อาเซียนเดินหน้าส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศและมอบอำนาจให้แก่สตรี

(VOVWORLD) - ภายใต้หัวข้อ “บทบาทของสตรีในการสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียว คล่องตัว ยั่งยืนและครอบคลุมในช่วงหลังโควิด-19” การประชุมสุดยอดผู้บริหารหญิงอาเซียนครั้งที่ 37ได้เสนอมาตรการปกป้องสิทธิและช่วยเหลือสตรีในการส่งเสริมบทบาทและมีส่วนร่วมต่อการสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนและการฟื้นฟูภูมิภาคหลังภาวะโควิด-19  พร้อมทั้งยืนยันถึงนโยบายที่เสมอต้นเสมอปลายของอาเซียนคือส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศและมอบอำนาจให้แก่สตรีเพื่อขานรับการรำลึกครบรอบ 25ปีสหประชาชาติอนุมัติหลักปฏิบัติปักกิ่งเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศ
อาเซียนเดินหน้าส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศและมอบอำนาจให้แก่สตรี - ảnh 1 ภาพการประชุม (suckhoedoisong.vn)

 

รายงานของธนาคารโลกที่ประกาศเมื่อเร็วๆนี้ระบุว่า พนักงานหญิงในหน่วยงานสาธารณสุขกว่าร้อยละ 70ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 นอกจากนี้ สถานประกอบการที่มีผู้บริหารเป็นสตรี 1ใน 3ในภูมิภาคนี้ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  ดังนั้น การประชุมสุดยอดผู้บริหารหญิงอาเซียนครั้งที่ 37 จึงถือเป็นกิจกรรมที่มีความหมายสำคัญของอาเซียนในปี2020 เอกอัครราชทูต เหงวียนเหงวียดงา ที่ปรึกษาระดับสูงของคณะเลขาธิการอาเซียนได้เผยว่า“นี่คือความคิดริเริ่มของเวียดนามในปีประธานอาเซียน2020 การประชุมนี้มีความหมายพิเศษเพราะมีขึ้นในสภาวการณ์ที่มีความท้าทายต่างๆ รวมถึงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  ซึ่งได้รับความสนใจจากประชามติในภูมิภาค รวมทั้งสตรีอาเซียนและโลก ปีนี้ มีการรำลึกครบรอบ 20ปีโลกทำการประเมินการปฏิบัติตามคำมั่นทางสังคม โดยเฉพาะความเสมอภาคทางเพศ สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน นี่คือโอกาสเพื่อให้บรรดาผู้นำอาเซียนหารือถึงมาตรการปฏิบัติวิสัยทัศน์อาเซียนปี 2025”

อาเซียนเดินหน้าส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศและมอบอำนาจให้แก่สตรี - ảnh 2เอกอัครราชทูต เหงวียนเหงวียดงา ที่ปรึกษาระดับสูงของคณะเลขาธิการอาเซียน (baoquocte.vn

ผู้บริหารหญิงในอาเซียนอยู่ที่ร้อยละ 35 กลไกความร่วมมือของอาเซียนเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศและการส่งเสริมสิทธิของสตรี เช่น คณะกรรมการอาเซียนด้านสตรี หรือ ACW คณะกรรมการส่งเสริมและปกป้องสิทธิของสตรีและเด็กอาเซียน หรือ ACWC คณะกรรมการร่วมรัฐบาลอาเซียนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน หรือ AICHR และเครือข่ายนักธุรกิจหญิงกำลังได้รับการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ แผนการฟื้นฟูอาเซียนแบบบูรณาการที่ได้รับการอนุมัติในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 37ได้สอดแทรกประเด็นเรื่องเพศ การวางนโยบายและความคิดริเริ่มเพื่อตอบสนองความต้องการและช่วยเหลือทั้งเพศชายและเพศหญิงในการมีส่วนร่วมต่อสังคมผ่านกิจกรรมต่างๆอย่างเป็นรูปธรรม โดยเอกอัครราชทูตเหงวียนเหงวียดงาได้เผยว่า อาเซียนได้รับประโยชน์มากมายจากการปฏิบัติกิจกรรมดังกล่าว บทบาทที่สำคัญของสตรีในการสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนได้รับการรับทราบและเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญให้แก่การปฏิบัติเป้าหมายสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวและครอบคลุม ในเวลาข้างหน้า อาเซียนมีความประสงค์ที่จะมีผู้บริหารหญิงในสาขาอาชีพต่างๆมากขึ้น อีกทั้งกระชับความร่วมมือในการสร้างบรรยากาศที่เอื้อให้แก่การพัฒนาของสตรี อาเซียนกำลังมู่งสู่การเพิ่มอำนาจและสนับสนุนสตรีในการเข้าถึงการบริการด้านการเงิน การเข้าร่วมเศรษฐกิจดิจิทัล การรักษาสุขภาพ เทคโนโลยีดิจิทัลและกิจกรรมเศรษฐกิจสังคมหลังภาวะโควิด-19  เอกอัครราชทูตเหงวียนเหงวียดงาได้เผยว่า“ถ้ามองผ่านมุมของนโยบาย กิจกรรมนี้แสดงให้เห็นถึงคำมั่น การสนับสนุนและการเดินหน้าของอาเซียนในการผลักดันความร่วมมือพหุภาคีและลัทธิพหุภาคีในเรื่องความเสมอภาคทางเพศ ซึ่งเป็นก้าวเดินที่สำคัญและมีประสิทิภาพของอาเซียนในระยะใหม่”

แรงงานหญิงคิดเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรที่อยู่ในวัยทำงานของอาเซียน ซึ่งมีส่วนร่วมที่สำคัญต่อความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคและความพยายามสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียน เพื่อส่งเสริมบทบาทและส่วนร่วมของสตรีในการฟื้นฟูภูมิภาคอาเซียนอย่างรอบด้าน ยั่งยืนและการสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนในระยะต่อไป อาเซียนกำหนดให้สตรีเข้าร่วมกระบวนการฟื้นฟูในภูมิภาค ส่งเสริมบทบาทเป็นผู้นำและเสียพูดของสตรีในการวางนโยบาย อีกทั้งเพิ่มสิทธิด้านเศรษฐกิจ ระบุความเสมอภาคทางเพศและการมอบอำนาจให้แก่สตรีให้เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆในการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนหลังปี2025./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด