การอนุรักษ์เครื่องดนตรีจ่างของเวียดนาม
To Tuan-VOV5 -  
(VOVworld )-เครื่องดนตรีจ่างเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆของเวียดนามไม่ว่าจะเป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าเอเด ยารายในเตยเงวียนและชนกลุ่มน้อยเผ่าอื่นๆ แต่เครื่องดนตรีจ่างของชนเผ่าม้งจังหวัดห่ายางถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่นและเป็นเครื่องดนตรีคู่กายคู่ใจของหนุ่มสาวชาวม้งที่ใช้สื่อรักกัน
(VOVworld )-เครื่องดนตรีจ่างเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆของเวียดนามไม่ว่าจะเป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าเอเด ยารายในเตยเงวียนและชนกลุ่มน้อยเผ่าอื่นๆ แต่เครื่องดนตรีจ่างของชนเผ่าม้งจังหวัดห่ายางถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่นและเป็นเครื่องดนตรีคู่กายคู่ใจของหนุ่มสาวชาวม้งที่ใช้สื่อรักกัน
|
ศ.ดร.เจิ่นกวางห่ายเป่่าจ่างในงานแสดงเป่าจ่าง |
เครื่องดนตรีจ่างมีอยู่ในหลายประเทศและมีหลากหลายประเภท โดยเฉพาะมักจะพบในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับเวียดนาม การเล่นเครื่องดนตรีจ่างและพัฒนามาอย่างยาวนานและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะนับตั้งแต่ศิลปินเหงวียนมิงห์ดึ๊กได้รับรางวัลศิลปินยอดเยี่ยมในการเป่าเครื่องดนตรีจ่าง ณ งานเฟสทีเวิลเครื่องดนตรีจ่างนานาชาติ ณ เนเธอแลนด์ เมื่อปี ๒๐๐๖ เครื่องดนตรีจ่างของเวียดนามมีเภทได้แก่ ประเภทที่ทำจากโลหะและประเภทที่ทำจากไม้ใผ่ซึ่งสามารถพบเห็นในเขตชนกลุ่มน้อยเผ่าเอเด ยาราย บานา ในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน แต่เครื่องดนตรีจ่างที่ได้รับความสนใจมาก มีความสวยงามและสามารถสร้างพลังเสียงสูงต่ำในปัจจุบันคือ จ่างที่ทำจากทองเหลืองของชนเผ่าม้งจังหวัดห่ายาง เครื่องดนตรีจ่างของห่ายางทำจากทองเหลือง ยาวประมา ๗ ซม. ซึ่งประกอบด้วย ๒ ส่วนได้แก่ โครงและใบทองแดงบางที่เรียกว่า ลิ้นไก่ เพื่อเพิ่มเสียงสั่นของจ่าง การที่เราจะเป่าเครื่องดนตรีจ่างให้ไพเราะต้องมีเทคนิกโดยก่อนอื่นใส่จ่างบนช่องปากแล้วใช้นิ้วชี้ของมือขวาดีดลิ้นไก่และเคลื่อนจ่างระหว่างผิวปากสองด้าน เครื่องดนตรีจ่างจะส่งเสียงที่มีพลังสูงต่ำต่างๆ นายฝ่ามห่งท้าย ที่ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเครื่องดนตรีจ่างมา ๑๐ ปีและเป็นเจ้าของร้านท้ายเคผลิตเครื่องดนตรีจ่างที่ตั้งอยู่ที่ถนน ห่างแหม่ง กรุงฮานอยเผยว่า “ ลูกค้าชาวต่างประเทศโดยเฉพาะชาวฝรั่งเศสและเยอรมันชื่นชอบเครื่องดนตรีจ่างของเวียดนามไม่ว่าจะเป็นประเภทที่ทำจากไม้ใผ่หรือทำจากทองเหลือง แต่เครื่องดนตรีที่พวกเขาชอบมากคือ ประเภทเล็กๆที่เป็นต้นแบบจ่างของชาวม้งเพราะมันใช้ง่าย เสียงสั่นนิ่มนวลและเพราะกว่าเครื่องดนตรีจ่างของประเทศแถบยุโรป ”
|
เครื่องดนตรีจ่าง
|
นักศึกษาวิจัยวัฒนธรรมและนักท่องเที่ยวต่างชาติมักจะศึกษาบรรยากาศทางวัฒนธรรมและวิธีการเป่าเครื่องดนตรีจ่างของชนกลุ่มน้อยในเวียดนาม ปัจจุบัน หนุ่มสาวชนเผ่าม้ง อำเภอกว่างบ่า จังหวัดห่ายาง หรืออำเภอซาปา บั๊กห่า จังหวัดหล่าวกายยังใช้เครื่องดนตรีจ่างเพื่อสื่อภาษารักด้วยความนุ่มนวล ไม่ทำให้ผู้สื่อและผู้รับนั้นรู้สึกเขินอาย เครื่องดนตรีจ่างมักจะติดตัวหนุ่มชาวม้งเสมือนเพื่อนร่วมทาง โดยในงานเทศกาลหรือยามพระจันทร์เต็มดวงหนุ่มม้งมักจะเป่าจ่างเป็นการเชื้อเชิญ การระบายความรู้สึกในใจและการบอกรักสาวๆ ส่วนเพลง ลีลาและทำนองนั้นเป็นการประพันธ์จากทำนองเพลงพื้นเมืองของชนเผ่าม้ง เป็นการกระซิบความรักของคู่รักที่มีต่อกัน ศิลปะการเป่าจ่างได้พัฒนาตามกาลเวลาจนกลายเป็นวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าม้ง ปัจจุบันเครื่องดนตรีจ่างค่อยๆหายไปในวิถีชีวิตของหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ทำให้คนได้รู้จักความหมายในการสื่อรักด้วยจ่างต่างรู้สึกหวงแหนและเห็นความจำเป็นที่จะต้องอนุรักษ์วัฒนธรรมแขนงนี้ให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน นายหุ่งดิ่งกวิ้วนักวิจัยวัฒนธรรมเห็นว่า “ เพื่ออนุรักษ์เครื่องดนตรีจ่างของชนเผ่าม้ง จำเป็นต้องขยายงานเทศกาลต่างๆของชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้หนุ่มสาวชาวม้งได้เข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของเครื่องดนตรีจ่างในชีวิต อีกทั้งจัดการฝึกเป่าเครื่องดนตรีจ่างให้แก่ชนรุ่นใหม่เพื่อจะได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมอันล้ำค่าของชนเผ่าตน ”
|
เด็กชนกลุ่มนิอยสืบสานศิลปะการเป่าจ่างของบรรพบุรุษ |
เพื่ออนุรักษ์เครื่องดนตรีจ่างในคลังเครื่องดนตรีพื้นเมืองอันหลากหลายของประเทศ นับตั้งแต่ปี ๒๐๐๘ จังหวัดต่างๆในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซึ่งมีวัฒนธรรมการเป่าเครื่องดนตรีจ่างได้ดำเนินโครงการต่างๆและจัดกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม การประกวดในหัวข้อ บุคคลที่เป่าจ่างได้ไพเราะ หรือการคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถเข้าร่วมเฟสทีเวิลเครื่องดนตรีจ่าง รวมถึงการฟื้นฟูงานเทศกาลที่เป็นเอกลักษณ์ โดยจัดการเป่าจ่างเพื่อเชิญชวนนักท่องเที่ยวและพัฒนาการท่องเที่ยว จากกิจกรรมดังกล่าว ศิลปะการเป่าเครื่องดนตรีจ่างจะได้รับการอนุรักษ์เพื่อทำให้ชีวิตทางวัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆในเวียดนามมีความหลากหลายมากขึ้น อันเป็นการเชิดชูวัฒนธรรมที่ดีงามและมีส่วนร่วมพัฒนาการท่องเที่ยวด้วย ./.
To Tuan-VOV5