ยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเวียดนาม
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวเวียดนามในปี 2012 ได้บรรลุ 6 ล้านคน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในตลอด 10 ที่ผ่านมาก่อนที่จะย่างเข้าสู่ระยะใหม่นับตั้งแต่ปี 2012 รวมทั้งการเปิดตัวโลโก้และสโลแกนใหม่คือ “ Vietnam – timeless charm”หรือเวียดนามเสนห์ที่เป็นอมตะ
สโลแกนเวียดนามเสน่ห์ที่เป็นอมตะ พร้อมกับโลโก้ดอกบัวบานคือสัญลักษณ์ของโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติเวียดนามช่วงปี 2012 – 2015 โดยดอกบัว 5 กลีบและแต่ละกลีบมีสีที่แตกต่างกัน ซึ่งหมายถึงผลิตภัณฑ์ของหน่วยงานการท่องเที่ยวเวียดนาม เช่น การท่องเที่ยวหมู่เกาะและทะเล การท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยา การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย นาย Nguyen Van Tuan อธิบดีทบวงการท่องเที่ยวเวียดนามเผยว่า หลังจากที่ได้ประกาศใช้โลโก้และสโลแกนดังกล่าว หน่วยงานการท่องเที่ยวเวียดนามจะทำการประชาสัมพันธ์ต่อไปเพื่อให้นักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศรับทราบและเดินทางมาเที่ยวเวียดนามมากขึ้น ซึ่งถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญของหน่วยงานในปี 2012 และปีต่อๆไป “
ปี 2012 จะเต็มไปด้วยความท้าทายต่างๆ แต่ในเวลาที่ผ่านมาเวียดนามได้รับความสะดวกหลายอย่าง โดยเฉพาะการที่อ่าวฮาลองของเราได้เป็น 1ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ใหม่ของโลก ซึ่งจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนอ่าวฮาลองมากยิ่งขึ้นและถือเป็นโอกาสเพื่อให้พวกเราทำการประชาสัมพันธ์อ่าวฮาลองและแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆของเวียดนามเพื่อเพิ่มยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้ถึง 6.5 ล้านคนและนักท่องเที่ยวภายในประเทศ 32 ล้านคนและทำรายได้อยู่ที่ประมาณ 1 แสน 5 หมื่นพันล้านด่ง”
ปี 2012 หน่วยงานการท่องเที่ยวเวียดนามได้เริ่มปฏิบัติและเผยแพร่ยุทธศาสตร์การพัฒนาช่วงปี 2012-2020 และวิสัยทัศน์ถึงปี 2030 อย่างเป็นทางการ ปฏิบัติแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเวียดนามอย่างสมบูรณ์ช่วงปี 2012-2020 และวิสัยทัศน์ถึงปี 2030และร่างแผนการพัฒนาภูมิภาค โดยเฉพาะ 7 ภูมิภาคท่องเที่ยวที่สำคัญ เพื่อผลักดันให้หน่วยงานการท่องเที่ยวเวียดนามพัฒนายิ่งขึ้น ช่วยให้เวียดนามกลายเป็นจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจและมีชื่อเสียงของภูมิภาคและโลก โดยตั้งเป้าไว้ว่า จนถึงปี 2020 หน่วยงานการท่องเที่ยวเวียดนามจะกลายเป็นหน่วยงานเศรษฐกิจที่สำคัญในขั้นพื้นฐาน มีวิชาชีพ มีระบบโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี่อย่างพร้อมเพรียงและทันสมัย ส่วนผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวมีคุณภาพ มีรูปแบบหลากหลาย มีเครื่องหมายการค้าและมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคได้ นาย Nguyen Van Tuan เผยต่อไปว่า “ หน่วยงานการท่องเที่ยวเวียดนามจะเน้นถึงการส่งเสริมการบริหารจุดท่องเที่ยวผ่านการตรวจสอบคุณภาพและการควบคุมบรรยากาศการท่องเที่ยว นอกจากนี้ จะส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศและให้ความสนใจต่อการพัฒนาทักษะความสามารถของเจ้าหน้าที่ข้าราชการผ่านการถอดประสบการณ์ในตลอด 10 ปีที่ผ่านมาเพื่อตั้งเป้าหมายสุดท้ายคือประสิทธิผลในด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่วนสถานประกอบการจะเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ถือความเชื่อมโยงเป็นแนวทางที่สำคัญและถือการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และประชาสัมพันธ์เครื่องหมายการค้าคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดเพื่อพัฒนาหน่วยงานในอนาคต”
|
ก้าวกระโดดของยุทธศาสตร์นี้คือ จุดยืนในการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพ มีเครื่องหมายการค้า เป็นวิชาชีพ ทันสมัย ใช้ประโยชน์จากศักยภาพของประเทศและพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างเขตพร้อมกับการร่วมปฏิบัติของทั้งสังคมและบทบาทการเป็นพลังขับเคลื่อนของสถานประกอบการ นอกจากนี้ ยังถือหน้าที่การพัฒนาเครื่องหมายการค้าเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศและยกระดับคุณภาพของหน่วยงานการท่องเที่ยว โดยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และรูปแบบการท่องเที่ยวตามระบบ ซึ่งจะมีการตรวจสอบคุณภาพและมีเอกลักษณ์ พัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเลในระดับระหว่างประเทศและการท่องเที่ยวในรูปแบบอื่นๆ ในฐานะที่เป็นศูนย์การท่องเที่ยวของเวียดนาม หน่วยงานการท่องเที่ยวนครโฮจิมินห์ได้เปลี่ยนรูปแบบการท่องเที่ยวของตนอยู่เสมอเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น นาย La Quoc Khanh รองผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยวนครโฮจิมนห์เผยว่า หน้าที่สำคัญในปีต่อๆไปของหน่วยงานการท่องเที่ยวนครโฮจิมินห์คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวแห่งสีเขียว “
ในปี 2012 จะมีเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ๆมากมาย เช่น ทัวร์โฮจิมินห์ – ด่งนายที่ล่องไปตามแม่น้ำด่งนาย โฮจิมินห์ – Cu Chi และBinh Duong ตามแม่น้ำไซง่อน โดยเฉพาะในทัวร์โฮจิมินห์ – Can Gio พวกเราจะพัฒนาการท่องเที่ยวโดยใช้เรือยอร์ช ซึ่งรวมไปถึงทัวร์ท่องเที่ยวสำรวจหรือทัวร์ท่องเที่ยวเชิงนิวเวศวิทยา เป็นต้น นี่เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวสำหรับตลาดระดับบน ซึ่งนักท่องเที่ยวไม่เพียงแต่จะได้ค้นหาและสำรวจระบบนิเวศท้องถิ่นเท่านั้น หากยังเข้าร่วมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย”
ในปี 2012 นอกจากการพัฒนาตลาดภายในประเทศแล้ว หน่วยงานการท่องเที่ยวเวียดนามยังพยายามพัฒนาตลาดระหว่างประเทศอีกด้วย ซึ่งรวมไปถึงตลาดเดิม เช่น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีประเทศจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก ซึ่งมีประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทยและออสเตรเลีย ภูมิภาคยุโรปตะวันตก ซึ่งมีประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ อิตาลี่และสเปน ภูมิภาคอเมริกาเหนือ ซึ่งมีประเทศสหรัฐและแคนาดาและภูมิภาคยุโรปตะวันออก ซึ่งมีประเทศรัสเซียและยูเครน และมีการเปิดตลาดใหม่ เช่น ตะวันออกกลาง โดยตั้งเป้าไว้ว่า จนถึงปี 2020 จะสามารถต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้10.5 ล้านคนและนักท่องเที่ยวภายในประเทศ 48 ล้านคน มีรายได้ประมาณ 1 หมื่น 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีส่วนร่วมต่อจีดีพีร้อยละ 7 และสร้างงานทำอีก 3 ล้านตำแหน่ง ส่วนในปี 2030 รายได้ของหน่วยงานการท่องเที่ยวเวียดนามจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับปี 2020 ดังนั้นเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว หน่วยงานการท่องเที่ยวเวียดนามจะต้องปฏิบัติยุทธศาสตร์การพัฒนานับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป./.