ชุดอ๊ายหย่ายเพิ่มความสวยงามให้แก่สตรีเวียดนาม
Huong Ly-Lan Anh -  
( VOVworld )-ชุดอ๊าวหย่ายหรือเสื้อยาวกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๗ และได้กลายเป็นชุดประจำชาติของสตรีเวียดนาม ชุดเสื้อยาวไม่เพียงแต่สะท้อนวัฒนธรรมการแต่งกายและมารยาทของสตรีเวียดนามเท่านั้น หากยังสะท้อนจิตใจและบุคลิกของพวกเขาอีกด้วย
( VOVworld )-
ชุดอ๊าวหย่ายหรือเสื้อยาวกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๗ และได้กลายเป็นชุดประจำชาติของสตรีเวียดนาม ชุดเสื้อยาวไม่เพียงแต่สะท้อนวัฒนธรรมการแต่งกายและมารยาทของสตรีเวียดนามเท่านั้น หากยังสะท้อนจิตใจและบุคลิกของพวกเขาอีกด้วย
ชุดอ๊าวหย่ายเป็นยูนิฟอร์มของข้าราชการหญิง
คุณป้าหวิ่งเถี่ยนกีมเตวี้ยน เลขาธิการคนแรกของกองเยาวชนสาขามหาวิทยาลัยวรรณกรรมหรือมหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์นครโฮจิมินห์ในปัจจุบันยังจำได้ดีถึงช่วงปีค.ศ.๑๙๗๐ ที่ท่านเป็นนักศึกษาสวมชุดอ๊าวหย่ายสีขาวบริสุทธิ์รณรงค์เพื่อนนักศึกษาและนักเรียนเข้าร่วมขบวนการปฏิวัติของนักเรียนและนักศึกษาในไซ่ง่อนเพื่อเดินขบวนประท้วงและหยุดเรียนประท้วงสหรัฐอเมริกา ซึ่งชุดอ๊าวหย่ายสวยเสน่ห์ได้ช่วยให้ท่านสามารถผ่านด่านตรวจของตำรวจหลายด่านเพื่อปล่อยใบปลิวและกลอนอวยพรปีใหม่ของประธานโฮจิมินห์ในถนนสายต่างๆในไซ่ง่อน คุณป้าหวิ่งเถี่ยนกีมเตวี้ยนเล่าว่า “ ดิฉันเข้าร่วมขบวนการปฏิวัติตอนกำลังเรียนในโรงเรียนหญิงยาลอง เมื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยวรรณกรรม ดิ ฉันได้รณรงค์ให้นักศึกษาหญิงสวมชุดเสื้อยาวตั้งแต่ปีค.ศ.๑๙๗๐ ซึ่งถือเป็นขบวนการที่ดีเพราะชุดเสื้อยาวสะท้อนจิตใจมุ่งมั่นและบุคลิกของสาวเวียดนาม สมัยนั้นได้มีการแต่งบทกวีและเพลงยกย่องขบวนการสวมชุดเสื้อยาวของมหาวิทยาลัยวรรณกรรม ”
ภาพลักษณ์ชุดอ๊ายหย่ายได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของสตรีเวียดนาม ปัจจุบัน โรงเรียนมัธยมปลายและหน่วยราชการบางหน่วยงานได้เลือกอ๊าวหย่ายเป็นชุดนักเรียนหรือยูนิฟอร์มให้แก่ข้าราชการหญิง ท่านหวิ่งหงอกเวิน ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์หลักฐานสงครามมักสวมอ๊าวหย่ายในวันราชการเพราะท่านเห็นว่า อ๊ายหย่ายผูกพันกับสตรีเวียดนามผ่านระยะต่างๆทางประวัติศาสตร์ ชุดอ๊าวหย่ายไม่เพียงแต่เสริมความงามให้แก่สตรีเวียดนามเท่านั้น หากยังช่วยประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของเวียดนามสู่ทั่วโลก ดังนั้น ในโอกาสสำคัญๆ พนักงานหญิงของพิพิธภัณฑ์ต้องสวมใส่ชุดอ๊าวหย่าย ทางพิพิธภัณฑ์ยังจัดกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับอ๊าวหย่ายนอกเหนือจากงานหลักคือ จัดแสดงหลักฐานและผลเสียจากสงคราม เช่นนิทรรศการชุดเอ๊าวหย่ายสตรีเวียดนามที่ผ่านควันและเพลิงแห่งสงคราม และการพบปะกับผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์สงครามที่สวมชุดอ๊าวหย่าย ทั้งนี้ทำให้อ๊าวหย่ายได้เข้าสู่หัวใจผู้เข้าชมพร้อมๆกับเรื่องราวเกี่ยวกับสงครามที่สะเทือนใจของบรรดาผู้เข้าชม ท่านหวิ่งหงอกเวินเปิดเผยว่า “ แต่ละปีมีผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ประมาณ ๗ แสนคน ชุดอ๊าวหย่ายจะเป็นชุดยูนิฟอร์มของพนักงานบรรยายและพนักงานต้อนรับแขกของที่นี่ ซึ่งได้รับความชื่นชอบจากนักท่องเที่ยว ดังนั้นนักท่องเที่ยวเหล่านี้ได้ถ่ายรูปกับพวกเราเพื่อเป็นที่ระลึก อาจกล่าวได้ว่า ชุดอ๊าวหย่ายเป็นทูตแห่งวัฒนธรรมเวียดนามก็ว่าได้ ”
ชุดอ๊าวหย่ายในปัจจุบัน
ผ่านระยะต่างๆทางประวัติศาสตร์ ชุดอ๊าวหย่ายของสตรีเวียดนามได้รับการปรับปรุงและมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยช่วงปีค.ศ.๑๙๓๐-๑๙๔๐ อ๊าวหย่ายไม่ได้รับการปรับปรุงมากนักแต่สีของอ๊าวหย่ายนั้นมีความสดใสมากขึ้น มาปีค.ศ.๑๙๓๙ ได้มีการปรับปรุงให้มีคอเสื้อกว้างรูปหัวใจ หรือมีปกคอเสื้อที่ติดโบ ช่วงปีค.ศ.๑๙๕๐ อ๊าวหย่ายได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยรัดช่วงลำตัว ต่อมาช่วงปีค.ศ.๑๙๖๐ ชายเสื้อด้านหน้าและด้านหลังยาวเท่ากันถึงข้อเท้า คอรูปกลม ช่วงต้นปีค.ศ.๑๙๗๐ ได้ปรากฎอ๊าวหย่ายมินิที่ชายเสื้อสั้นและแคบยาวประมาณหัวเข่า เสื้อกว้างและไม่รัดรูป ชายกางเกงขาบาน ๖๐ เซ็นติเมตร ท่านมินห์แห่งดีไซเนอร์อ๊าวหย่ายชื่อดังของเวียดนามเปิดเผยว่า บรรดานักออกแบบมีการศึกษาและคิดค้นแฟชั่นอ๊าวหย่ายใหม่ๆทั้งในด้านเนื้อผ้าและลวดลาย ท่านมินห์แห่งกล่าวว่า “ เรามักจะชินกับการที่อ๊าวหย่ายนั้นต้องใช้ผ้าบางเบาให้พลิ้วไหวตามแรงลม แต่เราสามารถใช้ผ้าชนิดอื่นๆได้เช่น ผ้าเปลือกไม้ ผ้าไหมหนาและวัตถุดิบสังเคราะห์ที่พิมพ์ลวดลายและตัดด้วยเลเซอร์และเทคนิกอื่นๆ ”
ชุดอ๊ายหย่ายหรือเสื้อยาวช่วยเพิ่มความสวยงามให้แก่ผู้หญิงเวียดนามทุกวัย อ๊าวหย่ายรัดช่วงลำตัวและปล่อยชายเสื้อที่ยาวและแยกหน้าหลังออกจากกัน ยามเคลื่อนไหวหรือลมพัดชายเสื้อจะเปิดออกให้เห็นช่วงโค้งของสะโพกที่งดงาม อ๊าวหย่ายจึงถือเป็นมรดกทางศิลปะของชาวเวียดนาม และที่สำคัญก็คือเป็นงานศิลปะที่มีชีวิต ./.
Huong Ly-Lan Anh