เยือนเขตเทวสถานปรัมบานัน

(VOVWorld) – เมื่อเดินทางไปเยือนเมืองยอกยากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นศูนย์กลางวรรณศิลป์และความเชื่อของเกาะชวา นักท่องเที่ยวต้องไม่พลาดโอกาสไปเยือนโบราณสถานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมต่างๆ รวมทั้งเขตเทวสถานปรัมบานันซึ่งเป็นศาสนสถานฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมโลก...

(VOVWorld) – เมื่อเดินทางไปเยือนเมืองยอกยากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นศูนย์กลางวรรณศิลป์และความเชื่อของเกาะชวา นักท่องเที่ยวต้องไม่พลาดโอกาสไปเยือนโบราณสถานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมต่างๆ รวมทั้งเขตเทวสถานปรัมบานันซึ่งเป็นศาสนสถานฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมโลกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกเมื่อปี๑๙๙๑ แม้ว่า แผ่นดินไหวได้ทำให้เขตเทวสถานแห่งนี้เสียหายหนัก แต่จากคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม ปรัมบานันยังคงเป็นโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ที่รู้จักกันดีในหมู่นักท่องเที่ยวจำนวนมาก

เยือนเขตเทวสถานปรัมบานัน - ảnh 1
เขตเทวสถานปรัมบานัน(Photo:Wikipedia )

เขตเทวสถานปรัมบานันตั้งอยู่ในสวนสาธารณะปรัมบานันที่กว้างใหญ่ ห่างจากใจกลางเมืองยอกยากาตาร์ไปทางทิศตะวันออก๑๘กิโลเมตร ความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมของปรัมบานันคือปรางค์และภาพแกะสลักนูนตามกำแพงที่ปราณีตสวยงามโดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับบรรดาเทพเจ้าหรือเรื่องรามายณะและตำนานอื่นๆ
ปรัมบานันถูกสร้างขึ้นด้วยหินในระหว่างศตวรรษที่๘ถึงศตวรรษที่๑๐ มีปรางค์ประธาน๘หลังและรายรอบด้วยปรางค์บริวาร๒๔๐หลัง  เมื่อศตวรรษที่๑๖ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ได้สร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับปรัมบานันและเหลือปรางค์ที่ไม่ถล่มเพียง๑๐หลังเท่านั้น หินสีดำอยู่กระจัดกระจายบนเส้นทางเข้าเทวสถานซึ่งเป็นร่องรอยที่เหลือไว้หลังแผ่นดินไหวดังกล่าว  หลังจากที่ถูกหลงลืมมาหลายศตวรรษ ปี๑๙๓๐ เขตโบราณสถานนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ภายใต้การช่วยเหลือของประชาคมระหว่างประเทศ  เมื่อปี๒๐๐๖ แผ่นดินไหว๖.๓ริกเตอได้สร้างความเสียหายให้แก่ปรางค์ที่เหลืออีกครั้งโดยหลังแผ่นดินไหวนี้ได้มีโครงการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ภายหลัง๖ปี ปรางค์หลัก๓หลังคือปรางค์พระพรหม  ศิวะและพระวิษณุได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ และปรางค์ศิวะซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางเป็นวิหารที่สูงที่สุดของศาสนสถานแห่งนี้ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม

แม้อากาศจะร้อนถึง๓๖องค์ศาเซลเซียส หน้าแดง เหงื่อไหลไคลย้อยแต่บรรดานักท่องเที่ยวชาวเอเชียและยุโรปยังคงเยี่ยมชมเทวสถานแห่งนี้อย่างหลงไหล นายPeter Salt นักท่องเที่ยวชาวเนเธอแลนด์กล่าวว่า“ปรัมบานันเป็นโบราณสถานที่สวยงาม มีพื้นที่กว้างใหญ่และเงียบสงบ ผมได้อ่านหนังสือ หนังสือพิมพ์และฟังวิทยุเกี่ยวกับปรัมบานันมานานแล้ว แต่มาที่นี่ ผมจึงได้ประจักษ์กับตาตนเองถึงความเสียหายอย่างหนักจากแผ่นดินไหว ผมรู้สึกเสียดายมากและหวังว่า จากความพยายามของรัฐบาลอินโดนีเซียและประชาชน ปรัมบานันจะได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ให้มีความสมบูรณ์”
บรรดานักท่องเที่ยวที่กำลังเข้าคิวรอเข้าชมวิหารต่างรู้สึกมีความแปลกใจที่ต้องใส่หมวกกันน็อค นายPufekเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในปรางค์ศิวะเผยว่า“ปรางค์ศิวะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม เมื่อวันที่๗ตุลาคม ส่วนปรางค์บริวารโดยรอบ กำลังอยู่ในกระบวนการบูรณะปฏิสังขรณ์ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย นักท่องเที่ยวที่เข้าชมวิหารต้องใส่หมวกกันน็อค อีกทั้งก็เป็นการควบคุมจำนวนผู้เข้าชมซึ่งแต่ละรอบจำกัดเพียง๕๐คนเท่านั้น”
สิ่งที่น่ากล่าวคือ นักท่องเที่ยวที่เข้าชมปรัมบานันจะได้รับแจกผ้าบาติกและได้รับการแนะนำวิธีการใส่โสร่ง คุณHồng Phước นักศึกษาเวียดนามที่กำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยUGMยอกยากาตาร์ที่ใส่โสร่งสีขาวเหลืองกำลังช่วยเพื่อนมิตรชาวฟิลิปปินส์ใส่โสร่งกล่าวว่า“ดิฉันรู้สึกชอบใจมาก เมื่อเห็นว่า นักท่องเที่ยวทุกคนต้องใส่โสร่งเมื่อเข้าชมวิหารซึ่งเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของประชาชนอินโดนีเซียที่ให้ความเคารพบรรพบุรุษ ”
นอกจากชมปรัมบานันแล้ว ในตอนค่ำ นักท่องเที่ยวยังจะได้ชมการฟ้อนรำโบราณของชาววังบนเกาะชวาซึ่งในคืนวันขึ้น๑๕ค่ำ พระจัทร์เต็มดวงจะมีเวทีแสดงนับพันแห่งรอบเทวสถาน
สาวสวยยอกยากาตาร์ในชุดพื้นเมือง ตาคม ยิ้มแย้มแจ่มใส รำอ่อนช้อยสวยงามดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก  ความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมของเทวสถานปรัมบานันและการฟ้อนรำโบราณของชาววังบนเกาะชวาได้สร้างความดึงดูดใจให้แก่สถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่อาจขาดได้ในแพ็คเกจุทัวร์เมืองยอกยากาตาร์ของอินโดนีเซีย./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด