(VOVWORLD) -จากการเป็นส่วนหนึ่งของบรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องเตยเงวียน จังหวัดกอนตุมมี 7 ชนเผ่าที่ตั้งหลักแหล่งอาศัยได้แก่ เซอดัง บานาร์ แหยเจียง ยาราย เยอเริว เรอนำและเฮอเร ความพยายามในการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมพื้นเมือง ชีวิตทางจิตใจของชาวเผ่าในจังหวัดฯนับวันมีความหลากหลายและวัฒนธรรมได้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาคนในพื้นที่และชุมชน
กลุ่มการตีฆ้องและการฟ้อนซวางของโรงเรียนมัธยมศึกษาชนเผ่าอำเภอตูเมอรง |
โรงเรียนมัธยมศึกษาชนเผ่าอำเภอตูเมอรง จังหวัดกอนตุม มีนักเรียน 372 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กชนเผ่าเซอดัง ในหลายปีที่ผ่านมา ทางโรงเรียนฯได้ประสานงานกับศิลปินหลายคนในการสอนการตีฆ้องและการฟ้อนซวางให้แก่นักเรียน เด็กหญิงอีคิน นักเรียน ป.6 และสมาชิกกลุ่มการฟ้อนซวางของโรงเรียนมัธยมศึกษาชนเผ่าอำเภอตูเมอรง ได้เผยว่า
"พวกหนูเรียนการฟ้อนซวางในตอนค่ำ เรียน 3 วันต่อสัปดาห์ ศิลปินสอนแล้วพวกหนูฝึกตาม พวกหนูดีใจมากที่ได้ฝึกการตีฆ้องและการฟ้อนซวาง”
เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสตีฆ้องและฟ้อนซวางและส่งเสริมความภาคภูมิใจต่อวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าตน คณะผู้บริหารโรงเรียนฯได้ส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมการประกวดและงานมหกรรมการตีฆ้อง เข้าร่วมงานเทศกาลพื้นเมืองของชนเผ่าอื่นๆ ครูวันจ่องลิว ครูใหญ่โรงเรียนมัธยมศึกษาชนเผ่าอำเภอตูเมอรง อำเภอตูเมอรง ได้เผยว่า
“การสอนนักเรียนของศิลปินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การสอนการตีฆ้องและการฟ้อนซวางเป็นกิจกรรมที่ถูกจัดขึ้นเป็นประจำของทางโรงเรียนฯเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าของฆ้องและการฟ้อนซวาง อีกทั้งมีการจัดตั้งกลุ่มศิลปินเพื่อแสดงในงานเทศกาลต่างๆในท้องถิ่น”
จากแนวทาง การให้กำลังใจ การลงทุนจากทางการทุกระดับและหน่วยงานวัฒนธรรม จนถึงขณะนี้ ประชาชนชนกลุ่มน้อยต่างๆในจังหวัดกอนตุมได้อนุรักษ์ฆ้อง 2,500 ชุด เปิดชั้นเรียนสอนการตีฆ้องนับร้อยชั้น การแสดงการตีฆ้อง การอนุรักษ์และฟื้นฟูบ้านโรงนับร้อยหลัง การสะสมและสาธิตพิธีกรรม 16 รายการและงานเทศกาลพื้นเมือง ท้องถิ่นต่างๆยังผลักดันการแนะนำและประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าต่างๆต่อนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้สร้างแรงบันดาลใจและส่งเสริมความภาคภูมิใจประชาชาติและกลายเป็นพลังขับเคลื่อนต่อการพัฒนาของแต่ละบุคคลและชุมชน นาย อาอวน หมู่บ้านโมแบ่ง 1 ตำบลดั๊กนา อำเภอตูเมอรงและศิลปินยอดเยี่ยม อานวง หมู่บ้านกอนเจง ตำบลมังแก่ง อำเภอกอนปลง ได้เผยว่า
“เราเรียนรู้สิ่งที่ดีและเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าตนเพื่อสอนให้แก่ลูกหลาน ส่งเสริมให้ลูกหลานรักษาวัฒนธรรมของชนเผ่าเซอดัง”
“ผมดีใจมากๆที่เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆในจังหวัดกอนตุมได้รับการอนุรักษ์ พวกเราประชาสัมพันธ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าตนเพื่อร่วมกับทางจังหวัดฯเพื่อพัฒนาเอกลักษณ์ของชนเผ่าต่างๆ”
การเดินแฟชั่นชุดอ๊าวหย่ายและชุดแต่งกายพื้นเมือง ที่บริเวณน้ำตกปาสี อำเภอกอนปลง |
จากความตั้งใจในการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยต่างๆในชีวิตประจำวันควบคู่กับการปฏิบัติโครงการอนุรักษ์ ท้องถิ่นได้สร้างสรรค์รูปแบบวัฒนธรรมให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่ตอบสนองความต้องการในการค้นคว้าวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นของนักท่องเที่ยวเมื่อเดินทางมาเยือนจังหวัดกอนตุม
ควบคู่กันนั้น ในแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยั่งยืนและการท่องเที่ยววัฒนธรรม จังหวัดกอนตุมเน้นพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน หมู่บ้านกอนเกอตู เมืองกอนตุม กอนปริง กอนโปลง มังรี อำเภอตูเมอรงได้เปิดทัวร์ท่องเที่ยวค้นคว้าวัฒนธรรมฆ้อง อาชีพพื้นเมืองและเทศกาลต่างๆ นาย ฟานวันหว่าง รองผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดกอนตุมได้เผยว่า
“จากความรักและความทุ่มเทในการส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมพื้นเมืองของตน บรรดาศิลปินได้สืบทอดมรดกวัฒนธรรมให้แก่คนรุ่นใหม่ ส่งเสริมความทุ่มเทและความรักวัฒนธรรมของชนเผ่าตน นอกจากนี้ ในแนวทางการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในท้องถิ่น เอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยต้องได้รับการส่งเสริม แนะนำ ประชาสัมพันธ์ให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อมีส่วนร่วมพัฒนาการท่องเที่ยว”
จากการที่มีเอกลักษณ์วัฒนธรรมของ 7 ชนเผ่า ในปี 2022 จังหวัดกอนตุมได้ต้อนรับนักท่องเที่ยว 1.1 ล้านคน เพิ่มขึ้น 3 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2021 จากการฟื้นฟูหลังวิกฤตโควิด -19 กิจกรรมการท่องเที่ยวและรายได้ของประชาชนและชุมชนในจังหวัดกอนตุมได้รับการปรับปรุง ซึ่งเป็นการให้กำลังใจในการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมพื้นเมืองของประชาชน.