อาเซียน-ภูมิภาคที่มีศักยภาพในปี๒๐๑๓

(VOVWorld) – ปี๒๐๑๓ นักลงทุนจำนวนมากกำลังถือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีศักภาพ ถืออินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และพม่าเป็นประเทศที่กำลังโดดเด่น ในขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังประสบอุปสรรคเนื่องจากวิกฤติ ทำไมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงมีแรงดูดดูดใจเช่นนี้? บทความของนักข่าววิทยุเวียดนามที่พาดหัวว่า อาเซียนภูมิภาคที่มีศักยภาพในปี๒๐๑๓จะช่วยตอบคำถามนี้


(VOVWorld) – ปี๒๐๑๓ นักลงทุนจำนวนมากกำลังถือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีศักภาพ ถืออินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และพม่าเป็นประเทศที่กำลังโดดเด่น ในขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังประสบอุปสรรคเนื่องจากวิกฤติ ทำไมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงมีแรงดูดดูดใจเช่นนี้? บทความของนักข่าววิทยุเวียดนามที่พาดหัวว่า อาเซียนภูมิภาคที่มีศักยภาพในปี๒๐๑๓จะช่วยตอบคำถามนี้
  จากการคาดการณ์ของสหประชาชาติ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียนจะอยู่ที่ร้อยละ๕.๗ในปี๒๐๑๓และร้อยละ๕.๘ในปี๒๐๑๔ และอาเซียนกำลังแข่งขันกับเศรษฐกิจใหญ่ๆในภูมิภาคด้านการดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศโดยเครือบริษัทข้ามชาติต่างๆกำลังมุ่งเป้าไปที่อาเซียนเพื่อใช้ประโยชน์ศักยภาพต่างๆทั้งด้านแรงงานราคาถูก ประชากรในวัยทำงานมีจำนวนมากและมีศักภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นายMark Geary สถาบันวิจัยสหรัฐกล่าวว่า“บริษัทใหญ่ๆกำลังแสวงหาการขยายตัวในเอเชียและให้ความสนใจถึงตลาดนี้ซึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นคือยุทธศาสตร์การขยายตัวของธนาคารHSBCโดยการลดจำนวนแรงงานในยุโรปแต่เพิ่มแรงงานอีก๕พันคนในเอเชีย” ในช่วงต้นปีนี้ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและภูมิภาคได้มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาและมีเงื่อนไขที่แสดงให้เห็นว่า ปี๒๐๑๓ นักลงทุนจำนวนมากยังคงถือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตที่มีศักยภาพ นายBert Hofman ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจฝ่ายเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกแห่งธนาคารโลกกล่าวว่า“ปี๒๐๑๓ สถานการณ์เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะดีขึ้น เงินเฟ้อลดลง ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อคือ ราคาอาหารกำลังเพิ่มสูงขึ้นในทั่วโลก  แต่ปัจจัยที่มีผลมากที่สุดในเอเชียคือ  ราคาข้าวที่ทรงตัว ดังนั้นจะช่วยลดแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนี้ มาตรการผ่อนปรนเชิงปริมาณที่ได้รับการปฏิบัติในสหรัฐ ยุโรปและญี่ปุ่นจะส่งผลกระทบต่อภูมิภาคในด้านการหมุนเวียนเงินทุน”
อาเซียน-ภูมิภาคที่มีศักยภาพในปี๒๐๑๓ - ảnh 1
เครือบริษัทข้ามชาติต่างๆกำลังมุ่งเป้าไปที่อาเซียนเพื่อใช้ประโยชน์ศักยภาพต่างๆ(Photo:Internet)

อีกสัญญาณที่น่ายินดีให้แก่บรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนในปี๒๐๑๓คือ ตามรายงานของธนาคารHSBC แหล่งเงินทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI มีแนวโน้มเคลื่อนย้ายจากจีนไปยังอินเดียและประเทศอาเซียนต่างๆ เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนามและมาเลเซีย เพราะประเทศเหล่านี้มีเงื่อนไขที่ดีด้านประชากร ตลาดมีความน่าสนใจและมีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว นายVõ Trí Thành รองหัวหน้าสถาบันวิจัยการบริหารเศรษฐกิจส่วนกลางเวียดนามกล่าวว่า ในปี๒๐๑๓ถึงปี๒๐๑๕ เป็นช่วงที่มีจุดเปลี่ยนในการปฏิรูปเศรษฐกิจของอาเซียนและโลก“ปี๒๐๑๓มีประเด็นสำคัญ๒ประการคือ ประเทศอาเซียนยังคงพัฒนาเศรษฐกิจมหภาค ในขณะที่ประเทศพัฒนาผ่อนปรนนโยบาย ประเทศอาเซียนกลับขยายทักษะควบคุมแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะ แหล่งเงินทุนระยะสั้นพร้อมทั้งพยายามธำรงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจ”     นอกจากนี้ ธนาคารโลกยังพยาการณ์ว่า เศรษฐกิจพม่าจะดีขึ้น ซึ่งจะทำให้นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะ พม่ามากขึ้น ตามรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจปี๒๐๑๓ขององค์การความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจหรือOECD  การขยายตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียนจะอยู่ที่ร้อยละ๕.๕ ซึ่งเท่ากับก่อนช่วงวิกฤติ       ปี๒๐๑๓ แม้จะประสบอุปสรรคและความท้าทายนานัปการ แต่อาเซียนกำลังมีโอกาสมากมายเพื่อแสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจของภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวสูงในแผนที่เศรษฐกิจโลก./.

 

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด