เกาะหมากกับ “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน”

(VOVWORLD) - ปิดประตูแล้วปิดไฟหลังเวลา 20.00 น ไม่มีไนท์คลับหรือบาร์คาราโอเกะและไม่มีร้านสะดวกซื้อ วิธีการเดินทางหลักๆ คือ เดินเท้า ขี่จักรยาน หรือใช้ยานยนต์ไฟฟ้า สิ่งเหล่านี้กำลังทำให้เกาะหมาก ในจังหวัดตราดทางภาคตะวันออกของประเทศไทยดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศจำนวนมากที่มาสัมผัสบรรยากาศการใช้ชีวิตแบบ "สโลว์ไลฟ์" ท่ามกลางธรรมชาติ ความสำเร็จในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์และการรักษาธรรมชาติมาจากความพยายามร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐและชาวบ้านทุกคนในพื้นที่ในการทำ “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน”

 

เกาะหมากกับ “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” - ảnh 1 ปัจจุบัน บนเกาะหมากมีครอบครัวที่กำลังอาศัยอยู่เพียง 500 กว่าครัวเรือน โดยเรือด่วนเป็นพาหนะเดียวที่พานักท่องเที่ยวไปยังเกาะหมาก
 
 

เกาะหมาก อยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 38 กิโลเมตร เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสามของจังหวัดตราด รองจากเกาะช้างและเกาะกูด ที่นี่ไม่เพียงแค่มีชื่อเสียงในด้านความสวยงามตามธรรมชาติเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน เกาะหมากสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนด้วยวิถีชีวิตสีเขียวและความพยายามในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การอนุรักษ์ธรรมชาติควบคู่กับการสร้างรายได้อย่างยั่งยืนและมั่นคงจากการท่องเที่ยวให้แก่คนรุ่นหลัง

นางสาวภาณุพรรณ จันทรปัญญา รองผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตราด ได้เผยว่า ด้วยจำนวนรีสอร์ทและโรงแรมประมาณ 40 แห่ง เกาะหมากไม่ได้ตั้งเป้าที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมาก แต่มุ่งเน้นกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพที่พร้อมปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อปฏิบัติของหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นโดยคนในพื้นที่เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังเกาะหมากสามารถเข้าร่วมหลักสูตรเทคนิคการย้อมผ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คอร์สเรียนทำอาหารออร์แกนิกในฟาร์มต่างๆ สูดดมอากาศอันบริสุทธิ์ขณะที่กำลังปั่นจักรยานหรือเดินเล่นรอบเกาะ ลิ้มลองอาหารท้องถิ่น และสมัครเข้าร่วมกิจกรรมดำน้ำลึก ซึ่งตัวเลขต่างๆ ดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า กลุ่มผู้มาเยือนเกาะหมากนั้น ได้กลับมาที่นี่ครั้งแล้วครั้งเล่าในช่วงหยุดยาว

เกาะหมากกับ “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” - ảnh 2งานเวิร์คช็อปเกี่ยวกับการย้อมผ้าด้วยวัสดุอินทรีย์สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเกาะหมาก

เกาะหมากได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลไทยเพื่อพัฒนาเป็นท้องถิ่นนำร่องในการดำเนินนโยบายการท่องเที่ยวสีเขียวตามโมเดลเศรษฐกิจ ชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว หรือ บีซีจี โดยกำหนดแนวทางการพัฒนาเกาะแห่งนี้ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่เพียงแค่สร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้กับชาวบ้านเท่านั้น แต่ยังคงสามารถส่งเสริมรูปแบบธรรมาภิบาลที่ดี รวมถึงคำมั่นสัญญาที่จะลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในทุกกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวให้ได้มากที่สุด ดร. ชุมพล มุสิกานนท์ รองผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน DASTA หรือ อพท. ของรัฐบาลไทย ได้มีการอธิบายถึงทางเลือกนี้ ว่า

ผมคิดว่า หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ ที่เกาะหมากได้มีการจัดทำ กฎบัตรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ขึ้นมาโดยชาวบ้านที่นี่ ซึ่งถือเป็นกุญแจอันสำคัญที่ค้ำประกันการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และมีความรับผิดชอบของชาวบ้านสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวบนเกาะในทุกด้าน

เกาะหมากกับ “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” - ảnh 3นางสาวภาณุพรรณ จันทรปัญญา (กลาง) รองผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตราด แบ่งปันข้อมูลในงานสัมมนาด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่เกาะหมาก 

นางพิริยะ สุวัชชานนท์ ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมากและเป็นชาวเกาะรุ่นที่ 4 ได้เผยว่า เธอรู้สึกภูมิใจที่บรรพบุรุษของเธอเป็นชาวบ้านกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบนเกาะหมากเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว โดยการทำทุกอย่างนั้นล้วนมุ่งหวังที่จะอนุรักษ์เกาะหมากให้เป็นจุดหมายปลายทางสีเขียวตลอดไปเหมือนสมัยที่บรรพบุรุษของพวกเราได้เดินทางมาสร้างเนื้อสร้างตัวที่นี่และพยายามอนุรักษ์ไว้ให้แก่คนรุ่นหลัง

สิ่งต่างๆ อยู่บนเกาะกว่าร้อยละ 90 เป็นของเอกชนและได้รับการดำเนินการโดยภาคเอกชน ซึ่งครอบครัวหลายครอบครัวที่นี่ต่างดูแลรักษาผืนป่ายางพาราและมะพร้าวตามแนวทางออร์แกนิกอันมีส่วนร่วมสร้างบรรยากาศสีเขียวและออกซิเจนให้กับเกาะแห่งนี้ เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมาที่นี่ก็สามารถเดินเข้าไปในป่าลึกๆ ได้อย่างสบาย ส่วนทางการท้องถิ่นจะค้ำประกันความปลอดภัยของผู้มาเยือนตลอดเวลา

เกาะหมากกับ “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” - ảnh 4ทีมจิตอาสาจัดเก็บขยะ Trash Hero

นาง Rong Rong Zhu ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรกำจัดขยะบนเกาะหมาก Trash Hero ได้เผยว่า เธอและเพื่อนๆ รักเกาะหมากตั้งแต่ครั้งแรกที่มาเยือนและอยากให้พื้นที่เกาะแห่งนี้สวยงามตลอดไป โดย Trash Hero เพิ่มจำนวนถังขยะตามชายหาด จัดกิจกรรมทำความสะอาดบนเกาะเป็นประจำ ด้วยการมีส่วนร่วมของเหล่าอาสาสมัครและนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเกาะหมาก ในฐานะเป็นพลเมืองชาวสหรัฐอเมริกัน นาง Zhu ใช้เวลามากถึงแปดเดือนต่อปีบนเกาะหมากเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมกำจัดขยะบนเกาะอย่างแข็งขัน

พวกเรามีความเชื่อมั่นว่า Trash Hero สามารถเผยแพร่ข้อความเกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการศึกษา ถ้าหากพวกเราสามารถพาเด็กๆ มาเข้าร่วมแคมเปญกำจัดขยะบนเกาะ เพื่อให้พวกเขาได้เห็นกับตาว่า ชายหาดเมื่อสกปรกนั้นจะดูแย่ถึงขนาดไหนและขยะพลาสติกจะสร้างความเสียหายต่อผืนดินและทะเลอย่างไร พวกเขาจะมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยลดการใช้ถุงพลาสติกและขวดพลาสติกได้มากขึ้นในอนาคต สำหรับพวกเราก็หวังเป็นอย่างยิ่วว่า จะสามารถประสานงานร่วมกับ DASTA ททท. และทางการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำเด็กนักเรียนเข้าร่วมโครงการ Trash Hero ต่างๆ ของพวกเราบนเกาะหมาก

เกาะหมากได้รับการยกย่องให้อยู่อันดับ 2 ในรายชื่อจุดหมายปลายทางแห่งสีเขียวจากงานการท่องเที่ยวนานาชาติเบอร์ลินปี 2023 อีกทั้งยังได้รับเลือกเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางสีเขียวชั้นนำของโลก 100 แห่ง พร้อมเป็นต้นแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในไทยจากองค์กรด้านการรับรองที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยรัฐบาลไทยกำลังเร่งส่งเสริมให้เกาะหมากบรรลุมาตรฐานต่างๆ ด้านการท่องเที่ยวระดับโลกภายในปี 2027 
  
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด