หุ่นหนังกัมพูชา สะท้อนชีวิตและศิลปะผ่านเรื่องราวที่เรียบง่าย

(VOVWORLD) - ทีมหุ่นหนังกัมพูชาเป็น 1 ใน 10 ทีมจาก 7 ประเทศที่เข้าร่วมงานมหกรรมหุ่นเชิดนานาชาติ ณ กรุงฮานอยเมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งได้สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชมผ่านการแสดงหุ่นเงาที่เรียกว่าสะเปกธัช (Sbek Touch)หรือหนังเล็ก ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนังตะลุงและเป็นหนึ่งในมรดกวัฒนธรรมของกัมพูชา
หุ่นหนังกัมพูชา สะท้อนชีวิตและศิลปะผ่านเรื่องราวที่เรียบง่าย - ảnh 1 เรื่อง “ชนควาย”

การแสดงเริ่มขึ้นด้วยเสียงร้องเพลงที่ร่าเริงของเกษตรกรในขณะทำงานกลางทุ่งนา ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมจำนวนมาก ศิลปินกัมพูชารวม 6 คนที่อยู่หลังฉากกำลังร้องเพลงและเชิดตัวหุ่นอย่างคล่องแคล่ว ภาพชนบทที่เรียบง่ายของกัมพูชา เช่น บ้านยกพื้น ต้นปาล์มและเกษตรกรที่กำลังเลี้ยงควายและทำนาได้ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างมีชีวิตชีวา การแสดงของทีมกัมพูชาแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือเรื่อง “ชนควาย” และส่วนที่สองคือเรื่อง “ ชาวสวนกับเจ้านาย” ศิลปิน ซาราน ที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรมของกระทรวงวัฒนธรรมและศิลปะกัมพูชา ซึ่งเป็นหนึ่งในศิลปิน 6 คนที่แสดงหนังเรื่องนี้ได้อธิบายว่า นี่เป็นเรื่องที่ชาวกัมพูชารู้จักกันเป็นอย่างดี            “ ในอดีต การเชิดสะเปกธัชส่วนใหญ่เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ของชาวเขมรแต่ในหลายปีมานี้ พวกเราเน้นแสดงเรื่องที่มีเนื้อหาร่วมสมัย เช่น ปัญหาของครอบครัว อุบัติเหตุการจราจร ยาเสพติดและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น เพื่อช่วยให้ผู้ชมทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าใจได้ง่ายและตระหนักได้ดีถึงหน้าที่ความรับผิดชอบต่างๆ”

“บทละครที่ทีมกัมพูชาแสดงมีความผูกพันกับชาวเวียดนามมาก ซึ่งช่วยให้ดิฉันเข้าใจวัฒนธรรมกัมพูชามากขึ้น ฉันได้พาลูกๆไปดูเพื่อให้ลูกๆมีโอกาสสัมผัสวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ”

“ นอกจากเชิดเก่ง ศิลปินกัมพูชายังร้องเพลงเพราะอีกด้วย ในตอนแรกเมื่อได้ฟังเสียงร้อง ผมคิดว่าไม่ใช่การร้องสดแต่จริงๆแล้วพวกเขาร้องสด ส่วนเนื้อเรื่องก็สนุกและเข้าใจได้ง่าย”

สำหรับเรื่อง “ชนควาย”เล่าเกี่ยวกับเกษตรกรสองคนที่กำลังดูแลควายที่กินหญ้าบนทุ่งหญ้า ในช่วงพักผ่อนก็อยากเล่นพนันด้วยการชนควาย หลังจากชนกัน ควายตัวหนึ่งก็ตายลง ทั้งคู่จึงทะเลาะกันจนผู้ใหญ่บ้านต้องมาเป็นคนกลางไกล่เกลี่ย ส่วนเรื่อง “ชาวสวนกับเจ้านาย” เล่าเรื่องครอบครัวเกษตรกรที่ถูกกระต่ายกินผลผลิตในสวนจนหมด จึงได้วางแผนว่าจะฟ้องเจ้านายเพื่อให้เจ้านายบังคับให้กระต่ายชดใช้ความเสียหาย ดังนั้นชาวสวนจึงเชิญเจ้านายมาทานข้าวเพื่อขอความช่วยเหลือแต่หลังจากที่ทานเสร็จ เจ้านายก็กลับบ้านโดยไม่จับกระต่ายให้ ชาวสวนถึงรู้ว่าที่ลงทุนลงแรงทำไปนั้นเสียเปล่า ศิลปิน ซาราน อธิบายว่า เนื้อเรื่องการแสดงเหล่านี้ไม่เพียงแต่เพื่อความบันเทิงเท่านั้นหากยังมีสาระที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตอีกด้วย            “ สิ่งที่เรื่อง “ชนควาย” ต้องการสื่อคือไม่ควรเล่นพนัน ควายเป็นสมบัติที่สำคัญที่สุดของเกษตรกร เพราะต้องใช้งานเพื่อหาเลี้ยงชีพและเมื่อเราเสียทรัพย์สินที่สำคัญก็อาจนำไปสู่ความขัดแย้งกับคนรอบๆตัวได้ ส่วนเรื่องที่สองต้องการสอนว่า เรื่องเล็กๆภายในครอบครัวก็ควรแก้ไขด้วยตนเอง ไม่ควรพึ่งพาคนนอก เพราะอาจจะเสียเงินเสียแรงอย่างไร้ประโยชน์”

หุ่นหนังกัมพูชา สะท้อนชีวิตและศิลปะผ่านเรื่องราวที่เรียบง่าย - ảnh 2 เรื่อง “ชาวสวนกับเจ้านาย”

เพื่อเตรียมแสดงในวันนี้ บรรดาศิลปินกัมพูชาต้องฝึกซ้อมตลอดหนึ่งเดือน ศิลปิน เซน โกซอล เผยว่า สิ่งสำคัญและยากที่สุดคือ ต้องมีอารมณ์ไปกับตัวละครเพื่อให้การแสดงเข้าถึงผู้ชม            “ในการเชิดหุ่นแบบนี้ ศิลปินแต่ละคนต้องเชิดหุ่นสองสามตัวด้วยกัน แต่ละตัวมีบุคลิก มีท่าทางและทำนองเสียงที่แตกต่างกัน การเชิดหุ่นตัวเดียวยากแล้วแต่การเชิดหุ่นสองสามตัวด้วยกันอย่างคล่องแคล่วและมีชีวิตชีวา พร้อมกับร้องเพลงไปด้วยก็ยากมากกว่าหลายเท่า ดังนั้น นอกจากต้องฝึกซ้อมเป็นเวลานาน ศิลปินต้องตั้งใจและทุ่มเทแรงใจเพื่อสามารถถ่ายทอดอารมณ์ออกมาได้อย่างเต็มที่”

ศิลปินประชาชน เวืองยวีเบียน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยว ประธานสภาศิลปะของงานมหากรรมหุ่นเชิดครั้งนี้ให้ข้อสังเกตว่า การเชิดหุ่นเงาของคณะกัมพูชาในครั้งนี้มีคุณภาพกว่าครั้งก่อนๆ            “ถ้าหากเปรียบเทียบกับการแสดงครั้งก่อนๆ สามารถกล่าวได้ว่า การเชิดหุ่นเงาครั้งนี้ของกัมพูชาดีมาก มีการแสดงอย่างคล่องแคล่ว โดยเฉพาะดนตรีประกอบที่มีลีลาสนุกสนานที่แสดงให้เห็นว่ามีการเตรียมพร้อมเป็นอย่างดี ในการแสดงครั้งก่อนๆ ทีมกัมพูชาส่วนใหญ่เน้นถึงการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมโบราณมากเกินไป จึงขาดความคิดสร้างสรรค์และผู้ชมเข้าถึงได้ยาก แต่ในครั้งนี้ พวกเขาได้สอดแทรกเนื้อเรื่องสมัยใหม่ในการแสดงเพื่อประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมและช่วยให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น”

หุ่นหนังกัมพูชา สะท้อนชีวิตและศิลปะผ่านเรื่องราวที่เรียบง่าย - ảnh 3ทีมหุ่นหนังกัมพูชา 

ในงานมหกรรมครั้งนี้ คณะฯกัมพูชาได้รับรางวัล “ดนตรียอดเยี่ยม” แม้การเล่าเรื่องชีวิตจะมีความเรียบง่ายแต่ศิลปินกัมพูชาก็สามารถประชาสัมพันธ์คุณค่าทางวัฒนธรรมพื้นเมืองของประเทศและสาส์นที่มีความหมายต่างๆ ต่อชีวิตผ่านเนื้อเรื่องที่แสดงงถึงผู้ชมทุกคน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด