พิธีกรรมและการเล่นชักกะเย่อคือมรดกวัฒนาธรรมระดับนานาชาติ
To Tuan-VOV5 -  
( VOVworld )- ปัจจุบัน เวียดนามได้จัดทำเอกสารเกี่ยวกับ “ พิธีกรรมและการเล่นชักกะเย่อ ”เรียบร้อยแล้วเพื่อยื่นต่อองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติปี ๒๐๑๕ การที่เวียดนาม สาธารณรัฐเกาหลี กัมพูชาและฟิลิปปินส์เข้าร่วมการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับ พิธีกรรมและการเล่นชักกะเย่อจะมีส่วนร่วมต่อการเชิดชูวัฒนธรรมที่สวยงามของเวียดนาม อีกทั้งช่วยขยายความสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศต่างๆในภูมิภาคอีกด้วย
( VOVworld )- ปัจจุบัน เวียดนามได้จัดทำเอกสารเกี่ยวกับ “ พิธีกรรมและการเล่นชักกะเย่อ ”เรียบร้อยแล้วเพื่อยื่นต่อองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติปี ๒๐๑๕ การที่เวียดนาม สาธารณรัฐเกาหลี กัมพูชาและฟิลิปปินส์เข้าร่วมการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับ พิธีกรรมและการเล่นชักกะเย่อจะมีส่วนร่วมต่อการเชิดชูวัฒนธรรมที่สวยงามของเวียดนาม อีกทั้งช่วยขยายความสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศต่างๆในภูมิภาคอีกด้วย
ตั้งแต่ปลายปี ๒๐๑๓ กระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวเวียดนามได้ตัดสินใจจัดทำเอกสารเกี่ยวกับ“ พิธีกรรมและการเล่นชักกะเย่อดั้งเดิม ”เพื่อขอให้องค์การยูเนสโกพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ นับเป็นครั้งแรกที่เวียดนามร่วมมือกับประเทศต่างๆในการจัดทำเอกสารมรดกในรูปแบบหลายชาติ ซึ่งขณะนี้ เอกสารดังกล่าวถูกส่งถึงองค์การยูเนสโกเรียบร้อยแล้วเพื่อรอการพิจารณารับรองในปลายปีหน้า ชักกะเย่อเป็นการละเล่นพื้นเมืองที่มักจะจัดขึ้นในงานเทศกาลขอเก็บเกี่ยวได้ผลช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ ขอฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล การทำการเกษตรได้ผลดี ชาวบ้านมีชีวิตที่ผาสุก การเล่นชักกะเย่อสะท้อนพลังกันแข็งแกร่งแห่งความสามัคคีของชุมชนที่ทำการเกษตร ศ.โงดึ๊กถิ่งห์สมาชิกสภามรดกวัฒนธรรมแห่งชาติเปิดเผยว่า “ นี่มิใช่เป็นการละเล่นทั่วไป หากเป็นการแข่งขันที่มีลักษณะแห่งจิตรวิญญาณ การแข่งขันเพื่อหาฝ่ายชนะและทีมที่ชนะต่อจากนั้นพวกเข้าได้ทำบุญที่ศาลเจ้าและวิหารเพื่อเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์ทั้งหลาย ชาวบ้านมีความเชื่อว่า นอกจากรางวัลและความภูมิใจแล้วชาวบ้านทุกคนรวมทั้งตัวผู้ชนะจะได้รับการคุ้มครองจากสิ่งศักดิ์ทั้งหลาย อาจกล่าวได้ว่า การละเล่นพื้นเมืองในงานประเพณีต่างๆ นอกจากเพื่อความบันเทิงและความพักผ่อนคลายความเหน็จเหนื่อยหรือความเครียดให้แก่ชาวบ้านแล้ว ยังมีความหมายทางจิตรวิญญาณอีกด้วย ”
งานประเพณีของหมู่บ้านฮิวเชิ้ต ตำบลหว่าลอง เมืองบั๊กนินห์เหมือนงานเทศกาลของหมู่บ้านชนบทเวียดนามทั่วไป แต่มีความโดดเด่นที่ไม่มีแห่งใดเหมือนคือ การละเล่นพื้นเมืองชักกะเย่อได้ระบุเข้าในงานหลัก ตำนานเล่าสู่กันมาว่า สมัยโบราณ การก่อสร้างหมู่บ้านต้อ งการชายฉกรรจ์เพื่อลากไม้ชักก่อสร้างศาลเจ้าและบ้าน ดังนั้นเรื่อราวการลากไม้ชักได้ระบุในงานและต่อมาพัฒนาเป็นการละเล่นพื้นเมืองชักกะเย่อ งานเทศกาลáขèงขันชักกะเย่อของหมูบ้านฮิวเชิ้ตถูกจัดขึ้นทุกๆวันที่ ๔ เดือนอ้ายหรือวันที่ ๔ ตรุษเต็ตของเวียดนาม งานจัดขึ้นมาได้ประมาณ ๔๐๐ ปี งานเทศกาลได้รับการจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ด้วยการแห่วอและพิธีบวงสรวงทบทวนประวัติความเป็นมาในการสร้างสรรค์หมู่บ้าน อย่างไรก็ตาม ท่านเหงวียน วัน เจวิ๋น นายกสมาคมผู้สูงอายุของหมู่บ้านฮิวเชิ้ตเห็นว่า การแข่งชักกะเย่อเป็นการแข่งขันที่น่าชมมากในงานเทศกาล “ การแข่งชักกะเย่อส่วนใหญ่ใช้เชือก แต่หมู่บ้านหิวเชิ้ตใช้ไม้ไผ่เพราะมีที่มามาจากตำนานการลากไม้ชัก แต่ละฝ่ายมีไม้คาน ๑ ไม้ใช้ในการแข่งขันเพื่อแสดงความแข็งแกร่งและแข็งแรงของหนุ่มๆ ดังนั้นต้องใช้เวลาการเตรียมเป็นเดือนเพราะต้องหาต้นไผ่และเอาฤกษ์ตัดไม้ไผ่นำกลับบ้าน ครอบครัวใดที่มีไม้ไผ่ได้รับเลือกร่วมงานถือเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ส่วนหนุ่มที่ได้รักเลือกเข้าร่วมการแข่งขันถือเป็นเกียรติให้แก่ครอบครัวและตระกูล ”
กติการการเล่นชักกะเย่อโบราณกำหนดชายชาวบ้าน ๗๐ คนแบ่งเป็นสองฝ่ายชายคือฝ่ายดงและฝ่ายเตย ฝ่ายละ ๓๕ คนและต้องแข่งขัน ๓ รอบ ฝ่ายที่ถือว่าชนะต้องสามารถดึงอีกฝ่ายหนึ่งให้ลู่ตามไปถึงเส้นชัยถึง ๒ รอบ อย่างไรก็ดี ฝ่ายดงต้องชนะทุกครั้งเพราะชาวบ้านเชื่อกันว่า หากฝ่ายดงชนะ ปีนั้นการเก็บเกี่ยวของหมู่บ้านได้ผลดี ด้วยเหตุนี้ ในรอบสุดท้าย ผู้ชมจะเข้ามาช่วยฝ่ายดงจนประสบชัยชนะและงานเทศกาลปิดลงในบรรรยากาศที่สนุกสนานเฮฮากันทุกคน
นอกจากชนชาติกิงซึ่นมีประชากรมากที่สุดในเวียดนามที่มีการเล่นชักกะเย่อพื้นบ้านแล้ว ชนเผ่าอื่นๆในเวียดนามเช่น ไทย หนุ่ง ไตและเย้าก็มีการเล่นชักกะเย่อด้วยเช่นกัน โดยอุปกรณ์ที่ใช้ดึงนั้นจะเป็นเชือกปอ ท่อนไม้หรือสองฝ่ายจับมือกันดึง ประเพณีการเล่นชักกะเย่อในแต่ละท้องถิ่นจะไม่เหมือนกันแต่ล้วนแสดงถึงพลังอันแข็งแกร่ง จิตใจแห่งความสามัคคีและจิตใจเพื่อส่วนรวม นักดนตรีทาวยางที่ศึกษาวิจัยวัฒนธรรมและศิลปะพื้นบ้านมาหลายปีเปิดเผยว่า “ การเล่นชักกะเย่อมีในหลายประเทศแต่วิธีการเล่นของชาวเวียดตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันที่เห็นจากภาพวาดต่างๆแสงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาวเวียดนามนั่นคือ การออกกำลังกาย ไม่มีความรุนแรง เป็นเกมสนุนกสนาน ผลการแพ้ชนะไม่สำคัญแต่สำคัญคือความสนุกมาให้แก่ทุกคน ”
ในสังคมปัจจุบัน การเล่นชักกะเย่อยังเป็นที่รู้จักแพร่หลายโดยเฉพาะในหมู่นักเรียน นักศึกษาและแรงงาน การยื่นเอกสารขอให้องค์การยูเนสโกพิจารณาขึ้นทะเบียนพิธีกรรมและการเล่นชักกะเย่อเป็นมรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติจะเป็นโอกาสเผยแพร่ เพิ่มความหลงไหลและความรักกีฬาพื้นบ้านชนิดนี้ในหมู่ประชาชนเป็นทวีคูณ ./.
To Tuan-VOV5