อาเซียนแสวงหาแนวทางใหม่ให้แก่การพัฒนาชนบทและการแก้ปัญหาความยากจน

(VOVworld) - ประเทศสมาชิกอาเซียนยังคงถือ การแก้ปัญหาความยากจนและพัฒนาชนบทคือเนื้อหาหลักของยุทธศาสตร์ที่ได้รับความ สนใจเป็นอันดับต้นๆเพื่อสร้างพื้นฐานที่มั่นคงให้แก่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ของอาเซียนในปีต่อๆไป ดังนั้น การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทและการแก้ปัญหาความยาก จนหรือ AMRDPE ต่างเสนอมาตรการและกลไกร่วมมือใหม่ๆเพื่อผลักดันการแก้ปัญหาความยากจน โดยเฉพาะในการประชุมAMRDPE ครั้งที่ 9 ที่มีขึ้น ณ กรุงเวียงจันทน์เมื่อเร็วๆนี้

(
VOVworld) - ประเทศสมาชิกอาเซียนยังคงถือการแก้ปัญหาความยากจนและพัฒนาชนบทคือเนื้อหาหลักของยุทธศาสตร์ที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆเพื่อสร้างพื้นฐานที่มั่นคงให้แก่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของอาเซียนในปีต่อๆไป ดังนั้น การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทและการแก้ปัญหาความยากจนหรือ AMRDPE ต่างเสนอมาตรการและกลไกร่วมมือใหม่ๆเพื่อผลักดันการแก้ปัญหาความยากจน โดยเฉพาะในการประชุมAMRDPE ครั้งที่ 9 ที่มีขึ้น ณ กรุงเวียงจันทน์เมื่อเร็วๆนี้ กลไก ร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนและประชาชนได้ถือเป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนาชนบทและแก้ปัญหาความยากจน

อาเซียนแสวงหาแนวทางใหม่ให้แก่การพัฒนาชนบทและการแก้ปัญหาความยากจน - ảnh 1
คณะผู้แทนเวียดนามแนะนำรูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน

ด้วยเป้าหมายเน้นการมีส่วนร่วมของสังคมและหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน หัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศสมาชิกอาเซียนที่เข้าร่วมการประชุม AMRDPE ครั้งที่ 9 ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของประเทศตนในการพัฒนาชนบทและแก้ปัญหาความยากจน
ในเวลาที่ผ่านมา ประเทศสมาชิกอาเซียนได้บรรลุผลงานที่น่ายินดีในการแก้ปัญหาความยากจน นาย เลเลืองมิงห์ เลขาธิการอาเซียนได้เผยว่า การขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนและประชาชนคือเนื้อหาหลักของวิสัยทัศน์อาเซียนหลังปี 2025 ซึ่งจะช่วยให้อาเซียนเสร็จสิ้นเป้าหมายลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกและเพื่อปฏิบัติสิ่งนี้ ต้องมีการเข้าร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม “เพื่อลดช่องว่างการพัฒนา การแก้ปัญหาความยากจนคือหนึ่งในเนื้อหาหลักของอาเซียนซึ่งในทศวรรษที่ผ่านมา สามารถลดอัตราคนจนในประเทศสมาชิกได้ถึงกว่า 4 เท่าหรือคิดเป็นกว่าร้อยละ 400 ซึ่งเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ของนโยบายพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์หุ้นส่วนระหว่างทุกภาคส่วนในสังคม ผลงานที่ได้บรรลุไม่เพียงแต่มีส่วนร่วมจากการนำของรัฐบาลเท่านั้น หากยังมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมอีกด้วย เช่น ภาคเอกชน องค์การ NGO สำนักงานพัฒนาและการช่วยเหลือของหุ้นส่วนอาเซียน องค์การชำนัญต่างๆของสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศที่ปฏิบัติงานในด้านนี้”
การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทและแก้ปัญหาความยากจนหรือ AMRDPE ครั้งแรกได้มีขึ้นเมื่อปี 1997 และได้อนุมัติกรอบแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการพัฒนาชนบท การแก้ปัญหาความยากจนและแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับเครือข่ายความมั่นคงทางสังคมในอาเซียน

อาเซียนแสวงหาแนวทางใหม่ให้แก่การพัฒนาชนบทและการแก้ปัญหาความยากจน - ảnh 2
ภาพการประชุม

ทุกๆ 2 ปี ประเทศสมาชิกอาเซียนได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับแผนการใหม่ เสนอกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม จัดทำระเบียบการให้แก่การพัฒนาชนบทและแก้ปัญหาความยากจน ในการประชุม AMRDPE ครั้งที่ 7 เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2011 ณ ประเทศบรูไน ประเทศสมาชิกอาเซียนได้อนุมัติแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทและแก้ปัญหาความยากจนในช่วงปี 2011-2015 ส่วนในการประชุมAMRDPE ครั้งที่ 8 ณ  เมือง ย๊อกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2013 ประเทศสมาชิกอาเซียนได้กำหนดมาตรการให้แก่การพัฒนาชนบทและแก้ปัญหาความยากจนคือ “ผลักดันการมอบสิทธิให้แก่ชุมชนเพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นและยั่งยืน” จากการมีแนวทางที่ถูกต้องและมาตรการที่เหมาะสมทำให้อัตราคนจนในประเทศสมาชิกอาเซียนในทศวรรษที่ผ่านมาได้ลดลงเป็นอย่างมาก คือประชากร1ใน2คนที่มีรายได้ไม่ถึง 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อวันได้ลดลงเหลือ 1 ใน 8 ส่วนในด้านการพัฒนาการเกษตรและชนบทบางประเทศได้มีนโยบายที่มีประสิทธิภาพเพื่อผลักดันการเข้าร่วมของสังคมต่อด้านนี้และนี่ก็คือปัจจัยสำคัญเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนในอาเซียน รวมทั้งในแต่ละประเทศ ในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหานี้ นาย Katiman Kartowinomo หัวหน้า SOM เกี่ยวกับการพัฒนาชนบทและแก้ปัญหาความยากจนอินโดนีเซียได้เผยว่า“ที่อินโดนีเซีย พวกเราเห็นว่า ภาคชนบทเป็นพื้นฐานของการพัฒนา ดังนั้นพวกเราจึงหาทางให้ภาคนี้มีสิทธิมากขึ้น ตลอดจนเน้นสนับสนุนแหล่งพลังมากขึ้นเพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถวางแผนการและบริหารแหล่งทรัพยากรของตนซึ่งช่วยให้พวกเขาได้รับผลประโยชน์ที่ต้องการในอนาคต”
นอกจากการวางระเบียบการใหม่ให้แก่การพัฒนาชนบทและแก้ปัญหาความยากจนแล้ว ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทและแก้ปัญหาความยากจนปี 2015 ยังอนุมัติแผนปฏิบัติการใหม่ในช่วงปี 2016-2020 โดยเน้น 6 ด้านที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจชนบท ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนและประชาชน เนื้อหานี้จะถูกยื่นเสนอต่อที่ประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 27 เพื่ออนุมัติเพื่อมีส่วนร่วมสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนในปลายปีนี้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด