จังหวัดกาวบั่งอนุรักษ์เพลงพื้นเมือง

(VOVWORLD) -จังหวัดกาวบั่งมีคลังเพลงพื้นเมืองนับร้อยบทของชนเผ่าไต หนุ่ง ม้งและเย้า ซึ่งเป็นมรดกที่ได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และความเป็นมนุษยที่ลึกซึ้งที่ต้องได้รับความสนใจอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าเพื่อสืบทอดให้แก่คนรุ่นหลัง  สมาคมอนุรักษ์เพลงพื้นเมืองของชนเผ่าต่างๆในจังหวัดกาวบั่งกำลังพยายามอนุรักษ์การร้องเพลงพื้นเมืองในคลังวัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆในท้องถิ่น

 
 
จังหวัดกาวบั่งอนุรักษ์เพลงพื้นเมือง - ảnh 1สมาคมอนุรักษ์เพลงพื้นเมืองของชนเผ่าต่างๆในจังหวัดกาวบั่งประสานงานกับท้องถิ่นจัดรายการแสดงศิลปะและการประกวดร้องเพลงพื้นเมือง 

สมาคมอนุรักษ์เพลงพื้นเมืองของชนเผ่าต่างๆในจังหวัดกาวบั่งได้รับการจัดตั้งเมื่อปี 2011 จนถึงขณะนี้ มีสมาชิกเกือบ 2,200 คนใน10 อำเภอและอำเภอเมือง ศิลปินยอดเยี่ยมหว่างกิมเต๊ว รองประธานสมาคมฯได้เผยว่า สมาคมฯได้เปิดสาขาในตำบลและอำเภอเมืองต่างๆ โดยสามารถตอบสนองความต้องการในการรับชมรายการแสดงศิลปะของประชาชนชนเผ่าต่างๆในท้องถิ่น

“ตอนจัดตั้งสโมสรอนุรักษ์เพลงพื้นเมือง พวกเราจะตั้งชื่อว่า  “สโมสรการร้องเพลงทำนองแทนและเล่นพิณติ๋งแต่เห็นว่า จังหวัดฯมีเพลงพื้นเมืองของชนเผ่าต่างๆหลายแบบ เราจึงตัดสินใจตั้งชื่อเป็น “สมาคมอนุรักษ์เพลงพื้นเมืองของชนเผ่าต่างๆในจังหวัดกาวบั่ง” ซึ่งสมาชิกของสมาคมฯเป็นผู้รักเพลงพื้นเมืองและเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ  ในช่วงแรก มีคณะกรรมการบริหารสมาคมฯและ  สมาชิก 70 คนเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 2 พันคน”

ในหลายปีที่ผ่านมา สมาคมอนุรักษ์เพลงพื้นเมืองของชนเผ่าต่างๆในจังหวัดกาวบั่งได้ทำการวิจัย และรวบรวมเพลงพื้นเมืองนับสิบบทของชนเผ่าต่างๆ เช่น เพลงพื้นเมืองทำนองแทน ย้าฮาย ผุดหลั่น ส่าส้า สลิยาง หน่างเอ้ย ห่าเหล่า เป็นต้น  บรรดาสมาชิกยังศึกษา แต่งเพลงและแต่งเนื้อร้องใหม่ให้แก่เพลงพื้นเมืองกว่า 160 บท รวมทั้งผลงานดนตรีที่เป็นที่ชื่นชอบและได้รับความนิยม  ศิลปินยอดเยี่ยมหว่างกิมเต๊ว รองประธานสมาคมฯ เผยต่อไปว่า

“บรรดาสมาชิกวางแผนการฝึกร้องเพลงพื้นเมืองประเภทสลิ เหลือน โดยเฉพาะการร้องเพลงทำนองแทนและการเล่นพิณติ๋ง  2 -3 ครั้งต่อสัปดาห์ บรรดาสมาชิกทำการรวบรวม แต่งเนื้อร้องและร่วมกันฝึกร้องเพลง คนที่ร้องเพลงทำนองแทนโบราณเป็นก็สอนให้แก่สมาชิกคนอื่นๆ”

จังหวัดกาวบั่งอนุรักษ์เพลงพื้นเมือง - ảnh 2ชั้นเรียนสอนการร้องเพลงทำนองแทน

ควบคู่กับการจัดรายการแสดงศิลปะและการประกวดร้องเพลงพื้นเมืองเพื่อตอบสนองความต้องการด้านวัฒนธรรมของประชาชน สมาคมอนุรักษ์เพลงพื้นเมืองของชนเผ่าต่างๆในจังหวัดกาวบั่งยังได้แนะนำและส่งเสริมให้บรรดาศิลปินเปิดชั้นเรียนสอนการเล่นพิณและร้องเพลงพื้นเมืองให้แก่ผู้เรียนประมาณ 600 คน มีส่วนร่วมสร้างขบวนการวัฒนธรรมและศิลปะในท้องถิ่น นาง จูถิเควียน หมู่บ้าน 4 เมืองกาวบั่ง จังหวัดกาวบั่ง สมาชิกสมาคมอนุรักษ์เพลงพื้นเมืองเมืองกาวบั่งรู้สึกดีใจมากที่ได้เข้าร่วมรายการแสดงศิลปะที่ถนนคนเดินกิมด่ง จังหวัดกาวบั่ง ได้เผยว่า

  “ดิฉันเล่นพิณติ๋งเป็นตั้งแต่ตอนเป็นนักศึกษา ตอนนี้ ดิฉันเกษียณอายุราชการแล้วจึงมีเวลาฝึกเพิ่มเติม   ปัจจุบัน ดิฉันสามารถร้องเพลงพื้นเมืองและเล่นพิณติ๋งได้อย่างคล่องแคล่ว ดิฉันชอบการร้องเพลงทำนองแทนและเล่นพิณติ๋งมากและมีความประสงค์ว่า สมาคมฯจะนับวันยิ่งพัฒนาเพื่อมีส่วนร่วมอนุรักษ์การร้องเพลงทำนองพื้นเมืองของชนเผ่าต่างๆ”

การร้องเพลงพื้นเมืองและการระบำรำฟ้อนเป็นศิลปะการแสดงที่เกิดจากวิถีชีวิต การทำงาน น้ำใจ และอิทธิพลด้านความเชื่อและศาสนาของชนกลุ่มน้อยต่างๆ ซึ่งมีความผูกพันกับชีวิตทางจิตใจ การอนุรักษ์ สืบสานและการส่งเสริมคุณค่าของเพลงและการระบำรำฟ้อนพื้นเมืองของชนเผ่าต่างๆในจังหวัดกาวบั่งมีส่วนร่วมเพิ่มความตระหนักและความภาคภูมิใจของประชาชนในการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าในท้องถิ่น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด