เวียดนามและไทยร่วมมือปฏิบัติโครงการชุมชนต้นแบบ SEP ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

(VOVWORLD) - ในตลอด 70ปีที่ผ่านมา โครงการชุมชนต้นแบบ SEP ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้รับการดำเนินการและพัฒนาจนประสบความสำเร็จในรูปแบบต่างๆในประเทศไทย ส่วนที่เวียดนาม กระทรวงการต่างประเทศไทยได้ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย จัดคณะผู้เชี่ยวชาญไปสำรวจและสนับสนุนการปฏิบัติโครงการนี้ที่หมู่บ้านด่งบ่องและหมู่บ้านด่งเสี่ยนในตำบลเอียนหลาก อำเภอฟู้เลือง จังหวัดท้ายเงวียน นี่เป็นโครงการชุมชนต้นแบบ SEP ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโครงการแรกที่ได้รับการปฏิบัติในเวียดนามภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลไทย
เวียดนามและไทยร่วมมือปฏิบัติโครงการชุมชนต้นแบบ SEP ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - ảnh 1คณะผู้แทนจังหวัดท้ายเงวียนถ่ายภาพร่วมกับนางสาวมรกต เจนมธุกร อุปทูตไทย ณ กรุงฮานอย เจ้าหน้าที่ของสถานทูตและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. สำนักงานโฮจิมินห์
 

เมื่อต้นปี 2020 สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอยได้ร่วมกับสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ หรือ TICA ในการส่งผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 3 คนมาสำรวจศักยภาพการดำเนินโครงการที่ หมู่บ้านด่งบ่องและหมู่บ้านด่งเสี่ยนในตำบลเอียนหลาก อำเภอฟู้เลือง จังหวัดท้ายเงวียน ถึงแม้การลงพื้นที่ศึกษาดูงานของคณะฯได้รับผลกระทบจากแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องที่จะลงทุนในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรในหมู่บ้านด่งบ่องและการท่องเที่ยวชุมชนในหมู่บ้านด่งเสี่ยน โดยจากการสำรวจและวิจัยของผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้บวกกับการรวบรวมความคิดเห็นของชาวบ้าน ทางฝ่ายไทยได้ตัดสินใจให้หมู่บ้านด่งบ่องพัฒนาอาชีพปลูกชาตามมาตรฐาน VIETGAP ส่วนที่หมู่บ้านด่งเสี่ยน เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวบ้าน โดยเฉพาะมรดกวัฒนธรรมนามธรรมระดับชาติคืองานขอพรให้การเก็บเกี่ยวได้ผลดีและการแสดงรำตั๊กสิ่งของชนเผ่าสานใจ เป็นพื้นฐานให้แก่การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนและสอดคล้องกับการปฏิบัติโครงการชุมชนต้นแบบ SEP ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นาย เหงวียนวันหงอก รองผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดท้ายเงวียนได้เผยว่า“จังหวัดท้ายเงวียนมีศักยภาพมากในการประยุกต์ใช้รูปแบบการท่องเที่ยวของไทย โดยนักท่องเที่ยวท้ายเงวียนที่เคยไปเที่ยวประเทศไทยก็อยากจะสร้างสรรค์รูปแบบการท่องเที่ยวเหมือนในประเทศไทยที่ใช้ประโยชน์จากศักยภาพและจุดแข็งด้านการท่องเที่ยวของท้องถิ่น ซึ่งพรรคสาขา สภาประชาชนและคณะกรรมการประชาชนจังหวัดท้านเงวียนให้ความสนใจและตั้งความหวังเกี่ยวกับการดึงดูดการลงทุนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว โดยได้วางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดท้ายเงวียนช่วงปี 2021-2025 และวิสัยทัศน์จนถึงปี2030”

จังหวัดท้ายเงวียนอยู่ห่างจากกรุงฮานอย 80กิโลเมตร อยู่ห่างจากสนามบินนานาชาติโหน่ยบ่าย ประมาณ 50 กิโลเมตร ระบบคมนาคมมีทั้งรถไฟ ทางบกและทางน้ำ โดยเฉพาะถนนไฮเวย์ ฮานอย-ท้ายเงวียน ปัจจุบัน จังหวัดท้ายเงวียนมี 46ชนเผ่าอาศัย โดยมี 8ชนเผ่ามีประชากรมากที่สุด ส่วนสำหรับหมู่บ้านด่งบ่องและหมู่บ้านด่งเสี่ยนในอำเภอฟู้เลืองมีศักยภาพด้านทรัพยากรและเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวบ้าน ซึ่งได้รับเลือกให้ดำเนินโครงการชุมชนต้นแบบ SEP ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ก่อนหน้านั้น เมื่อปี2019 คณะกรรมการประชาชนอำเภอฟู้เลืองได้ส่งเจ้าหน้าที่ผู้บริหารหมู่บ้านและประชาชนของหมู่บ้านด่งบ่องและด่งเสี่ยนไปศึกษาโครงการชุมชนต้นแบบ SEP ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาผลิตภัณฑ์เฉพาะถิ่น กรท่องเที่ยวชุมชน การพัฒนาการเกษตรและป่าไม้ที่ประเทศไทย นาย เลิมเหวียดเฟือง รองปลัดสำนักสภาประชาชนและคณะกรรมการประชาชนอำเภอฟู้เลือง ซึ่งเป็นสมาชิกคณะผู้แทนจังหวัดท้ายเงวียนที่ไปศึกษาโครงการ SEPที่ประเทศไทยภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ หรือ TICA ได้เผยว่า“ผมได้ไปศึกษาโครงการชุมชนต้นแบบ SEP ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นเวลา 20วัน นอกจากนี้ ยังได้ไปศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนและการพัฒนาเศรษฐกิจในหมู่บ้านต่างๆ โดยคนไทยสามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งทางวัฒนธรรมและทรัพยากรตามความปรารถนาของชาวบ้านในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดีเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”

เวียดนามและไทยร่วมมือปฏิบัติโครงการชุมชนต้นแบบ SEP ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - ảnh 2ภาพการสัมมนาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวชุมชนที่จัดโดยสถานทูตไทย ณ กรุงฮานอย

สำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน นางรติวัณณ บุญประคอง ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. สำนักงานโฮจิมินห์ ได้ยกตัวอย่างว่า โครงการในพระราชดำริดอยตุง ต้องใช้เวลา 30ปีในการปฏิบัติ ดังนั้น การพัฒนาท่องเที่ยวชุมชนจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปีถึงจะเป็นที่รู้จักเพราะจะต้องมีการเรียนรู้เพื่อเอาไปปรับใช้ในการพัฒนาให้ดีที่สุด โดยต้องเริ่มจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศและตามด้วยการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ“สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการร่วมการวางแผน บริหารจัดการท่องเที่ยวของตัวเอง เอาความคิดเห็นของชุมชนเป็นตัวตั้งต้นเพราะอย่างนั้น หมายความว่า ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็คือว่า เป็นการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้ทำเพียงแค่ 1ปี 2 ปีแล้วจบไปเพราะถ้าชุมชนจะเข้าไปมีส่วนร่วม เขาจะเห็นความสำคัญและรู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของและเขามีรายได้ สามารถเอาไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของเขาได้เมื่อเขาเห็นความสำคัญ เขาก็จะเป็นคนลงมือทำ เป็นคนพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ ภาครัฐเป็นแค่ผู้สนับสนุน หรือ เป็น promotor หรือ อำนวยความสะดวกเท่านั้น ดังนั้น ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นต้องเป็นความยั่งยืนที่เกิดขึ้นจากชุมชน ต้องเข้าเป็นผู้บริหารจัดการในตัวของชุมชนเอง”

ในอนาคต ทางสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอยจะประสานงานในการเปิดการฝึกอบรมผ่านทางออนไลน์หรือส่งคณะผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่หลังวิกฤตโควิดหรือในช่วงที่สามารถเดินทางได้สะดวกมากขึ้น ส่วนทางฝ่ายททท.มีแผนเชิญคณะผู้แทนจังหวัดท้ายเหงวียนไปศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนที่ประเทศไทยและเชิญคณะผู้สื่อข่าวไทยมาประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดท้ายเงวียน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด