พัฒนาเอกลักษณ์วัฒนธรรมของเขตดว่าย (Xứ Đoài)ในแนวโน้มพัฒนากรุงฮานอย

(VOVworld)-ก่อนหน้านี้ 5 ปี  นครหลวงฮานอยได้ขยายอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดห่าไต และอำเภอเมลิง จังหวัด หวิงฟุ๊กกับ 4 ตำบลของอำเภอเลืองเซิน จังหวัด หว่าบิ่ง  ทำให้พื้นที่ของฮานอยกว้างใหญ่ขึ้นและทำให้สถานะของนครหลวงประเทศเวียดนามเหมาะสมกับแนวโน้มพัฒนาใหม่ของประเทศด้วย.....

(VOVworld)-ก่อนหน้านี้ 5 ปี  นครหลวงฮานอยได้ขยายอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดห่าไต และอำเภอเมลิง จังหวัด หวิงฟุ๊กกับ 4 ตำบลของอำเภอเลืองเซิน จังหวัด หว่าบิ่ง  ทำให้พื้นที่ของฮานอยกว้างใหญ่ขึ้นและทำให้สถานะของนครหลวงประเทศเวียดนามเหมาะสมกับแนวโน้มพัฒนาใหม่ของประเทศด้วย  ทว่าการขยายพื้นที่ดังกล่าวย่อมเกิดปัญหาตามมาไม่น้อยในการบริหารและพัฒนาสังคมโดยเฉพาะการอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมทังลอง-ฮานอยรวมทั้งการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านเขตดว่ายของจังหวัด ห่าไต(เดิม)โดยนักข่าวโตต๋วนจะกล่าวถึงเรื่องนี้ผ่านบทความที่พาดหัวว่า “พัฒนาเอกลักษณ์วัฒนธรรมของเขตดว่าย(Xứ Đoài)ในแนวโน้มพัฒนากรุงฮานอย”.
พัฒนาเอกลักษณ์วัฒนธรรมของเขตดว่าย (Xứ Đoài)ในแนวโน้มพัฒนากรุงฮานอย - ảnh 1
หมู่บ้านโบราณเดื่องเลิม

            เมื่อก่อนนี้ฮานอยเป็นที่รู้จักกันดีของผู้คนไม่เพียงแต่จากปูชนียสถานประวัติศาสตร์และ มรดกต่างๆทางวัฒนธรรมที่ขึ้นชื่อ อาทิ  เขต หว่างแถ่งทังลองมรดกทางวัฒนธรรมของโลก  ย่านถนนโบราณ  สระหว่านเกี๋ยม   วัดเสาเดียวหรือ  วิหารวรรณกรรม วันเหมียวก๊วกตื๋อหยาม มหาวิทยาลัยแห่งแรกของเวียดนามเท่านั้นหากยังขึ้นชื่อด้วยมรดกวัฒนธรรมนามธรรมและศิลปะอีกด้วย  เช่น เพลงพื้นเมืองกาจู่   ศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกน้ำ  เทศกาลพื้นบ้านวิหารย้อง   และเมื่อฮานอยขยายพื้นที่กว้างออกไปก็ได้ทำให้ผู้คนรู้จักเอกลัษณ์ทางวัฒนธรรมอีกหลายๆแห่ง ซึ่งรวมไปถึงวัฒนธรรมเขตดว่ายที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานเคียงคู่กับทังลองฮานอย  เขตดว่ายเป็นผืนแผ่นดินที่มีสถานที่ทางประวัติศาสตร์ขึ้นชื่อหลายแห่งเช่น   หมู่บ้านโบราณ เดื่องเลิม  วัดเฮือง วัดไตเฟืองเป็นต้น นอกจากสถานประวัติศาสตร์ที่ขึ้นชื่อแล้ว    เขตดว่ายยังเป็นแหล่งของหมู่บ้านศิลปาชีพและหมู่บ้านวัฒนธรรมอันหลากหลายเป็นถิ่นกำเนิดของศิลปะเพลงโยและเพลงแจ่วเต่า   เมื่อเขตดว่ายกลายเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของนครฮานอยได้ทำให้วัฒนธรรมของเมืองหลวงและวัฒนธรรมของเขตดว่ายได้อยู่ร่วมกันสร้างเป็นวัฒนธรรมทังลองฮานอยที่ผสมผสานอย่างหลากหลาย   ฮานอยทุกวันนี้เป็นเมืองที่มีโบราณสถานประวัติศาสตร์ 5.300 แห่ง  ในจำนวนนั้นมี 2.100 แห่งที่ถูกจัดอันดับเป็นปูชนียสถานแห่งชาติอีกทั้งยังเป็นแหล่งของงานเทศกาลพื้นบ้านกว่า 1.000รายการจากในจำนวนเทศกาลพื้นบ้านของประเทศ 8.000 รายการ   ฉะนั้นจะเห็นได้ว่านอกจากความภาคภูมิใจแล้วยังมีภาระหนักหน่วงที่ชาวนครหลวงต้องรับผิดชอบนั่นคือการอนุรักษ์และพัฒนาคุณค่าวัฒนธรรมอันหลากหลายเหล่านั้น   นาย ฟาน ดัง ลอง  รองหัวหน้าคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ของพรรคสาขากุรงฮานอยกล่าวว่า“ในการพัฒนาที่มีการผสมผสานด้านวัฒนธรรมอันหลากหลายของนครทังลองฮานอยกับเขตดว่ายและท้องถิ่นอื่นๆนั้นก็เกิดความห่วงใยกันว่าเอกลักษณ์วัฒนธรรมของกรุงฮานอยจะค่อยๆจางหายไปหรือไม่  แต่แล้วดังความเป็นจริงที่เราเห็นทุกวันนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นรวมทั้งเอกลักษณ์วัฒนธรรมของเขตดว่ายยังคงได้รับการอนุรักษ์เอาไว้”
พัฒนาเอกลักษณ์วัฒนธรรมของเขตดว่าย (Xứ Đoài)ในแนวโน้มพัฒนากรุงฮานอย - ảnh 2
ศิลปะการร้องเพลงพื้นเมืองกาจู่

ในช่วง 5 ปีภายหลังการขยายพื้นที่  วัฒนธรรมของทังลองฮานอยได้กลายเป็นจุดรวมของวัฒนธรรมที่โดดเด่นของชาติ  นาง เล ถิ เติน จาง  รองผู้อำนวยการฝ่ายวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยวนครฮานอยเผยว่า“การผสมผสานก็คือการนำความโดดเด่นอันหลากหลายของแต่ละวัฒนธรรมมารวมกันเพื่อพัฒนาเอกลักษณ์ของแต่ละวัฒนธรรมนั้นให้ยั่งยืน  ซึ่งมิใช่สิ่งที่เพิ่งทำกันตอนที่มีการขยายพื้นที่ของฮานอย เพราะเมื่อก่อนนี้ก็ได้มีเยาวชนดีเด่นในทั่วประเทศได้มาศึกษาเล่าเรียน ที่ฮานอยและได้มีส่วนร่วมสร้างความหลากหลายให้แก่วัฒนธรรมของนครหลวงฮานอยแห่งประวัติศาสตร์ สี่พันปี” จากพื้นฐานคุณค่าวัฒนธรรมอันดีงามของนครหลวงทังลองฮานอย  เมื่อเข้ามารวมอยู่ในพื้นที่ของนครฮานอย  วัฒนธรรมของเขตดว่ายก็ได้รับการเชิดชูและพัฒนาต่อไปแถมยังช่วยเพิ่มสีสรรอันหลากหลายให้แก่เอกลักษณ์วัฒนธรรมของนครหลวงฮานอยใหม่อย่างเห็นได้ชัดจากการเชื่อมโยงสถานที่ทางประวัติศาสตร์  ทัศนียภาพ หมู่บ้านศิลปาชีพอันเก่าแก่และวัฒนธรรมของเขตลุ่มแม่น้ำแดงกับโบราณสถานแห่งเทพนิยายเกี่ยวกับเทพเจ้าของภูเขาต๋านเวียนเซินแท้งในเขตบาหวี่ที่ได้กลายเป็นเส้นทางทัวร์เชิงวัฒนธรรมและนิเวศวิทยาที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ   นาย  ห่า ซวน ฮึงเลขาธิการพรรคสาขาอำเภอ บาหวี่กล่าวว่า“ ทางอำเภอกำลังทำการอนุรักษ์และปฏิสังขรณ์ ปูชนียสถาน 300 แห่งในพื้นที่ในนั้นมี 70 แห่งเป็นปูชนียสถาน ระดับชาติ  ระดับจังหวัดและนคร ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนร่วมของทางอำเภอในการพัฒนาคุณค่าวัฒนธรรมของประชาชาติเวียดนาม”
5 ปีที่ผ่านมาชาวฮานอยไม่เพียงแต่อนุรักษ์วัฒนธรรมทังลองเท่านั้นหากยังพัฒนาคุณค่าของวัฒนธรรมแห่งประวัติศาสตร์สี่พันปีที่ได้รับการเสริมเติมความหลากหลายจากคุณค่าวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของเขตดว่ายร่วมกับแนวโน้มพัฒนาของนครหลวงฮานอยอีกด้วย./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด