จังหวัดเดียนเบียนพยายามอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมนามธรรม

(VOVWORLD) - จังหวัดเดียนเบียนมีมรดกวัฒนธรรมที่ได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมใหม่อีก 2 รายการคือ เทศกาลปีใหม่บุญหวดน้ำของชนกลุ่มน้อยเผ่าลาวที่หมู่บ้านนาซาง 1 ตำบลเน๊วงาม อำเภอเดียนเบียนและศิลปะการทอผ้าลวดลายพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยเผ่าม้งฮัวในตำบลซาลง อำเภอเหมื่องจ่า ซึ่งถือเป็นผลของความพยายามอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒธรรมนามธรรมของทางการและชุมชนชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆในจังหวัดเดียนเบียน
จังหวัดเดียนเบียนพยายามอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมนามธรรม - ảnh 1เทศกาลปีใหม่บุญหวดน้ำของชนกลุ่มน้อยเผ่าลาวในหมู่บ้านนาซาง  (Photo nhandan.com.vn)

การที่กระทรวงวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยวได้มอบหนังสือรับรองเทศกาลปีใหม่บุญหวดน้ำเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมแห่งชาติได้สร้างความปลื้มปิติยินดีเป็นอย่างมากในชุมชนชนกลุ่มน้อยเผ่าลาวในหมู่บ้านาซาง ซึ่งถือเป็นการตอบแทนความพยายามของชนกลุ่มน้อยเผ่าลาวในการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ต่อการผสมผสานเข้ากับกระแสวัฒนธรรมที่ทันสมัย ดังนั้นในปีนี้ ชาวบ้านได้จัดเทศกาลปีใหม่บุญหวดน้ำที่ยิ่งใหญ่และคึกคักมากขึ้นเพื่อขอพรให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล การเก็บเกี่ยวได้ผลดีและทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงในปีใหม่ พร้อมทั้งให้การศึกษาแก่ลูกหลานและคนรุ่นใหม่ของชนกลุ่มน้อยเผ่าลาวให้ตระหนักได้ดีและมีความรับผิดชอบต่อประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าตน คุณป้า เหลื่องซาวไม หัวหน้าคณะทำพิธีกรรมในเทศกาลบุญหวดน้ำของหมู่บ้านนาซาง 1 เผยว่า    “วันนี้ ชาวบ้านนาซางมีความภาคภูมิใจที่เทศกาลปีใหม่บุญหวดน้ำได้รับการรับรองเป็นมรดกนามธรรมแห่งชาติ ชาวบ้านทุกคนก็ออกมาเล่นและแสดงศิลปะอย่างสนุกสนาน วันนี้เรามีความสุขที่สุดในชีวิต แต่ไม่ใช่ในวันนี้เท่านั้น พวกเราจะตั้งใจร่วมกันพยายามส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยเผ่าลาวให้คงอยู่ตลอดกาลและสานต่อให้คนรุ่นหลัง”

การอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆขณะนี้ไม่เพียงแต่เป็นความปรารถนาของผู้สูงอายุและศิลปินเท่านั้น หากยังได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของทั้งชุมชน นางฝามมิงห์โจว์ หัวหน้าสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเดียนเบียน จังหวัดเดียนเบียนได้เผยว่า พร้อมกับการธำรงคุณค่าวัฒนธรรมนามธรรมที่ได้รับการรับรอง หน่วยงานฯจะทำการประชาสัมพันธ์และธำรงคุณค่าวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยต่างๆในท้องถิ่น            “หลังจากที่ได้รับการรับรองไปแล้ว เราต้องธำรงและอนุรักษ์มรดกเหล่านี้เพื่อไม่ให้ถูกหลอมรวมกับวัฒนธรรมอื่นๆที่ไม่ใช่วัฒนธรรมพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยในท้องถิ่น นี่คือปัจจัยที่พวกเราต้องให้ความสนใจและกำหนดแนวทางให้ประชาชนปฏิบัติตามในเวลาข้างหน้าเพื่อธำรงและปฏิบัติการชี้นำที่ถูกต้องของพรรคและรัฐต่อไป”

ขณะนี้ จังหวัดเดียนเบียนได้ตรวจสอบและขึ้นปัญชีมรดกดีเด่นของ 18 ชนกลุ่มน้อยที่ต้องได้รับการอนุรักษ์โดยเร็วและเสนอให้รับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมแห่งชาติ เช่น พิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ เต๊ตดอกไม้ของชนกลุ่มน้อยเผ่าโก๊ง พิธีเซ่นไหว้หมู่บ้านและงานบุญข้าวใหม่ของชนกลุ่มน้อยเผ่าห่าหญี่ ซิงมุน ซีลา ปางฟ้องและเทศกาลเซ่นไหว้ตระกูลของชนกลุ่มน้อยเผ่าค้าง เป็นต้น ทางจังหวัดยังประสานงานกับสถาบันดนตรีจัดทำเอกสารศิลปะการฟ้อนแซว่ไทยจังหวัดเดียนเบียนเพื่อยื่นให้ยูเนสโกรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ ตามร่างโครงการอนุรักษ์และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆในจังหวัดเดียนเบียนพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมระยะปี 2016-2020 ถึงปี 2020 คุณค่ามรดกวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยทั้งหมดจะได้รับการตรวจสอบและประเมินคุณค่ามรดกวัฒนธรรมดีเด่นและเป็นตัวแทนร้อยละ 50 จะได้รับการอนุรักษ์และส่งเสริม นายด่าวหงอกเหลือง รองผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดเดียนเบียนเผยว่า “ชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆในปัจจุบันไม่สามารถอนุรักษ์วัฒนธรรมของตนเอาไว้ได้ เมื่อเราลงพื้นที่วิจัยมรดกวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เราก็ต้องใช้เวลานาน ต้องหาและรวบรวมเอกสารจำนวนมากเพื่อค้นคว้ารากฐานและการพัฒนาของวัฒนธรรมในยุคต่างๆของชนกลุ่มน้อยแต่ละกลุ่ม พวกเรากำลังพยายามวิจัยต่อไปเพื่อให้ถึงปี 2020 จะสามารถตรวจสอบและจัดทำชุดประวัติศาสตร์เกี่ยวกับรากฐานของ 19 ชนกลุ่มน้อยในจังหวัดเดียนเบียนได้อย่างสมบูรณ์”

แม้จำนวนมรดกในจังหวัดเดียนเบียนได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมแห่งชาติยังมีไม่มากนักหากเปรียบเทียบกับศักยภาพที่มีอยู่ของจังหวัดแต่การรับรองสองมรดกดังกล่าวก็ถือเป็นสัญญาณที่น่ายินดีที่พิสูจน์ให้เห็นถึงความพยายามของทางการและประชาชนชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆในจังหวัดเดียนเบียนในการอนุรักษ์ ธำรงและส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติ สร้างความหลากหลายด้านชีวิตวัฒนธรรมให้แก่จังหวัดเขตเขาในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด