ศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกน้ำของหมู่บ้านเหงวียนในจังหวัดท้ายบิ่ง
Lan Anh/VOV5 -  
(VOVworld) – ที่จังหวัดท้ายบิ่งมีคณะหุ่นกระบอกน้ำที่มีชื่อเสียง2คณะที่อยู่ในสองหมู่บ้านใกล้กันคือหมู่บ้านดงก๊ากและหมู่บ้านเหงวียน โดยเฉพาะชาวหมู่บ้านเหงวียนภูมิใจกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานพร้อมเทคนิคในการชักหุ่นเฉพาะของหมู่บ้านและสิ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจคือสมาชิกในคณะหุ่นกระบอกหมู่บ้านเหงวียนเป็นเกษตรกรทั้งหมด แต่การเชิดหุ่นในการแสดงนั้นไม่แพ้ศิลปินมืออาชีพ
(VOVworld) – ที่จังหวัดท้ายบิ่งมีคณะหุ่นกระบอกน้ำที่มีชื่อเสียง2คณะที่อยู่ในสองหมู่บ้านใกล้กันคือหมู่บ้านดงก๊ากและหมู่บ้านเหงวียน โดยเฉพาะชาวหมู่บ้านเหงวียนภูมิใจกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานพร้อมเทคนิคในการชักหุ่นเฉพาะของหมู่บ้านและสิ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจคือสมาชิกในคณะหุ่นกระบอกหมู่บ้านเหงวียนเป็นเกษตรกรทั้งหมด แต่การเชิดหุ่นในการแสดงนั้นไม่แพ้ศิลปินมืออาชีพ
เวทีแสดงหุ่นกระบอกน้ำของหมู่บ้านเหงวียนซ้า(Photo internet)
|
หมู่บ้านเหงวียนตั้งอยู่ในอ.ดงฮึง ห่างจากตัวเมืองจังหวัดท้ายบิ่งประมาณ12กิโลเมตร ถือเป็นแหล่งกำเนิดศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกน้ำที่ยาวนานที่สุด ซึ่งตามเรื่องเล่าของศิลปินอาวุโสหมู่บ้านเงวียน Chu Teu หรือตัวตลกคือตัวละครที่ได้รับความชื่นชมมากที่สุดจากผู้ชม ศิลปินเหงวียนบ๊าทั้ง รองหัวหน้าคณะหุ่นหมู่บ้านเหงวียนเผยว่า“จู๊เต๋วหรือตัวตลกเป็นตัวละครที่ขาดมิได้ในการแสดงหุ่น มีบทบาทเป็นตัวละครนำเรื่อง ดังนั้นจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของหุ่นกระบอกเวียดนาม”
ตามที่ชาวบ้านได้เล่าขานกัน ศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกน้ำหมู่บ้านเหงวียนมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เลปี1427 โดยใช้เพลงพื้นเมืองแจ่วประกอบการแสดง ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นความได้เปรียบของการแสดงหุ่นกระบอกน้ำหมู่บ้านเหงวียนเพราะได้อยู่ติดกับหมู่บ้านที่เป็นต้นกำเนิดของเพลงแจ่วคือหมู่บ้านค๊วก ดังนั้นพวกเขาจึงมีความเคยชินและเข้าใจเกี่ยวกับทำนองเพลงแจ่วได้อย่างลึกซึ้งเพื่อเลือกใช้ประกอบการแสดงหุ่นกระบอกน้ำชุดต่างๆได้อย่างเหมาะสมที่สุด
เมื่อเดินทางถึงหมู่บ้านเหงวียนท่านจะได้ชมศาลา ถวีดิ่ง ซึ่งเป็นเวทีการจัดแสดงหุ่นกระบอกที่สามารถจุได้300คน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเวทีที่ทันสมัยที่สุดของคณะหุ่นกระบอกน้ำต่างๆทั่วประเทศ ได้สัมผัสกับตัวหุ่นจริงหลายขนาดกว่า1พันตัวพร้อมทั้งได้ฟังการอธิบายเกี่ยวกับวัสดุและการชักหุ่น ศิลปินเหงวียนบ๊าทั้งแนะนำ“เมื่อก่อนใช้ไม้โพศรีเป็นวัสดุทำหุ่นแต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีแล้วเราเลยใช้ไม้มะเดื่อต้นใหญ่ ต้องทำตอนเพิ่งตัดใหม่ๆเนื้อไม้จะนิ่มเพราะถ้าปล่อยแห้งจะเหนียวมาก”
การชักหุ่นก็เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เทคนิคเพื่อให้ตัวหุ่นนั้นสามารถเคลื่อนไหวอย่างมีชีวิตชีวาได้ดี ซึ่งมีสองแบบคือใช้เชือกหรือใช้ไม้ ซึ่งการชักหุ่นด้วยเชือกอาจจะดูไม่หนักเท่าการใช้ไม้แต่จะต้องมีความละเอียดมากกว่าและต้องมีความชำนาญมีความเข้าใจอย่างดีถึงจะควบคุมตัวหุ่นได้ดี นอกจากนั้นผู้รับหน้าที่ชักหุ่นจะต้องมีสุขภาพแข็งแรงเพราะจะต้องยืนอยู่ในน้ำระดับสูงถึงหน้าอกเพื่อควบคุมตัวหุ่นแม้จะอากาศหนาวหรือร้อน
ศิลปินเหงวียนบ๊าทั้งเผยว่า การสอนวิธีการผูกเชือกควบคุมตัวหุ่นให้คนรุ่นใหม่นั้นจะต้องทำใต้น้ำเท่านั้นเพื่อไม่ให้คนอื่นรู้เห็นเพื่อเลียนแบบเทคนิคเฉพาะของหุ่นกระบอกน้ำหมู่บ้านเหงวียน ดังนั้นสามารถยืนยันได้ว่าใน16คณะหุ่นกระบอกของเวียดนามไม่มีคณะใดที่ใช้เทคนิคนี้ได้
เมื่อเสียงเพลงแจ่วเริ่มขึ้นพร้อมเสียงกลองเสียงปี่ที่เร้าใจจู๊เต๋วก็ปรากฎด้านหน้าเวทีเป็นตัวละครแรกเพื่อเปิดฉากการแสดง โดยหน้าตาถูกออกแบบมาเป็นตัวตลกที่ยิ้มตลอดเวลาเพื่อสื่อถึงความหมายว่าคนเรานั้นต้องพยายามยิ้มให้ชีวิตมีความสุข เมื่อเจอความลำบากก็ให้ยิ้มเพื่อสู้ต่อไปเราจะคลายความเหน็ดเหนื่อยไปได้บ้างและนี่ก็เป็นสิ่งที่ที่ชาวบ้านอยากฝากถึงผู้ชมทุกคน.
Lan Anh/VOV5