คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของกวีมหากาพย์ชนเผ่าเซอดังดร้า

(VOVWORLD) - ในรายการวัฒนธรรมสัปดาห์ที่แล้ว ทางผู้ทำรายการได้แนะนำเกี่ยวกับศิลปินอาวุโสอาอาร์ ซึ่งเป็นผู้ขับเสภาบทกวีมหากาพย์ชนเผ่าเซอดังดร้า เป็นผู้เก็บรักษาและเผยแพร่เนื้อหาของกวีมหากาพย์ชนเผ่าเซอดังที่ถูกระบุในหนังสือเรื่อง “คลังบทกวีมหากาพย์เตยเงวียน” ส่วนในรายการวัฒนธรรมของเราวันนี้ จะขอแนะนำบทความเรื่อง “คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของกวีมหากาพย์ชนเผ่าเซอดังดร้า”
คุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของกวีมหากาพย์ชนเผ่าเซอดังดร้า - ảnh 1ภาพงานเทศกาลของชนเผ่าเซอดัง 

กวีมหากาพย์ชนเผ่าเซอดังดร้า หรือ มีอีกชื่อคือเฮอมวน ถูกค้นพบครั้งแรกในช่วงปี 2001-2002 โดยรองศาสตราจารย์ดร.หวอกวางจ่อง ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนาม ซึ่งเขาและบรรดานักวิชาการสามารถสะสมกวีมหากาพย์ชนเผ่าเซอดังดร้าได้ 106 บทในอำเภอดั๊กห่าและดั๊กโตของจังหวัดกอนตุม โดยแต่ละบทมีเนื้อหาที่แตกต่างกัน แต่ก็มีความผูกพันที่ใกล้ชิดเพราะได้กล่าวถึงเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับดัมดวงเพื่อสื่อถึงความฝันและความปรารถนาอันแรงกล้าของชุมชน นาย หวอกวางจ่องได้เผยว่าดัมดวงคือตัวละครที่เป็นแบบอย่างที่ดีของชาวเซอดัง ดังนั้นจึงได้รับการสร้างสรรค์ให้มีบุคลิกภาพอันสูงส่ง เป็นชายหนุ่มที่มีสุขภาพแข็งแรง มีความรู้รอบด้านและทำงานเก่ง ไม่ว่าจะเป็นการจักสาน การล่าสัตว์ การสร้างบ้านและการบุกเบิกที่ดิน เป็นต้น อีกทั้งมีความขยันหมั่นเพียรและกล้าหาญ ในการต่อสู้กับศัตรูผู้รุกราน สัตว์ร้าย และพวกภูตผีปีศาจเพื่อปกป้องหมู่บ้าน

ศิลปินขับกวีมหากาพย์ได้ใช้วิธีเชิงเปรียบเทียบและการพูดเกินความจริงเพื่อทำให้การเล่า เรื่องราวต่างๆมีชีวิตชีวามากขึ้น โดยการสร้างสรรค์ตัวละครดัมดวงได้สื่อถึงความฝันและความปรารถนาอันแรงกล้าของประชาชนชนเผ่าเซอดังดร้า รองศาสตราจารย์ดร.หวอกวางจ่อง ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามให้ข้อสังเกตว่านอกเหนือจากตัวละครหลักคือดัมดวง ยังมีการสร้างสรรค์ตัวละครอื่นๆที่สื่อถึงความปรารถนาของชาวบ้านและสนับสนุนตัวละครหลักในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เช่น การแนะนำวิธีสร้างบ้านโรง การล่าสัตว์และการสู้รบ ซึ่งถือเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นวีรชนและเป็นตัวแทนของชนเผ่าเซอดังในการบุกเบิกที่ดิน ปกป้องชาวบ้านและพัฒนาหมู่บ้าน”

กวีมหากาพย์ชนเผ่าเซอดังไม่เพียงแต่กล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างบุคคล สงครามระหว่างชนเผ่าเซอดังกับชนเผ่าอื่นในกระบวนการบุกเบิก ปกป้องที่ดิน หมู่บ้านและชุมชนเท่านั้น หากยังบรรยายถึงกระบวนการผลิต ขนบธรรมเนียมประเพณี เอกลักษณ์วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของประชาชนชนเผ่าเซอดังอีกด้วย รองศาสตราจารย์ดร.หวอกวางจ่อง ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามเผยต่อไปว่า“บรรดานักวิชาการได้เผยว่า กวีมหากาพย์คือสารานุกรมของชนเผ่าต่างๆ โดยบทกวีมหากาพย์หลายบทระบุถึงวิธีการเลือกที่ดินเพื่อตั้งหมู่บ้านของชนเผ่าเซอดังคือใกล้แหล่งน้ำ มีที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และการเดินทางเข้าหมู่บ้านมีความสะดวก รวมถึงวิธีการจับปลาโดยใช้ไม้ การทำไร่ทำนา การล่าสัตว์และการเก็บหน่อไม้ป่า เป็นต้น”

สำหรับสิ่งที่ทำให้ศิลปินอาวุโสอาอาร์และประชาชนชนเผ่าเซอดังดร้าชื่นชอบการขับเสภาบทกวีมหากาพย์นั้น นาย อาจาร์ อาศัยอยู่ที่เพลยโดน เขตกวางจุง นครกอนตุม ซึ่งเป็นผู้เรียบเรียงและแปลบทกวีมหากาพย์ชนเผ่าเซอดัง 15 บทได้อธิบายว่ามีสำนวนประโยคที่มีความหมายในเชิงลึก มุ่งสร้างคุณค่าชีวิตวัฒนธรรมที่ดีงามและให้การศึกษาด้านจรรยาบรรณ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีให้ทุกคนปฏิบัติตาม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด