สะพาน ง้อย วัดเลือง ศาลาฟองหลาก ทัศนียภาพโดดเด่นของ จ.นามดิ๋งห์

(VOVworld)-สะพานง้อย วัดเลือง ศาลาฟองหลาก อยู่ในพื้นที่ต.หายแอง อ.หายเหิว จ.นามดิ๋งห์ เป็นสิ่งปลูกสร้างต่างๆที่มีสถาปัตยกรรมโบราณอันโดดเด่นซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญายอดเยี่ยมของคนท้องถิ่นและมีความผูกพันกับประวัติศาสตร์การบุกเบิกแผ่นดินนี้เมื่อกว่า500ปีก่อน แม้จะผ่านกาลเวลาที่ยาวนานแต่ทัศนียภาพเหล่านี้ยังคงสภาพเดิมเกือบสมบูรณ์


(VOVworld)-สะพานง้อย วัดเลือง ศาลาฟองหลาก อยู่ในพื้นที่ต.หายแอง อ.หายเหิว จ.นามดิ๋งห์ เป็นสิ่งปลูกสร้างต่างๆที่มีสถาปัตยกรรมโบราณอันโดดเด่นซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญายอดเยี่ยมของคนท้องถิ่นและมีความผูกพันกับประวัติศาสตร์การบุกเบิกแผ่นดินนี้เมื่อกว่า500ปีก่อน แม้จะผ่านกาลเวลาที่ยาวนานแต่ทัศนียภาพเหล่านี้ยังคงสภาพเดิมเกือบสมบูรณ์

สะพาน ง้อย วัดเลือง ศาลาฟองหลาก ทัศนียภาพโดดเด่นของ จ.นามดิ๋งห์ - ảnh 1
สะพานง้อย

สะพานง้อยอยู่ในเส้นทางเข้าวัดเลืองและศาลาฟองหลาก ซึ่งอยู่ในเส้นทางหลักเข้าหมู่บ้านที่มีความยาวเพียงกว่าร้อยเมตร โดยทัศนียภาพทั้งสามแห่งดังกล่าวได้รับการก่อสร้างในช่วงเดียวกันและกลายเป็นแหล่งโบราณสถานที่มีชื่อเสียงของแผ่นดินนามดิ๋งห์

สะพานง้อยข้ามแม่น้ำจูงยาง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายเล็กๆที่ไหลเลียบตามพื้นที่ต.หายแอง โดยสะพานถูกออกแบบให้ด้านบนคือบ้านมีหลังคา ด้านล่างคือสะพาน แบ่งเป็น9ช่อง ตัวสะพานถูกก่อสร้างบนเสาหิน18เสา พื้นสะพานรองด้วยเสาไม้ขนาดใหญ่เพื่อรับน้ำหนักของสะพาน หลังคามุงกระเบื้องโบราณ มีรูปร่างงอโค้งเหมือนตัวมังกร ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นกิจการด้านคมนาคมเท่านั้นหากยังถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวท้องถิ่นอีกด้วย นางเจิ่นถิหยิว ชาวต.หายแองกล่าวว่า“เมื่อก่อนนี้การคมนาคมส่วนใหญ่ใช้การเดินเท้าดังนั้นเมื่อขึ้นสะพานจะต้องขึ้นบันใดสามสี่ขั้น สะพานสูงกว่าถนน แต่เดี๋ยวนี้ถนนถูกปรับปรุงถมให้สูงกว่าพื้นสะพานนิดหนึ่งแล้ว ซึ่งสะพานนี้มีอายุหลายร้อยปีมาแล้วและตามตำนานที่เล่าสู่กันในหนังสือประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านนั้น บรรพบุรุษได้บอกไว้ว่าเตรียมเงินก้อนหนึ่งไว้เพื่อซ่อมสะพานและเงินก้อนนั้นได้เก็บไว้ในที่ใดที่หนึ่งตรงหัวสะพาน

สะพาน ง้อย วัดเลือง ศาลาฟองหลาก ทัศนียภาพโดดเด่นของ จ.นามดิ๋งห์ - ảnh 2
วัดเลือง

ส่วนตามโครงสร้างที่ทำจากไม้ของสะพานทั้งเสาหลักและประตูทั้งสองฝั่งต่างมีการแกะสลักลวดลายที่เรียบง่ายแต่ก็มีความปราณีตและสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นบ้านของเวียดนาม แม้จะมีการก่อสร้างสะพานหินหลายแห่งข้ามแม่น้ำสายนี้แต่ชาวท้องถิ่นยังคงให้ความสำคัญและเลือกสะพานง้อยเป็นจุดนัดพบโดยเฉพาะหนุ่มสาว“ที่นี่เป็นสถาปัตยกรรมโบราณที่สวยงาม บรรยากาศก็สงบร่มเย็นเราชอบมานั่งเล่นเพื่อพักผ่อนรับลมชมวิว

ระหว่างทางไปยังศาลาฟองหลากและวัดเลืองเราจะผ่านตลาดนัดของต.หางแอง สำหรับศาลาฟองหลากได้รับการก่อสร้างตั้งแต่เริ่มมีการบุกเบิกแผ่นดินนี้ โดยใช้เป็นสถานที่หารืองานราชการของหมู่บ้าน ข้างๆศาลาฟองหลากคือวัดเลือง ซึ่งยังเรียกว่าวัดจัมยานหรือวัดร้อยห้องที่ก่อสร้างเมื่อปลายศตวรรษที่15 ซึ่งในตอนแรกวัดมีขนาดไม่ใหญ่แต่หลังจากได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์และขยายโดยเฉพาะการซ่อมแซมครั้งใหญ่ช่วงต้นศตวรรษที่20 วัดนี้ก็ได้รับการขยายพื้นที่ให้กว้างขวางมากกว่าเดิมหลายเท่า โดยปัจจุบันมี100ห้องที่สะท้อนสถาปัตยกรรมของยุคต่างๆ โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมของศตวรรษที่17-18 ปัจจุบันนี้วัดยังคงเก็บรักษาศิลาหินที่สลักเนื้อหาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของวัดอย่างละเอียดสมบูรณ์

ทุกวันนี้ ชาวท้องถิ่นยังคงมีความหวงแหนและพยายามรักษามรดกวัฒนธรรมอันล้ำเลิศทั้งสามแห่งดังกล่าวของจังหวัดนามดิ๋งห์เพื่อมีส่วนร่วมในการนำสมบัติอันล้ำค่าแห่งวัฒนธรรมเวียดนามนี้ให้ชนรุ่นหลังได้สานต่อและพัฒนาให้คงอยู่ต่อไป.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด