โอกาสจากข้อตกลง RCEP ในความเห็นของท่านเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย

(VOVWORLD) -RCEP หรือข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในทุกด้านในภูมิภาค มีสมาชิกประกอบด้วย 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนและ 5 ประเทศที่อาเซียนได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีคือ จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนปี 2020 และมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 2022 
โอกาสจากข้อตกลง RCEP ในความเห็นของท่านเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย  - ảnh 1นาย  นิกรเดช พลางกูร เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย ( สถานทูตไทย ณ กรุงฮานอย)

ในการให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์เวียดนามเมื่อเร็วๆนี้เกี่ยวกับโอกาสจากข้อตกลง RCEP นาย นิกรเดช พลางกูร เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย ได้เผยว่า นี่ถือเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นโอกาสใหญ่เพื่อให้เวียดนาม ไทยและบรรดาประเทศสมาชิกฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด -19

จากการมีจีดีพีถึง 2 หมื่น 4 พัน 6 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของจีดีพีโลก และมูลค่าการค้าคิดเป็นร้อยละ 27.1 ของโลก RCEP ได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจของหลายประเทศ  การลดภาษีนำเข้าและปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับแหล่งกำหนดสินค้าในข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน + 1 ฉบับต่างๆ ให้มีความสมบูรณ์ เช่น ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับจีนและข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น เป็นต้น RCEP ลดภาษีต่อสินค้าระหว่างสองฝ่ายถึงร้อยละ 90 ภายใน 20 ปีนับตั้งแต่วันที่ข้อตกลงมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ สำหรับโอกาสของ RCEP ต่อเวียดนาม ไทยและบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน นาย  นิกรเดช พลางกูร เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอยให้ข้อสังเกตว่า 

สินค้าการเกษตร เราก็ต้องไม่ลืมว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานของภูมิภาคเรา ประเทศเราเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นพื้นฐาน ดังนั้น RCEP จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ของไทย ของเวียดนาม ของประเทศลุ่มน้ำโขง แล้วก็ยังจะเป็นการเปิดประตูสู่การขยายสินค้าและบริการไปสู่ประเทศสมาชิกอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นจีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนแล้วก็ยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาคมทางเศรษฐกิจของอาเซียนอีกด้วย

นาย  นิกรเดช พลางกูร เผยว่าการที่ RCEP มีผลบังคับใช้คือโอกาสดีให้บรรดาประเทศสมาชิกส่งออกสินค้าเพราะว่า ในข้อตกลงฉบับนี้ ทุกประเทศสมาชิกจะได้รับผลประโยชน์จากการลดภาษีศุลกากร โดยเฉพาะสินค้าการเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าหลักในการส่งออกของบรรดาประเทศอาเซียน

ผมยกตัวอย่าง เมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมาได้มีการขนย้ายสินค้าเกษตรครั้งแรกจากไทยไปจีน คือ ไทย- เวียดนามแล้วก็เวียดนาม-จีน โดยสินค้าล็อตแรกที่ส่งก็เป็นทุเรียน 288 ตัน ถูกขนส่งด้วยรถจากไทยมาที่เวียดนามแล้วก็มาขึ้นรถไฟ ที่ด่านด่งดังในจังหวัดหลางเซินไปที่ด่านผิงเสียงที่มนฑลกวางสีช่วงของประเทศจีน อันนี้ก็เป็น ทางเลือกอีกทางเลือกหนึ่งแทนที่เราจะส่งสินค้าทางรถยนต์เท่านั้นก็ทำให้เรามีทางเลือกอีกทางหนึ่งที่สามารถส่งสินค้าเกษตรผ่านทางรถไฟได้ RCEP ให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีแน่นอน ชื่อเขาบอกอยู่แล้ว แต่แน่นอนสินค้าที่ได้ประโยชน์ก็คือสินค้าเกษตรเพราะว่าสิ่งที่ระบุใน RCEP ก็คือสินค้าที่เน่าเสียได้ง่ายจะได้รับการขนย้ายผ่านแดนได้ภายใน 48 ชั่วโมงให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีในภาพรวมอยู่แล้วแต่ทางด้านการเกษตรจะได้รับการอำนวยความสะดวกเป็นพิเศษเนื่องจากมันมีข้อกำหนดที่ว่าด้วยสินค้าที่เน่าเสียง่ายที่จะได้รับการตรวจให้ผ่านด่านได้ภายใน 6 ชั่วโมงในขณะที่สินค้าอื่นๆจะให้ผ่านด่านได้ภายใน 48 ชั่วโมง สินค้าปกติ ดังนั้นเราไทย-เวียดนามจะได้ประโยชน์จากความตกลงในเชิงการผ่านแดนที่รวดเร็วยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตร

นอกจากนี้ RCEP จะช่วยกระตุ้นอี – คอมเมิร์ซข้ามชาติและอำนวยความสะดวกให้สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SME สามารถเข้าร่วมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งสร้างบรรยากาศที่เอื้อประโยชน์ต่ออี –พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกให้แก่การแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามประเทศผ่านเครืองมือทางอิเล็กทรอนิกส์

ผมมองว่า SME ก็ควรจะต้องเร่งศึกษากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องถึง RCEP เพื่อให้ได้ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีได้อย่างเต็มที่ ถ้าเขาศึกษากฎระเบียบได้อย่างดี อย่างรอบด้าน เขาสามารถสร้าง Nisk market ที่ผู้ประกอบการใหญ่ๆอาจจะไปไม่ถึง ทั้งนี้เขาจะต้องศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค พฤติกรรมของตลาด เราก็ใช้ประโยชน์จากดิจิตอล economy หรือเศรษฐกิจบนพื้นฐานของดิจิตอล ซึ่งมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับอีคอมเมิร์ซหรือการค้าอิเล็กทรอนิกส์ ผมมองว่า supply chain ที่เกิดหลังจากที่RCEPมีผลบังคับใช้ จะเป็น supply chain ที่เกิดบน E-commerce เป็นหลัก จะมีความสำคัญมาก แล้วผู้ที่ได้ประโยชน์แทนที่จะมีบริษัทใหญ่อย่างเดียว แต่จะสร้างความเท่าเทียมให้กับพวกกลุ่ม SME ผู้เริ่มต้น ผู้ประกอบรายย่อย

ในการประเมินเกี่ยวกับความปรับตัวของเวียดนามหลังจากที่ RCEP มีผลบังคับใช้ นาย นิกรเดช พลางกูร กล่าวว่า

เป็นสิ่งที่น่าชื่นชม   1 เป็นที่ทราบถึงแล้วว่าในช่วงที่มีโรคระบาดเวียดนามสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วทันกาลและเป็นประเทศหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่ยังสามารถรักษาการเจริญเติบโตเป็นบวก GDP เป็นบวก อันนี้ก็มาจากความสามารถในหลายๆด้านของเวียดนาม ผมมองว่าเวียดนามปรับตัวได้อย่างทันเวลา อย่างเช่น การปรับตัวมาผลิต ppe ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นสิ่งที่ท้าทายแต่เวียดนามทำได้เร็ว นอกจากนี้เวียดนามก็มีความก้าวหน้าในแง่การทำความตกลงเขตการค้าเสรี ซึ่งในข้อตกลงทั้ง 13 ฉบับกับ 50 กว่าประเทศ ซึ่งอันนี้ทำให้เวียดนามมีความได้เปรียบเชิงโครงสร้างของความตกลง ดังนั้นผมเชื่อว่าในปีนี้ ซึ่งเราต่างมีความคาดหวังว่าโควิดจะจบ เวียดนามก็น่าจะมีความคล่องตัว ปรับตัวมาฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว”.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด