โอกาสการลงทุนในเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางเวียดนามสำหรับนักลงทุนไทย

(VOVWORLD) - ปัจจุบัน ไทยคือหนึ่งใน 10 หุ้นส่วนลงทุนรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม รวมยอดเงินลงทุนจดทะเบียนกว่า 8.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยเกือบ 500 โครงการ เมื่อกว่า 10 ปีก่อน ภาคเหนือและภาคใต้เวียดนามมักจะเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนไทย แต่เมื่อเร็วๆนี้ เขตริมฝั่งทะเลภาคกลางเวียดนามกำลังถือเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจและเต็มไปด้วยศักยภาพสำหรับนักลงทุนจากประเทศไทย
โอกาสการลงทุนในเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางเวียดนามสำหรับนักลงทุนไทย - ảnh 1จังหวัดกว๋างจิตั้งอยู่ในเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางเวียดนาม 

บริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกอุตสาหกรรม ภาชนะรับประทานอาหารและบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องดื่มได้ประกอบธุรกิจในนครโฮจิมินห์มาเป็นเวลา 19 ปี เมื่อ 3 ปีก่อน คณะผู้บริหารของบริษัทฯได้เปิดสาขาที่กรุงฮานอยและในเร็วๆนี้ ทางบริษัทฯจะพิจารณาขยายการลงทุนในเขตริมฝั่งทะเลในภาคกลางเวียดนาม ในการกล่าวถึงการตัดสินใจนี้ นาย Rakesh Singh ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาบริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์ได้เผยว่า

“หลังจากลงทุนในกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ ขณะนี้ พวกเราเริ่มแสวงหาโอกาสการลงทุนในภาคกลางเวียดนาม เนื่องจากระยะทางจากเขตชายแดนของเวียดนามไปยังประเทศไทยใกล้มาก ปัจจุบันได้มีเส้นทางบกที่เชื่อมทั้งสองประเทศ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่การขนส่งสินค้า ดังนั้น ถ้าหากพวกเราลงทุนในภาคกลางเวียดนามก็จะช่วยประหยัดค่าขนส่งจากนครโฮจิมินห์ไปยังภาคกลาง หรือจากกรุงฮานอยไปยังภาคกลาง นอกจากนั้น ขณะนี้ ภาคกลางกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ที่นี่ก็มีท่าเรือหลายแห่ง โครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยและแหล่งบุคลากรที่อุดมสมบูรณ์ ดังนั้นพวกเราตั้งความหวังต่อการลงทุนในภาคกลางเวียดนาม พวกเรากำลังพิจารณาว่า ควรลงทุนในจังหวัดไหนในภาคกลาง”

โอกาสการลงทุนในเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางเวียดนามสำหรับนักลงทุนไทย - ảnh 2คณะกรรมการประชาชนจังหวัดเถื่อเทียนเว้และบริษัทบ้านปูของไทยลงนามบันทึกช่วยจำเพื่อความร่วมมือก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเกือบ 1,200 เมกะวัตต์   

ขณะนี้ เขตริมฝั่งทะเลภาคกลาง ตั้งแต่จังหวัดเถื่อเทียนเว้ไปจนถึงจังหวัดบิ่งถ่วนมี 9 จังหวัดและนคร มีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมเพรียง โดยมีเขตเศรษฐกิจ 6 แห่ง เขตเทคโนโลยีขั้นสูง 1 แห่งและนิคมอุตสาหกรรม 37 แห่งซึ่งมีพื้นที่ให้เช่ามากกว่าร้อยละ 42  สนามบินนานาชาติ 4 แห่ง ท่าเรือ 13 แห่ง ทางหลวง 14 สาย รถไฟจากเหนือจรดใต้วิ่งผ่านท้องถิ่นต่างๆในภูมิภาคอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งค้ำประกันการเชื่อมโยงด้านการคมนาคมระหว่างจังหวัดต่างๆในเขต เขตริมฝั่งทะเลภาคกลางได้ดึงดูดโครงการลงทุนต่างประเทศกว่า 1 พันโครงการ รวมยอดเงินทุนจดทะเบียนเกือบ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการส่งออกบรรลุเกือบ 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  แต่จำนวนโครงการลงทุนของนักลงทุนไทยในภูมิภาคนี้ยังคงมีไม่มาก ปัจจุบัน จากการได้รับความสนใจจากรัฐบาลเวียดนามทั้งด้านนโยบายและแหล่งเงินลงทุน โดยเฉพาะหลังจากมีการเปิดแนวเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกหรือ EWEC เมื่อปลายเดือนธันวาคมปี 2006 การสำแดงสินค้าต่อศุลากรของประเทศในแนว EWEC ได้เป็นไปอย่างสะดวก ผู้บริหารของท้องถิ่นในภูมิภาคนี้ก็ให้ความสนใจ อำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในท้องถิ่น นาย เหงียนก๊วกต๊วน รองผู้อำนวยการสำนักงานวางแผนและการลงทุนจังหวัดกว๋างจิได้เผยว่า

“ก่อนอื่น พวกเราลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อาจกล่าวได้ว่า การวางแผนเขตริมฝั่งทะเลค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว นอกจากนั้น พวกเราได้ลงทุนในเส้นทางริมฝั่งทะเลจากอ่าวไทยไปยังจังหวัดกว๋างจิ สะพานที่เชื่อมกับเกื๋อเวียดและเกื๋อตุ่งได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว จากเขตที่มีที่ดินรกร้างวางเปล่าได้พัฒนาเป็นตัวเมืองที่คึกคัก ตอบสนองความต้องการของนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนก่อสร้างรีสอร์ท พวกเราได้วางแผนเกี่ยวกับท่าเรือหมีถุย และรัฐบาลได้ระบุท่าเรือนี้ในการวางแผนกลุ่มท่าเรือในภาคกลางที่สามารถรองรับเรือที่มีน้ำหนัก 1 แสนตัน และสินค้าเกือบ 30 ล้านตันต่อปี พวกเรากำหนดว่า ปริมาณสินค้าที่ส่งผ่านท่าเรือนี้จะเน้นดึงดูดแหล่งสินค้าจากภาคกลางและภาคใต้ประเทศลาวและภาคอีสานของประเทศไทย”

มีสัญญาณที่น่ายินดีคือ ในรอบไม่กี่ปีมานี้ ได้มีนักลงทุนรายใหญ่ของไทยเข้ามาลงทุนในเขตริมฝั่งทะเลในภาคกลางเวียดนาม โดยเมื่อเดือนมีนาคมปี 2017 กลุ่มบริษัท SCG ของไทยได้ลงทุน 156 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อซื้อบริษัทผลิตปูนซีเมนต์ของ Kusto Group ในจังหวัดกว๋างบิ่งห์ ในเวลาเดียวกัน คณะกรรมการประชาชนจังหวัดเถื่อเทียนเว้และบริษัทบ้านปูของไทยได้ลงนามบันทึกช่วยจำเพื่อความร่วมมือก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเกือบ 1,200 เมกะวัตต์  นอกจากนั้น เครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี และบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมบางแห่งของไทย เช่นบริษัท CAMEL และบริษัท SUPER HORSE  ก็กำลังประกอบธุรกิจในเขตนี้ นาย โชคดี แก้วแสง รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI ได้แสดงความเห็นว่า เขตริมฝั่งทะเลภาคกลางเวียดนามคือภูมิภาคเชิงยุทธศาสตร์โดยมีโอกาสลงทุนมากมาย และขณะนี้กำลังได้รับความสนใจลงทุนจากรัฐเวียดนาม สถานประกอบการไทยควรใช้โอกาสลงทุนในเขตนี้เพื่อแข่งขันกับประเทศอื่น

“เศรษฐกิจเวียดนามพัฒนาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นสถานประกอบการไทยต่างประเมินว่า เวียดนามมีศักยภาพมากมายเพื่อลงทุน สถานประกอบการไทยเมื่อลงทุนในต่างประเทศต่างไม่อยากเสียโอกาสลงทุน โดยเฉพาะเมื่อเห็นถึงภาคกลางของเวียดนามที่ไม่อยู่ห่างไกลประเทศไทย มีสถานะทางภูมิศาสตร์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อให้สถานประกอบการไทยตั้งโรงงานผลิตเพื่อขายสินค้าในประเทศเวียดนามและนำไปส่งออก”

โอกาสการลงทุนในเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางเวียดนามสำหรับนักลงทุนไทย - ảnh 3เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทย เหงียนหายบั่ง 

ตามความเห็นของเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทย เหงียนหายบั่ง ปัจจุบัน ภาคกลางเวียดนามมีความได้เปรียบเกี่ยวกับการเชื่อมโยงด้านคมนาคมและโลจิสติกส์กับแนวเศรษฐกิจตะวันออกของไทย ดังนั้น สถานประกอบการไทยสามารถเข้าถึงการลงทุนในเขตนี้

“เวียดนามหวังว่า สถานประกอบการไทยจะมองเขตนี้เป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจในเวลาที่จะถึง ส่วนฝ่ายเวียดนามให้คำมั่นว่า จะสร้างบรรยากาศการลงทุนที่โปร่งใส เสมอภาคและสะดวก เวียดนามชื่นชมสถานประกอบการไทยที่เข้ามาลงทุนและประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืนและยาวนานในเวียดนาม”

ตามรายงาน จังหวัดและนครส่วนใหญ่ในเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางมีอัตราการขยายตัวกว่าร้อยละ 8.4 ต่อปีในช่วงปี 2011-2016 ซึ่งสูงกว่าอัตราการขยายตัวของประเทศ ที่ร้อยละ 5.9 ต่อปี ด้วยอัตราการขยายตัวอยู่ในระดับสูงบวกกับนโยบายให้สิทธิพิเศษแก่นักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งนักลงทุนไทย ในเวลาที่จะถึง ภูมิภาคนี้จะเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนจากประเทศไทยอย่างแน่นอน.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด