ประเพณีโยนลูกช่วงของชนเผ่าไทในเวียดนาม

( VOVworld )-ชนเผ่าไทถือประเพณีโยนลูกช่วงเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่มีความหมายพิเศษและเป็นกิจกรรมวัฒนธรรมที่โดดเด่นด้วยการเข้าร่วมของกลุ่มคน  นับเป็นโอกาสหาคู่ของหนุ่มสาว บอกรักแล้วตกลงอยู่ด้วยกันชั่วนิจนิรันดร

( VOVworld )-ชนเผ่าไทถือประเพณีโยนลูกช่วงเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่มีความหมายพิเศษและเป็นกิจกรรมวัฒนธรรมที่โดดเด่นด้วยการเข้าร่วมของกลุ่มคน  นับเป็นโอกาสหาคู่ของหนุ่มสาว บอกรักแล้วตกลงอยู่ด้วยกันชั่วนิจนิรันดร

ประเพณีโยนลูกช่วงของชนเผ่าไทในเวียดนาม - ảnh 1
สาวชนเผ่าไทเล่นโยนลูกช่วงกันอย่างสนุกสนาน

มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับที่มาของการละเล่นโยนลูกช่วงว่า ขณะที่ชายหญิงชนเผ่าไทกำลังปลูกข้าว.oนามักจะโยนกำต้นกล้าให้แก่กัน จึงเกิดประเพณีการละเล่นโยนลูกช่วง  ภาษาชนเผ่าไทลูกช่วงเรียกว่า ก๊อนก๊วงที่สื่อความหมายถึงความมั่นใจ ความสุขและความเจริญรุ่งเรือง  ประเพณีการโยนลูกช่วงของชนเผ่าไทยจะขาดไม่ได้ในงานเทศกาลใหญ่ๆของพวกเขาเช่น เทศกาลโหล่งต่งหรือเทศกาลแรกนาขวัญ เทศกาลเซนเหมื่องหรือเทศกาลเซ่นไหว้ของหมู่บ้านและบ้านเมืองตลอดจนเทศกาลตรุษเต็ต  คุณต่อง ถิ่ เทิน ชาวบ้านตำบลเหมื่อง กาง อำเภอทาน เวียน จังหวัดลายโจว์เปิดเผยว่า  “ เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิเวียดนามในช่วงตรุษเต็ต พวกเราจะทำลูกช่วงเพื่อเข้าร่วมการละเล่นโยนลูกช่วง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มาจากชีวิตของชนเผ่าไทที่ผูกพันกับการทำนาดำ ”

ลูกช่วงมีขนาดเท่าส้มลูกใหญ่ที่เป็นรูปกลมและถูกเย็บเป็นซีกๆที่มีหลากหลายสีสันซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งอวกาศ ข้างในใส่เมล็ดพืชชนิดต่างๆเช่น เมล็ดข้าว ฝ้าย งา เมล็ดผักกาดเขียวและถั่วซึ่งสะท้อนความหวังเกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ การคงอยู่และการผลิบานภายใต้ท้องฟ้าแห่งความเป็นอิสระตลอดจนความหวังในการอนุรักษ์สิ่งที่ดีงามให้แก่คนรุ่นหลังๆ ลูกช่วงทำจากเศษผ้าสี่เหลี่ยมจัตตุรัสขนาด ๒๐x๔ เซ็นติเมตร เย็บปิดสามด้านและเหลือหนึ่งด้านเพื่อใส่เมล็ดเข้าไปแล้วเย็บปิดให้สนิท ส่วนพู่นั้นยาวประมาณ ๕๐ เซ็นติเมตรทำจากผ้าที่ทนทาน  แต่กว่าจะได้ลูกช่วงที่สวยและตระกาลตาต้องรู้จักเลือกผ้าและรู้จักใช้ผ้าสีต่างๆให้เข้ากันดีเพื่อทำพู่   ลูกช่วงมีหลากสีเช่น สีเขียว แดง มะม่วงและเหลือง  ส่วนการเย็บลูกช่วงนั้นต้องเย็บให้สวยเพราะมีความหมายทางจิตวิญญาณ  ชนเผ่าไทเชื่อว่า ต้องติดพู่ที่สี่มุมของลูกช่วงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสี่ทิศ พู่ล่างสุดเป็นสัญลักษณะเกี่ยกวกับพระภูมิเจ้าที่ ลูกช่วงที่มีพู่เยอะและหลากหลายสีสันจะนำโชค ความสุขและความรุ่งเรืองมาให้แก่ชาวบ้าน

เมื่อทำลูกช่วงเสร็จ ชาวบ้านจะร่วมกันเล่นโยนลูกช่วงซึ่งมักจะจัดในลานใหญ่ของหมู่บ้านหรือทุ่งนาที่เพิ่งเก็บเกี่ยวเสร็จตลอดจนที่กลางแจ้งที่สามารถบรรจุคนจำนวนมาก  คุณป้าขว่าง ถิ่ เซวียน อาศัยที่เมืองลาย โจว์เปิดเผยว่า  “ วิธีการเล่นโยนลูกช่วงมีสองวิธีได้แก่ โยนลูกช่วงลอดบ่วงเป็นรายบุคคล หากใครสามารถโยนลูกช่วงลอดบ่วงได้คนนั้นจะชนะ ถือเป็นคนเก่งและจะโชคดีตลอดปี  ส่วนวิธีที่สองคือแบ่งเป็นกลุ่มผู้เล่นออกเป็นสองฝ่ายคือฝ่ายชายและฝ่ายหญิงหรือกลุ่มหนึ่งที่มีทั้งชายและหญิงให้เป็นสองฝ่าย แต่ละฝ่ายจะยืนหันหน้าเข้าหากันมีระยะห่างกันพอสมควรแล้วโยนลูกช่วงให้กันไปมา หากใครไม่สามารถรับลูกช่วงได้ต้องมอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้แก่ผู้ชนะ ซึ่งหนุ่มสาวมักจะมอบผ้าพันคอ หมวก เสื้อและกำไลมือให้แก่กัน ”

ประเพณีโยนลูกช่วงของชนเผ่าไทในเวียดนาม - ảnh 2
งานถูกจัดขึ้นที่บริเวณกลางแจ้ง

หนุ่มสาวชนเผ่าไทแต่งชุดประจำชนเผ่าโยนลูกช่วงที่มีพู ๕ สีตระกาลตาให้กันไปมาท่ามกลางเสียงเชียร์อย่างสุดมัน ทำให้บรรยากาศมีความสนุกสนานและตื่นเต้นมาก นี่เป็นโอกาสให้หนุ่มสาวแสดงความรักต่อกันผ่านลูกช่วง  เมื่อชายหนุ่มคนใดรักสาวคนหนึ่งก็จะโยนลูกช่วงให้แล้วมอบของที่ระลึกเพื่อเป็นการการันตีความรักของตน  ซึ่งจากงานเทศกาลช่วงฤดูใบไม้ผลินี้หนุ่มสาวหลายคู่ได้ตกลงมาอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

การเล่นลูกช่วง ยังเป็นการช่วยฝึกทักษะความชำนาญในการคว้าจับสิ่งของที่พุ่งเข้ามาปะทะใบหน้า อันเป็นการฝึกการป้องกันตัวจากสิ่งของที่ลอยมาหาใบหน้าอย่างกระทันหันได้ด้วย ในช่วงระหว่าง การเล่นลูกช่วงหนุ่มสาวที่เล่นลูกช่วงจะร้องเพลงโต้ตอบกัน เพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการเล่นและความผูกพันในชุมชนชนเผ่า  เชิญท่านมาเที่ยวเขตเตยบั๊กหรือภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนามและร่วมการเล่นลูกช่วงของชนเผ่าไท ท่านจะได้สัมผัสกับประเพณีที่ประทับใจและมีลักษณะแห่งจิตวิญญาณที่แฝงไว้ซึ่งความหมายแห่งมนุษยศาสตร์อันสูงส่ง ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามของเขตเขาตอนบนเตย บั๊กของเวียดนามที่ท่านไม่ควรพลาด .

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด