ประเพณีเชิญวิญญาณบรรพบุรุษกลับบ้านฉลองเทศกาลตรุษเต็ตของชาวภาคใต้

 ( VOVworld )-ชาวภาคใต้เวียดนามมีประเพณีดีงามอย่างหนึ่งคือ ก่อนเทศกาลตรุษเต็ต พวกเขาจะไปทำความสะอาดและจุดธูปถวายดอกไม้และผลไม้ที่สุสานของบรรพบุรุษเพื่อเชิญวิญญาณของพวกท่านกลับบ้านเกิดร่วมฉลองตรุษเต็ต ซึ่งเป็นการแสดงถึงคติประจำใจขอชาวเวียดนามว่า “ดื่มน้ำต้องนึกถึงแหล่งที่มาของน้ำ ” นับเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามและมีลักษณะแห่งความเป็นมนุษยชาติของชาวภาคใต้

( VOVworld )-ชาวภาคใต้เวียดนามมีประเพณีดีงามอย่างหนึ่งคือ ก่อนเทศกาลตรุษเต็ต พวกเขาจะไปทำความสะอาดและจุดธูปถวายดอกไม้และผลไม้ที่สุสานของบรรพบุรุษเพื่อเชิญวิญญาณของพวกท่านกลับบ้านเกิดร่วมฉลองตรุษเต็ต ซึ่งเป็นการแสดงถึงคติประจำใจขอชาวเวียดนามว่า “ดื่มน้ำต้องนึกถึงแหล่งที่มาของน้ำ ” นับเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามและมีลักษณะแห่งความเป็นมนุษยชาติของชาวภาคใต้

ประเพณีเชิญวิญญาณบรรพบุรุษกลับบ้านฉลองเทศกาลตรุษเต็ตของชาวภาคใต้ - ảnh 1
ประเพณีเชิญวิญญาณบรรพบุรุษกลับบ้านฉลองเทศกาลตรุษเต็ตของชาวภาคใต้ - ảnh 2
ถาดอาหารในวันตรุษเต็ต
เมื่อดอกเหมยสีเหลืองและดอกเบญมาศผลิบานเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า วสันต์ฤดูและเทศกาลตรุษเต็ตได้เวียนมาแล้ว  นี่เป็นช่วงเวลาที่ชาวภาคใต้ทิ้งความดิ้นรนเพื่อชีวิตในตลอดหนึ่งปีเพื่อเตรียมทุกอย่างฉลองตรุษเต็ตและต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ  ซึ่งประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวภาคใต้ที่ทำการเกษตรปฏิบัติกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้คือ การเชิญวิญญาณของบรรพบุรุษกลับบ้านเกิดร่วมรับประทานอาหารกับลูกหลาน  นับเป็นประเพณีที่ดีงามและมีความหมายลึกซึ้งในชีวิตทางจิตวิญญาณของชาวภาคใต้ ซึ่งเสมือนสายใยเชื่อมอดีตกับปัจจุบัน

สำหรับภาคใต้นั้น เทศกาลตรุษเต็ตเริ่มตั้งแต่เดือน ๑๒ ตามจันทรคติ  ตามวันที่กำหนด ทุกครอบครัว ตระกูล ผู้แก่ผู้เฒ่าตลอดจนเด็กๆต่างทำความสะอาดสุสาน โดยตัดหญ้าและตบแต่งสุสานของบรรพบุรุษและผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วให้ดูสะอาดและสวยงามมากขึ้น อีกทั้งตัดหญ้าและจุดธูปให้แก่สุสานที่ไร้ญาติและไร้คนดูแล ซึ่งเป็นประเพณีจาบหมาหล่าง ซึ่งหมายถึงการทำบุญและประเพณีที่ดีงามของชาวบ้านที่มาบุกเบิกพื้นที่ใหม่ในภาคใต้ในอดีต  การทำความสะอาดและจุดธูปถวายดอกไม้และผลไม้ถือเป็นขั้นตอนแรกในประเพณีเชิญบรรพบุรุษกลับบ้านร่วมฉลองตรุษเต็ตของชาวภาคใต้ นายหวิ่ง หงอก จ๊าง   นักวิจัยวัฒนธรรมพื้นบ้านกล่าวว่า  “ ตามลัทธิขงจื๊อ นี่คือโอกาสแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ เป็นประเพณีแห่งคุณธรรมว่า ดื่มน้ำต้องนึกถึงแหล่งที่มาของน้ำ  และเป็นความสัมพันธ์ที่ซื่อสัตย์ สำหรับแต่ละคนนั้นนี่คือการแสดงถึงความสำนึกในบุญคุณของคนรุ่นก่อนๆเพราะมีบรรพบุรุษและปู่ย่าตายายจึงมีเรา การรำลึกถึงรากเหง้าและประเพณีจารีตของครอบครัว อีกทั้งเป็นการสั่งสอนให้ลูกหลานได้รู้ถึงเกียรติประวัติอันดีงามที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ให้รุ่นลูกรุ่นหลานสืบสานและอนุรักษ์ ”

ประเพณีเชิญวิญญาณบรรพบุรุษกลับบ้านร่วมฉลองตรุษเต็ตเป็นโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวทุกคนรายงานผลการทำงานและเรื่องราวในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นเรื่องดี เรื่องร้าย การทำมาหากิน การเดินทางไปต่างจังหวัดตลอดจนงานแต่งงานของลูกๆ  ทั้งนี้ ตรุษเต็ตในภาคใต้เป็นตรุษเต็ตสำหรับบรรพบุรุษและผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วก่อน ต่อจากนั้นก็จะเป็นตรุษเต็ตสำหรับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่  นายเจือง หงอก เตื่อง นักวิจัยวัฒนธรรมพื้นบ้าน ในจังหวัดเตี่ยน ซางเปิดเผยว่า  “ ชาวภาคใต้เรียกว่าเลี้ยงกันในตรุษเต็ตเพราะผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่จะหยุดทำงาน จัดงานเลี้ยงกัน ไปเที่ยวและอวยพรตรุษเต็ตแต่ต้องจัดถาดอาหารเซ่นไหว้บรรพบุรุษในสามวันตรุษเต็ต พวกเราจัดงานเลี้ยงกันอย่างอิ่นหนำและสนุกสนานในช่วงตรุษเต็ต บรรพบุรุษก็ต้องอิ่มหนำเช่นกัน ”

ประเพณีเชิญวิญญาณบรรพบุรุษกลับบ้านฉลองเทศกาลตรุษเต็ตของชาวภาคใต้ - ảnh 3
ถาดผลไม้

ดังนั้น ชาวภาคใต้จึงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการเตรียมหิ้งบูชาและถาดอาหารไหว้บรรพบุรุษ ตั้งแต่เช้าวันส่งท้ายปีเก่า ทุกคนในครอบครัวต่างเร่งทำทุกอย่างให้แก่ตรุษเต็ตโดยฝ่ายหญิงเตรียมอาหารถวายบรรพบุรุษ  ส่วนฝ่ายชายเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆและตบแต่งบ้านให้ดูสวยงามขึ้นเพื่ออันเชิญวิญญาณบรรพบุรุษกลับบ้านฉลองตรุษเต็ต ส่วนถาดผลไม้ ๕ อย่างของชาวภาคใต้นั้นต้องมีน้อยหน่า มะพร้าว มะละกอและมะม่วงเพราะพวกเขาถือว่า ผลไม้ดังกล่าวเป็นผลไม้มงคลที่ทำให้เจ้าของบ้านทำมาค้าขึ้น ตอนบ่ายเมื่อเตรียมงานทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย ผู้ใหญ่และผู้ชายของทุกบ้านจะแต่งตัวเรียบร้อยเพื่อทำพิธีอันเชิญวิญญาณของบรรพบุรุษร่วมงานเลี้ยงตรุษเต็ตกับลูกหลาน  และยังจัดถาดผลไม้ ๕ อย่าง ข้าวเหนียวหนึ่งจาน ข้าวกับเกลือ ๑ จาน เหล้า ๒ จอก ชาหนึ่งถ้วยและเครื่องเงินเครื่องทองวางที่ประตูบ้านเพื่อไหว้ผู้ที่มาบุกเบิกผืนดินนี้ ของเซ่นไหว้บรรพบุรุษมีสองส่วนได้แก่ ส่วนที่วางบนหิ้งบูชาใน ๓ วันตรุษเต็ตและอาหารที่ต้องทำในแต่ละวัน  ถาดของเซ่นไหว้ที่วางบนหิ้งบูชามี ขนมโต๋และขนมอินที่ทำจากข้าวและขนมขบเคี้ยวต่างๆเช่น ขิงเชื่อมน้ำตาลและฟักเขียวเชื่อมน้ำตาลเพื่อเป็นการเตือนทุกคนเกี่ยวกับรากเหง้าของตนเอง อีกทั้งมีถาดผลไม้ ๕ อย่างและดอกเบญมาศที่เป็นดอกไม้มงคลที่สื่อถึงบุญทั้ง ๕ ที่ได้รับ  ส่วนถาดอาหารมีไก่ต้มคาบต้นหอม อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการรายงานต่อบรรพบุรุษว่า ในหนึ่งปีที่ผ่านมาได้รับโชคลาภ การทำนาได้ผลดีอีกทั้งสื่อความหวังว่า ปีใหม่จะมีการผลิดอกออกผลและโชคดีกว่าปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีหมูต้มเค็ม ถั่วงอกดอง ปลาทอด ผัดผักและแกงมะระ ซึ่งล้วนเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวภาคใต้ในเทศกาลตรุษเต็ต อาหารเหล่านี้มาจากอาหารและผักที่ปลูกเอง  นายหวิ่ง วัน ฮึง ชาวเตี่ยน ซางเปิดเผยว่า  “ จงถือว่า ในช่วงนั้น บรรพบุรุษกำลังอาศัยอยู่ที่แห่งใดแห่งหนึ่งจึงเชิญกลับบ้าน แล้วจุดธูป ทำอาหารครบทุกอย่างถวายท่าน  มีบางครอบครัวเซ่นไหว้วันละ ๓ ครั้งคือ เช้า เที่ยงและเย็น เรารับประทานอย่างไรก็ทำให้บรรพบุรุษอย่างนั้น  ”
ประเพณีเชิญวิญญาณบรรพบุรุษกลับบ้านฉลองเทศกาลตรุษเต็ตของชาวภาคใต้ - ảnh 4
บรรยากาศการเตรียมฉลองตรุษเต็ต

ประเพณีเชิญวิญญาณบรรพบุรุษกลับบ้านร่วมฉลองเทศกาลตรุษเต็ตกับลูกหลาน ซึ่งบรรพบุรุษเสมือนเทพเจ้าของครอบครัวที่ติดตามลูกหลานและเตือนให้พวกเขาอนุรักษ์เกียรติประวัติอันดีงามที่บรรพบุรุษทิ้งไว้เช่น วิถีชีวิตที่บริสุทธิ์ เกียรติประวัติใฝ่การศึกษาหาความรู้ การขยันทำงาน ดำเนินชีวิตเพื่อความดีและไม่ทำในสิ่งที่เลวร้าย .

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด