บรรยากาศความฮึกเหิมของการปฏิวัติ ในเดือนสิงหาคมได้ซึมซับเข้าสู่ในดนตรีของเวียดนาม

( VOVworld ) - การปฏิวัติที่ประสบชัยชนะในเดือนสิงหาคมปี ๑๙๔๕ เป็นเครื่องหมายบ่งบอกถึงระยะหัวเลี้ยวหัวต่ออันยิ่งใหญ่ในประวัติศาตร์ของชาติเวียดนาม ตั้งแต่นั้นมา ประวัติศาสตร์ดนตรีของเวียดนามก็ได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติซึ่งได้ก้าวเข้าสู่ระยะใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ  โดยผู้ที่ทำงานด้านดนตรีก่อนการปฏิวัติเดือนสิงหาคมต่างยินดีเข้าร่วมการปฏิวัติด้วยการสร้างผลงานใหม่รวมทั้งบทเพลงแนวใหม่ๆที่ได้รับการประพันธ์ในช่วงนี้เช่น บทเพลงยกย่องระบอบใหม่ ชีวิตใหม่ ประธานโฮจิมินห์ที่รักยิ่งและการปฏิวัติช่วยชุบชีวิตให้แก่ประชาชน


( VOVworld ) - การปฏิวัติที่ประสบชัยชนะในเดือนสิงหาคมปี ๑๙๔๕ เป็นเครื่องหมายบ่งบอกถึงระยะหัวเลี้ยวหัวต่ออันยิ่งใหญ่ในประวัติศาตร์ของชาติเวียดนาม ตั้งแต่นั้นมา ประวัติศาสตร์ดนตรีของเวียดนามก็ได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติซึ่งได้ก้าวเข้าสู่ระยะใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ  โดยผู้ที่ทำงานด้านดนตรีก่อนการปฏิวัติเดือนสิงหาคมต่างยินดีเข้าร่วมการปฏิวัติด้วยการสร้างผลงานใหม่รวมทั้งบทเพลงแนวใหม่ๆที่ได้รับการประพันธ์ในช่วงนี้เช่น บทเพลงยกย่องระบอบใหม่ ชีวิตใหม่ ประธานโฮจิมินห์ที่รักยิ่งและการปฏิวัติช่วยชุบชีวิตให้แก่ประชาชน

บรรยากาศความฮึกเหิมของการปฏิวัติ  ในเดือนสิงหาคมได้ซึมซับเข้าสู่ในดนตรีของเวียดนาม - ảnh 1
นักดนตรีวันกาวที่มีชื่อเสียงของเวียดนาม

ก่อนหน้านี้ ๖๗ ปี ชาวเวียดนามทุกคนได้ทำการลุกขึ้นสู้ทั่วประเทศ ซึ่งคนฮานอยได้ทำการลุกขึ้นสู้ก่อนท้องถิ่นอื่นๆ  โดยบ่ายวันที่ ๑๗ สิงหาคมปี ๑๙๔๕  ชาวนครหลวงได้พากันมาชุมนุนอย่างคับคั่ง ณ จตุรัสหญ่าฮ้าตเลิ้นหรือโรงละครใหญ่เพื่อสนับสนุนรัฐบาลของเจิ่นจ๋องกีมที่จัดโดยสมาคมข้าราชการ ซึ่งขณะนั้นได้ปรากฎธงแดงดาวเหลืองผืนใหญ่ของทางการปฏิวัติที่ระเบียงของโรงละครใหญ่ เหตุการณ์นี้ได้สร้างความปิติยินดีให้กับมวลชนอย่างล้นพ้น  ในช่วงนั้นได้ปรากฎบทเพลงหลายบทอันเป็นการปลุกขวัญให้กำลังใจประชาชนทั่วประเทศลุกขึ้นยึดอำนาจเก่า ซึ่งโดดเด่นคือเพลง เตี๊ยนกวนกาหรือ ยาตราทัพของนักประพันธ์ดนตรีวันกาวที่แต่งเมื่อปลายปี ๑๙๔๔ ซึ่งเพลงบทนี้ได้ดังขึ้นทั่วทุกตรอกซอกซอยของกรุงฮานอยในวันที่ ๑๙ สิงหาคม หรือเพลงกุ่งเญาดีห่งบิงหรือร่วมกันปราบปรามศัตรูของนักประพันธ์ดนตรีดิ่งญูที่บรรยายถึงบรรยากาศอันฮึกเหิมและหาญกล้าของขบวนการโซเวียด-เหง่ติ๋งเมื่อปี ๑๙๓๐  นักดนตรีแทงตุ่งของสถานีวิทยุกระจายเสียงเวียดนามเผยว่า “ ต่อจากผลงานของนักดนตรีดิ่งญูได้มีบทเพลงหลายบทเกี่ยวกับการปฏิวัติของประเทศ ซึ่งก่อนอื่นก็เพื่อปลุกขวัญจิตใจของประชาชนในการเข้าร่วมการปฏิวัติในเดือนสิงหาคมไม่ว่าจะเป็นเพลง ซูกิ๊กกาหรือเสียงเพลงของทหารท้องถิ่นของนักดนตรีโด่หญวน เพลงมาร์ชกาเหงยแทนเนียนหรือสรรเสริญเยาวชนของนักดนตรีลิวหิวเฟือก  เพลง ดว่านเหวก๊วกกวนหรือกองกำลังป้องกันประเทศของนักดนตรีฟานหวิ่งเดี๋ยว  ปี ๑๙๔๕ มีเพลง ชาวฮานอย ของเหงวียนดิ่งทีและปี ๑๙๔๖ เพลงกลับสู่ฮานอยของฮุยซู   บทเพลงเหล่านี้ได้สะท้อนแนวคิดอห่งการปฏิวัติ แนวคิดใหม่ๆอันเป็นการปลุกเร้าให้ทุกคนมุ่งสู่งานใหญ่ที่สำคัญของประเทศคือการยึดคืนอำนาจการปกครองจากระบอบเก่าเพื่อเอกราชของประเทศ

บรรยากาศความฮึกเหิมของการปฏิวัติ  ในเดือนสิงหาคมได้ซึมซับเข้าสู่ในดนตรีของเวียดนาม - ảnh 2
นักประพันธ์ดนตรีลิวหิวเฟือก 

การปฏิวัติในเดือนสิงหาคมเสมือนสายลมใหม่ที่ทำให้เปลวเพลิงแห่งการต่อสู้ชัชวาลย์ขึ้น  ทำให้นักประพันธ์ดนตรีได้หันมาแต่งบทเพลงที่ยกย่องการปฏิวัติที่อมตะแทนเพลงเกี่ยวกับความรักที่เคยแต่งมาแล้ว ซึ่งเห็นได้จากผลงานของนักประพันธ์ดนตรีที่มีชื่อเสียงของประเทศได้แก่ วันกาว  เหงวียน ดิ่ง ที ในบทเพลง ยาตราทัพ นักรบเวียดนามและเพลงปราบฟาสซิสต์  ซึ่งเพลงมาร์ช ปราบฟาสซิสต์ได้เข้าสู่บรรยากาศของบทเพลงต่อต้านฟาสซิสต์หลายบทของโลก และได้กลายเป็นเพลงกริ่นเริ่มต้นของสถานีวิทยุเวียดนามจนถึงปัจจุบัน  มีเพลงอีกบทที่ได้รับการขับร้องในช่วงเพิ่งทำการปฏิวัติที่บรรยายถึงลมหายใจใหม่ๆจากที่มั่นปฏิวัตินั่นคือ   เสียงเพลงของทหารท้องถิ่นของนักดนตรีโด่หญวน เพลงมาร์ชนี้นักดนตรีโด่หญวนแต่งขึ้นในเรือนจำเซินลาเมื่อต้นปี ๑๙๔๕ ซึ่งได้เผยแพร่ในหมู่นักรบที่ทำการเคลื่อนไหวลับในนครหลวง และในวันที่ชาวฮานอยทำการลุกขึ้นสู้ พวกเขาก็ได้ร้องเพลงนี้ในขณะออกสู่ท้องถนนเดินสำแดงกำลัง

บรรยากาศความฮึกเหิมของการปฏิวัติ  ในเดือนสิงหาคมได้ซึมซับเข้าสู่ในดนตรีของเวียดนาม - ảnh 3
เพลง ๑๙ สิงหาคม 

เพลง  ๑๙ สิงหาคม ของนักดนตรีซวนแอวง นับเป็นเพลงที่พิเศษเพราะได้รับการแต่งขึ้นในขณะที่เขาเข้าร่วมขบวนคนทำการลุกขึ้นสู้ในวันที่ ๑๙ สิงหาคม ที่ออกสู่ท้องถนนเดินสำแดงกำลังจากวันเดี๋ยน ชาญนครหลวงมุ่งสู่ใจกลางเมือง บรรยากาศอันฮึกเหิมของวันนั้นได้บันดาลอารมณ์สุนทรีให้เขาแต่งบทเพลงมาร์ชนี้   นักดนตรีแทงตุ่งเผยต่อไปว่า  “ บทเพลงเกี่ยวกับการปฏิวัติในเดือนสิงหาคมดังเช่นบทเพลง ๑๙ สิงหาคมของนักดนตรีซวนแอวงนั้นมีไม่มากนัก แต่ะมีความเป็นเพลงมาร์ชที่ชัดเจน บทเพลงประเภทนี้ได้สะท้อนชีวิตการปฏิวัติที่เต็มไปด้วยความยากลำบากและความหิวโหยแต่เปี่ยมไปด้วยความรักในชีวิตปฏิวัติที่แจ่มใส ทำให้คนเรารู้สึกรักชีวิต ไม่ลังเลใจและกลายเป็นชีวิตเลือดเนื้อของตนเอง สร้างความมั่นใจในชัยชนะของการปฏิวัติ

บรรยากาศความฮึกเหิมของการปฏิวัติ  ในเดือนสิงหาคมได้ซึมซับเข้าสู่ในดนตรีของเวียดนาม - ảnh 4
นักประพันธ์ดนตรีซวนแอวง

บทเพลงเหล่านี้ได้ดังขึ้นตั้งแต่ช่วงแรกๆของการปฏิวัติ นับเป็นช่วงชีวิตที่ดีงามของศิลปินที่เป็นนักรบ  ศิลปินประชาชนแทงฮัวที่ชื่อเสียงของท่านได้ผูกพันกับเพลงปฏิวัติได้คุยกับพวกเราว่า ทุกครั้งที่ร้องเพลงแนวนี้ท่านรู้สึกเหมือนได้หวนกลับสู่บรรยากาศของการปฏิวัติในเดือนสิงหาคมก่อนหน้านี้ ๖๗ ปี  “ สำหรับดิฉันนั้น เพลงปฏิวัติถือเป็นเลือดเนื้อส่วนหนึ่งของตัวเองจนสามารถร้องได้ไพเราะและได้รับการชื่นชมจากผู้ชมและผู้ฟังแม้จะไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นั้น  เพลงเหล่านี้เป็นเพลงอมตะที่มีลมหายใจตราบเท่าทุกวันนี้และตลอดกาล  เมื่อฟังเพลงปฏิวัติเราสามารถจินตนาการภาพเกี่ยวกับระยะหนึ่งของประวัติศาสตร์อันรุ่งโรจน์ของประเทศที่ถูกทำลายอย่างหนักหน่วงจากฝีมือของศัตรู  แต่เปี่ยมไปด้วยน้ำใจที่มีต่อกันระหว่างทหารกับชาวบ้าน ความปรารถนาอันแรงกล้าให้ประเทศได้รับเอกราชกลับคืนมาของผู้ที่อยู่ในแนวหลังและแนวหน้า

จนถึงขณะนี้ บทเพลงแนวปฏิวัติดังกล่าวเช่น ยาตราทัพ ปราบฟาสซิสต์และ ๑๙ สิงหาคม ยังมีลมหายใจและยังคงอยู่ในความทรงจำของชาวเวียดนามทุกคนเกี่ยวกับอนุสรณ์ในฤดูไม้ผลัดใบเดือนสิงหาคมปี ๑๙๔๕  ความลำบากยากเข็ญและความเสียสละของทหารและชาวเวียดนามในการขับไล่นักล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศสเป็นเวลา ๙ ปี  ซึ่งเพลงมาร์ชเหล่านี้เป็นเพลงที่ได้ประพันธ์ขึ้นในยุคโฮจิมินห์ซึ่งถือเป็นเพลงอมตะ ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด