชาอาเชียนศึกษาเผยว่า“ดิฉันให้ความสนใจเป็นอย่างมากต่อสาขาวิชาอาเชียนศึกษาเพราะความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนนับวันยิ่งพัฒนา โดยเฉพาะ องค์การอาเซียนกำลังมุ่งสู่การสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนในปี๒๐๑๕  จำนวนนักศึกษาที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับอาเซียนยังมีน้อยมาก ดังนั้น ดิฉันคิดว่า ดิฉันเป็นชาวเวียดนามและก็เป็นพลเมืองอาเซียนก็ต้องมีความรู้เกี่ยวกับอาเซียน เฉพาะหน้า ดิฉันจะเรียนให้ดี หลังจากที่จบจากมหาวิทยาลัย ดิฉันจะไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ประเทศใดประเทศหนึ่งในอาเชียนแล้วกลับมาทำงานในเวียดนามที่เกี่ยวข้องถึงอาเซียนหรือทำงานในประเทศใดประเทศหนึ่งในอาเชียน” ใน๑๖ปีที่ผ่านมา ควบคู่กับความพยายามเปลี่ยนแปลงใหม่และก้าวรุดหน้าไป สาขาวิชาอาเชียนศึกษากำลังมีส่วนร่วมในการผสมผสานเข้ากับภูมิภาคของเวียดนามและนำบรรดาประเทศอาเซียนกระเถิบเข้าใกล้เวียดนามยิ่งขึ้น./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด