พิธีแต่งงานของชนเผ่าไทยดำในเวียดนาม

ในจังหวัด ĐiệnBiên อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนามมีชนเผ่าไทยดำและไทยขาวอาศัย อยู่มากเป็นร้อยละ 38.4 ของประชากรในจังหวัดซึ่งกระจายอยู่ในแทบทุกอำเภอแต่มากที่สุดคืออำเภอ ĐiệnBiên และอำเภอ TuầnGíao ก็เหมือนกับชนเผ่าอื่นๆ ชนเผ่าไทยมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ที่พัฒนามานานมาก แต่จนถึงบัดนี้ก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์อันหลากหลายนั้นไว้ได้โดยเฉพาะพิธีแต่งงาน

       ในจังหวัด ĐiệnBiên อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนามมีชนเผ่าไทยดำและไทยขาวอาศัย อยู่มากเป็นร้อยละ 38.4 ของประชากรในจังหวัดซึ่งกระจายอยู่ในแทบทุกอำเภอแต่มากที่สุดคืออำเภอ ĐiệnBiên และอำเภอ TuầnGíao ก็เหมือนกับชนเผ่าอื่นๆ ชนเผ่าไทยมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ที่พัฒนามานานมาก แต่จนถึงบัดนี้ก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์อันหลากหลายนั้นไว้ได้โดยเฉพาะพิธีแต่ง งาน
       จากการใช้ชีวิตประจำวันจะเห็นได้ว่า ชนเผ่าไทยดำในเวียดนามยังคงรักษาวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนไว้ได้ค่อนข้างสมบูรณ์ โดยเฉพาะพิธีแต่งงานซึ่งชนเผ่าไทยดำจะให้ความสำคัญมากและตระเตรียมงานอย่างละเอียดรอบคอบ แม้ว่าการจัดงานหรือตกแต่งสถานที่จะมีความทันสมัยเข้ามาแทรกอยู่บ้าง แต่ทุกขั้นตอนสำคัญของการแต่งงานจะต้องเป็นไปตามประเพณีเดิมของชนเผ่าไทยดำ กล่าวคือก่อนจะมีพิธีแต่งงาน ฝ่ายชายต้องไปบ้านฝ่ายหญิงขอหมั้นแล้วอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิงจนถึงวันแต่งงาน ดร.MaiThanhSơn หัวหน้าสถาบันการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตภาคกลางสังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์สังคมเวียดนามเผยว่า เมื่อก่อนนี้ ฝ่ายชายต้องอยู่บ้านฝ่ายหญิงนานมาก แต่ปัจจุบันอาจจะอยู่เพียงสองสามเดือนก็ได้ลูกผู้ชายชนเผ่าไทยส่วนใหญ่ตั้งแต่เกิดมาจนโตจะได้รับการดูแลเอาใจใส่มากกว่าลูกผู้หญิงซึ่งพ่อแม่จะตามใจทุกอย่างและเมื่อก่อนแต่งงานจะต้องไปอยู่บ้านฝ่ายหญิงนานตั้งแต่ 6 ถึง 12 ปีโดยพ่อตาและแม่ยายจะสอนเรื่องการเป็นหัวหน้าครอบครัวและการใช้ชีวิตคู่หลังการแต่งงานให้
       เมื่อสิ้นกำหนดเวลาอยู่บ้านฝ่ายหญิงแล้วคู่บ่าวสาวก็จะเข้าพิธีแต่งงานที่จัดขึ้นอย่างเอิกเกริก ในวันแต่งงาน ฝ่ายเจ้าบ่าวจะเอาสินสอดทองหมั้นมาให้ฝ่ายเจ้าสาวอย่างมากมายตามประเพณี พิธีแต่งงานจะเริ่มขึ้นที่ห้องนอนของคู่บ่าวสาว เริ่มแรกคือพิธี “ปูที่นอน” โดยจะเลือกผู้หญิงของฝ่ายชาย 2 คนและฝ่ายหญิง 2 คน ผู้หญิงทั้ง 4 คนนี้จะต้องมีสุขภาพแข็งแรง มีครอบครัวที่ผาสุขจึงจะได้ทำหน้าที่ดังกล่าว ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นฤกษ์ดีให้ชีวิตคู่ของเจ้าบ่าวและเจ้าสาวมีความผาสุข มีทั้งลูกชายและ   ลูกสาว เมื่อเสร็จพิธีปูที่นอนแล้วก็จะเป็นพิธี “เกล้ามวยผมไว้บนหัว” ซึ่งเป็นพิธีของชนเผ่าไทยดำโดยเฉพาะเพื่อให้ทุกคนรู้ว่า หญิงผู้นี้มีสามีแล้วและสิ่งสำคัญที่ขาดมิได้คือ ก่อนที่จะเข้าพิธีแต่งงานประมาณ 1 ปี สาวชนเผ่าไทยดำจะต้องเตรียมฟูกที่นอนหมอนผ้าห่ม เสื้อผ้าและสิ่งของอื่นๆอีกมากมายเอาไปให้ครอบครัวสามี เพราะเมื่อไปอยู่กับสามีแล้วก็จะไม่มีเวลาทำงานอื่น ฉนั้นจะต้องเตรียมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆให้แก่ครอบครัวของสามีใช้ได้ในหลายปี ปัจจุบันแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างในบางขั้นตอนของประเพณีการแต่งงาน แต่ขั้นตอนดังกล่าวยังคงได้รับการปฏิบัติเหมือนเดิม นาง LòThịViên กำลังช่วยลูกสาวทำฟูกและผ้าห่มเพราะปีหน้าจะให้ลูกสาวแต่งงาน เธอบอกว่าการเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ดังกล่าวก็แล้วแต่เราชอบทำมากน้อยแค่ไหน ไม่มีการกำหนด ถ้าครอบครัวมีฐานะเศรษฐกิจอาจจะทำ 10 ถึง 20 ชิ้น แต่ถ้าอัตคัตหน่อยจะทำเพียง 10 ชิ้นก็ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เตรียมไม่ว่าจะเป็นผ้าห่ม ฟูกหมอน หม้้อไห หมูหมากาไก่หรือวัวควายก็จะเอาไปให้บ้านสามีหมด”

พิธีแต่งงานของชนเผ่าไทยดำในเวียดนาม - ảnh 1
ของขวัญมอบให้เจ้าสาว

        เมื่อหวนนึกถึงวันแต่งงานของตัวเอง นาง LòThịSim เล่าให้ฟังว่าตอนนั้น ฉันเอาของไปบ้านสามีมากมายหลายอย่าง เช่น ผ้าห่ม ฟูก หมอน เสื้อผ้า เครื่องใช้ในครัวเป็นต้น ประเพณีของชนเผ่าไทยดำต้องทำแบบนั้น ถ้าเตรียมของเยอะมากๆ ตัวเองทำไม่ทันพ่อแม่จะช่วยทำให้ พ่อแม่สอนฉันทำฟูกและผ้าห่มตั้งแต่อายุ 13 ปี”
       ไปเที่ยวบ้านชาวไทยดำในช่วงนี้เราจะได้สัมผัสกับบรรยากาศสดชื่นและความงามของธรรมชาติที่มีมวลแมกไม้เหล่าผกาแข่งกันเบ่งบานอวดสีสันสดสวยงามตา เติมแต่งให้ชีวิตของหนุ่มสาวชาวไทยดำเต็มไปด้วยความสุขสันต์ชื่นบานอิ่มอาบซาบซ่านใจในการเตรียมตัวเข้าสู่งานวิวาห์./.

LanAnh-VOV5

คำติชม

เอี่ยม ทองดี

เรื่องราวทั้งหมด คือ ทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่ประเมินค่าไม่ได้(สูงยิ่ง)ของประเทศเวียดนาม ขอชื่นชมที่สังคมเวียดนามมีทุนเหล่านี้มากมาย และขอภาวนาให้ทุนเหล่านี้ดำรงอยู่อย่างเข้มแข็งตราบนานเท่านาน
ขอบคุณ

ข่าวอื่นในหมวด