ความเป็นมนุษยชาติและจิตใจที่แจ่มใสแห่งการปฏิวัติสะท้อนจากบทกวีบันทึกคุกของโฮจิมินห์

(VOVworld)-ในชีวิตทำการเคลื่อนไหวปฏิวัติในเวียดนามและต่างประเทศ ประธานโฮจิมินห์ได้เขียนเอกสารที่มีลักษณะแห่งประวัติศาสตร์และผลงานวรรณกรรมที่ไพเราะและได้รู้จักแพร่หลายไม่ว่าในเวียดนามหรือต่างประเทศ ซึ่งผลงานที่ได้รับการยกย่องผลงานหนึ่งคือ บทกวีชุด เหญิตกี๊จองตู่




( VOVworld )-ในชีวิตทำการเคลื่อนไหวปฏิวัติในเวียดนามและต่างประเทศ ประธานโฮจิมินห์ได้เขียนเอกสารที่มีลักษณะแห่งประวัติศาสตร์และผลงานวรรณกรรมที่ไพเราะและได้รู้จักแพร่หลายไม่ว่าในเวียดนามหรือต่างประเทศ ซึ่งผลงานที่ได้รับการยกย่องผลงานหนึ่งคือ บทกวีชุด เหญิตกี๊จองตู่หรือบันทึกคุก ซึ่งเป็นกวีนิพนธ์ที่ท่านเขียนเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของตัวเองในคุกที่ประเทศจีน แต่สะท้อนความเป็นมนุษยชาติและจิตใจที่แจ่มใสของชาวคอมมิวนิสต์และกวีผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งคือ โฮจิมินห์
ความเป็นมนุษยชาติและจิตใจที่แจ่มใสแห่งการปฏิวัติสะท้อนจากบทกวีบันทึกคุกของโฮจิมินห์ - ảnh 1
หน้าปกบันทึกคุก
ของท่านโฮจิมินห์

ในโอกาสบทกวีชุดเหญิตกี๊จองตู่หรือบันทึกคุกก่อกำเนิดขึ้นมาครบรอบ๗๐ปีได้มีการจัดการสัมมนาเกี่ยวกับบทกวีชุดนี้ โดยคณะกรรมการประชาสัมพันธ์และให้การศึกษาส่วนกลาง กระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวกับคณะกรรมการทั่วประเทศสหพันธ์สมาคมวรรณกรรมและศิลปะเวียดนามจัดขึ้น ณ กรุงฮานอย ที่ประชุมได้ยืนยันถึงคุณค่าทางศิลปะ ลักษณะแห่งความเป็นมนุษยชาติ ความเป็นอมตะแห่งยุคสมัยของบทกวีชุดเหญิตกี๊จองตู่หรือบันทึกคุก  บทกวีชุดบันทึกคุกของประธานโฮจิมินห์รวมบทกวี ๑๓๓ บท ซึ่งท่านโฮจิมินห์เริ่มแต่งเป็นภาษาฮั่นเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคมค.ศ. ๑๙๔๒ และเสร็จสิ้นลงในวันที่ ๑๐ กันยายน ๑๙๔๓  ในรูปแบบพ็อกเก็ตบุก  หน้าปกเขียวและมีประโยคว่า เหญิตกี๊จองตู่หรือบันทึกคุก พร้อมกลอน ๔ บรรทัดและภาพวาดมือสองข้างถูกมัดด้วยโซ่  สิ่งที่โดดเด่นของบันทึกคุกคือ ผู้เขียนคือประธานโฮจิมินห์เล่าถึงชีวิตของท่านในเรือนจำด้วยภาษากลอน ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า บทกวีบันทึกคุกเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของท่านโฮจิมินห์ด้วยภาษากลอนที่มีสัมผัส แต่เน้นกล่าวถึงการปฏิวัติและประชาชน  ศาสตราจารย์เฟืองหลิว นักวิจัยวรรณกรรมให้ข้อคิดเห็นว่า บทกวีบันทึกคุกสะท้อนความยิ่งใหญ่ของท่านโฮจิมินห์ที่ปรารถนาอยู่เสมอว่า เอกราชให้แก่ชาติและเสรีภาพให้แก่ประชาชน “ ในบทกวีชุดนี้ปรากฎคำว่า เสรีภาพหลายครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในฐานะเป็นคนคนหนึ่งและกวีคนหนึ่ง  ประธานโฮจิมินห์ได้มีความปรารถนาในเสรีภาพอย่างแรงกล้า ซึ่งตรงกับความคิดของท่านในฐานะที่เป็นผู้นำประเทศ และเมื่อก่อตั้งประเทศท่านได้ตั้งชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม  ความปรารถนาเกี่ยวกับเสรีภาพยังสะท้อนในหนังสือราชการที่ทุกฉบับต้องมีประโยคคือ เอกราช เสรีภาพและความผาสุกไว้ด้านบนสุด ซึ่งหมายความว่า ประชาชาติได้รับเอกราช ประชาชนได้รับสิทธิเสรีภาพและได้อยู่ในความผาสุก ซึ่งก็คือความปรารถนาของชาวเวียดนามทุกคนในปัจจุบันและต้องพยายามทำให้ได้

บทกวีทุกบทในชุดบันทึกคุกสะท้อนความอดทน ความวิริยะอุตสาหะความมั่นใจและความหวังของนักเคลื่อนไหวปฏิวัติท่านหนึ่งที่พร้อมจะฟันฝ่าระยะทางที่เต็มไปด้วยขวากหนามที่ขวางกั้นเพื่ออิสระภาพของตนเองและของประเทศ  แม้จะถูกจำคุกในทัณฑสถาน ๑๘ แห่งในจังหวัดกวางสี ประเทศจีน แต่บทกวีของท่านยังสะท้อนอารมณ์สงบเงียบของนักโทษคนหนึ่งและนักปฏิวัติคนหนึ่งที่แม้จะถูกทารุณอย่างโหดร้ายแต่ท่านยังขับเสภาและมั่นใจว่า สักวันหนึ่งเสรีภาพจะกลับคืนมา ดังบทกวีนำที่ท่านบอกว่า ท่านไม่อยากขับเสภา แต่เมื่อถูกจำคุกจะต้องทำอะไรสักอย่าง การขับเสภาบรรเทาความหงอยเหงาช่วยเพิ่มพลังและจิตใจยืนหยัดรอถึงวันที่ได้รับอิสระ  แม้ถูกทารุณกรรมในเรือนจำของเจียงไคเช็ค แต่ท่านยังคงมีความมุ่งมั่นต่ออนาคตที่สดใสซึ่งสะท้อนจากบทกวี ชมพระจันทร์ที่มีตอนหนึ่งว่า ในคุกไม่มีเหล้าและดอกไม้ แต่เราอดไม่ได้กับภาพที่สวยงามในคืนนี้ ผมชมพระจันทร์จากหน้าต่างเรือนจำ ส่วนพระจันทร์ส่องประกายวับวาวสู่กวี   บทกวีเหญิตกี๊จองตู่หรือบันทึกคุกได้ช่วยให้คนรุ่นใหม่เข้าใจเกี่ยวกับจิตวิญญาณและปรัชญาของท่านโฮจิมินห์  ศ.ฟองเล นักวิจัยวรรณกรรมให้ข้อสังเกตว่า นี่คือการวาดภาพเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์อย่างลึกซึ้งโดยไม่ต้องเติมแต่งหรือปกปิดอะไรทั้งสิ้น  จากบทแล้วบทเล่า ทำให้ผู้อ่านเข้าใจเกี่ยวกับท่านในฐานะที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นนักปฏิวัติที่ไม่ได้รับสิทธิเสรีภาพ นักโทษที่ทั้งลำบากใจและกาย เพื่อนคนหนึ่งที่เห็นอกเห็นใจต่อผู้ที่มีฐานะต่ำต้อยและอารมณ์ขันของกวีที่รักธรรมชาติ  กวีหวูก่วนเฟืองเห็นว่า “ ผมมีงานวิจัยเกี่ยวกับท่านบางผลงาน รวมทั้งบนเขียนเกี่ยวกับการแหกคุกและเรื่องที่ท่านได้คลุกคลีกับคนต่ำต้อยในสังคม ซึ่งสะท้อนจากบทกลอนชื่อ หิดของท่าน บทกลอนนี้สะท้อนอารมณ์ขันของท่านโดยท่านเปรียบร่างที่เต็มไปด้วยหิดเหมือนได้สวมเสื้อผ้าแพรลายแดงและม่วง ส่วนการเกานั้นเปรียบเสมือนการดีดพิณ

ปี ๑๙๖๐ บทกวีชุดบันทึกคุกได้รับการแปลเป็นภาษาเวียด ต่อมาได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษาเช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี จีน ญี่ปุ่น สเปนและไทย  และวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๐๑๒ นายกฯได้มีมติรับรองบทกวีชุดเหญิตกี๊จองตู่หรือบันทึกคุกเป็นสมบัติของชาติ ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด