ความหวังในการ “อนุรักษ์เสียงฆ้อง” ในหมู่บ้าน มดุ๊ก

(VOVWORLD) -จากสถานการณ์ในปัจจุบันที่เวทีการแสดงฆ้องเตยเงวียนนับวันลดน้อยลงและค่อยๆสูญหายไป การที่คณะฆ้องรุ่นใหม่ในหมู่บ้านต่างๆในจังหวัดดั๊กลักมีความหลงใหลในดนตรีพื้นเมืองชนิดนี้ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี โดยเฉพาะสำหรับเยาวชนในหมู่บ้านมดุ๊ก แขวงเออาตาม นครบวนมาถวด ความหลงใหลนี้ได้ช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในเบื้องต้น ซึ่งสร้างความหวังในกระบวนการอนุรักษ์ฆ้องให้แก่คนรุ่นหลัง
ความหวังในการ “อนุรักษ์เสียงฆ้อง” ในหมู่บ้าน มดุ๊ก - ảnh 1คณะฆ้องรุ่นใหม่ของหมู่บ้านมดุ๊ก 

เมื่อเสียงฆ้องไผ่ “ชิงกราม”ดังขึ้นอย่างครึกครื้น ความตื่นเต้นในการขึ้นแสดงบนเวทีเป็นครั้งแรกของคณะฆ้องรุ่นใหม่ของหมู่บ้านมดุ๊กก็หายไป แม้อายุยังน้อยแต่เทคนิกการแสดงของพวกเขาก็ได้รับคำชื่นชมจากศิลปินอาวุโสว่าไม่แพ้ศิลปินที่มีประสบการณ์ สำหรับการแสดงนี้ ได้รับรางวัลที่ 3 ในการประกวดระดับชุมชนและผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศในการประกวดวันงานวัฒนธรรมการกีฬาของชนกลุ่มน้อยที่นครบวนมาถวดเมื่อวันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมา อีวันเอบาน สมาชิกคนหนึ่งเผยว่า การได้แสดงบนเวทีเพื่อแข่งขันกับศิลปินที่มีประสบการณ์ในหมู่บ้านต่างๆ ทำให้ความหลงใหลในเสียงฆ้องนั้นยิ่งจะทวีคุณ            “ผมและเพื่อนๆรู้สึกตื่นเต้นเพราะเป็นครั้งแรกที่ได้เป็นตัวแทนของหมู่บ้านเข้าร่วมการประกวดและภูมิใจที่สามารถเอาชนะตัวแทนของหมู่บ้านอื่นๆเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ หวังว่า ในอนาคต คณะฆ้องของเราจะพัฒนามากขึ้นเพื่อมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาวเอเด”

คณะฆ้องรุ่นใหม่ของหมู่บ้านมดุ๊กได้รับการก่อตั้งเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิก 12 คนที่มีอายุตั้งแต่ 9 ขวบ – 17 ปี โดยสมาชิกในวงฆ้องมักจะฝึกซ้อมกันในตอนค่ำและฝึกสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เด็กชาย อีลีอัง นีเอ กดัม สมาชิกที่มีอายุน้อยที่สุดของคณะฯเผยว่า ได้ฝึกตีฆ้องตั้งแต่สมัยเรียนป.1 และขณะนี้สามารถตีได้ทุกตำแหน่งในวงฆ้อง            “ก่อนที่เรียนตีฆ้อง ผมเคยเรียนดนตรีจึงสามารถฟังจังหวะได้และได้ขอให้แม่ช่วยพาผมไปสมัครเข้าเป็นสมาชิกของคณะ หลังจากที่ได้เข้าคณะ ผมก็พยายามฝึกจนสามารถตีฆ้องได้ทุกตำแหน่ง”

ความหวังในการ “อนุรักษ์เสียงฆ้อง” ในหมู่บ้าน มดุ๊ก - ảnh 2ศิลปิน อีฮิว อีเอ กดัม สอนการตีฆ้องให้แก่คนรุ่นใหม่ในหมู่บ้าน มดุ๊ก 

ส่วนศิลปิน อีฮิว อีเอ กดัม ซึ่งเป็นครูสอนการตีฆ้องให้แก่คนรุ่นใหม่ในหมู่บ้าน มดุ๊ก ก็รู้สึกดีใจที่นักเรียนของตนนับวันเติบโตและรักดนตรีพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยเผ่าเอเดมากขึ้น เพราะว่า เสียงฆ้องคือวิญญาณของชาวเอเดที่เขาอยากทะนุถนอมและสืบทอดให้แก่คนรุ่นหลังโดยในตลอด 10 ปีที่ผ่านมา คณะฆ้องรุ่นใหม่ของชนกลุ่มน้อยเผ่าเอเดในหมู่บ้านต่างๆนับสิบคณะล้วนเป็นลูกศิษย์ของศิลปิน อีฮิว อีเอ กดัม สามารถทำการแสดงทั้งภายในและนอกจังหวัด โดยเฉพาะในหมู่บ้าน มดุ๊ก ซึ่งเป็นบ้านเกิดของศิลปิน อีฮิว อีเอ กดัม ตั้งแต่ปี 2004 มาจนถึงปัจจุบัน คณะฆ้องรุ่นใหม่หลายคณะได้รับรางวัลสูงๆในการประกวดแสดงฆ้องระดับต่างๆ ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้เขาอนุรักษ์จิตวิญญาณฆ้องเตยเงวียนต่อไป            “ตอนแรก มีแค่คนรุ่นใหม่ที่รู้สึกว่า นี่คือเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าตน แต่จนถึงปีนี้ ก็มีผู้ปกครองที่เป็นเพื่อนบ้านได้มาสมัครให้ลูกเรียนการตีฆ้อง ซึ่งช่วยให้ผมมีนักเรียนมากขึ้นทุกวัน เพราะว่า หากอยากได้คณะฆ้องรุ่นใหม่ที่มีสมาชิก 7 คนก็ต้องใช้เวลา 3-4 ปีและเป็นการยากในการหาคนรุ่นใหม่มาเรียน”

ในหมู่บ้าน มดุ๊กวันนี้ ความหลงใหลในการตีฆ้องและอนุรักษ์ได้รับการจุดประกายไปสู่คนทุกเพศทุกวัย ซึ่งไม่เพียงแต่เยาวชนจะชื่นชอบเรียนตีฆ้องเท่านั้น หากผู้ปกครองก็ให้ความสนใจและสนับสนุนบุตรหลานอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งไปเชียร์เมื่อบุตรหลานไปแสดง นายอีนิง เอบาน ซึ่งมีลูกกำลังเข้าร่วมคณะฆ้องรุ่นใหม่ได้เผยว่า ในแต่ละครั้งที่ลูกของเขาไปแสดง เขาก็พยายามไปเชียร์เพื่อสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูกพร้อมทั้งเป็นการเตือนให้เด็กๆต้องรู้จักรักและหวงแหนคุณค่าวัฒนธรรมพื้นเมือง            “ในฐานะผู้ปกครอง ผมรู้สึกดีใจมากที่ครู อีฮิว อีเอ กดัม ได้สอนการตีฆ้องให้ลูกของผมและมีการพบปะแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม นี่ก็เพื่อแสดงความสำนึกในบุญคุณต่อคนรุ่นก่อน เราไปเชียร์ก็เพื่อให้กำลังใจและร่วมกันฉลองกับคณะฯ”

จากความชื่นชอบและการเรียนอย่างจริงจัง คณะฆ้องรุ่นใหม่ของหมู่บ้าน มดุ๊ก กำลังสานต่อคุณค่าพื้นเมืองที่มีมาช้านานจากคนรุ่นแล้วรุ่นเล่าผ่านการเรียนการแสดงฆ้อง และพวกเขาจะเป็นคนรุ่นต่อไปที่สานต่ออนุรักษ์และพัฒนาให้เสียงฆ้องของชนกลุ่มน้อยเผ่าเอเดดังกังวาลในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนตลอดไป.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด