ฟื้นฟูทำนอง “เกื๋อดิ่ง” ในการร้องเพลงทำนอง “กาจู่”
Ngoc Anh - VOV5 -  
(VOVWORLD) -การร้องเพลงทำนอง “เกื๋อดิ่ง” ถือเป็นต้นกำเหนิดของเพลงทำนอง “กาจู่” ที่รู้จักทั่วไปในปัจจุบันแต่ถูกสูญหายหลงลืมไปเป็นเวลานานหลายสิบปีเพราะไม่มีคนสืบทอด ซึ่งหลังจากทำการวิจัยและฟื้นฟูมาเป็นเวลา 3 ปี นักวิจัยดนตรีบุ่ยจ่องเหี่ยน จากสถาบันวัฒนธรรมศิลปะเวียดนามและทีมงานได้ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูการร้องเพลงทำนอง “เกื๋อดิ่ง” หรือการร้องเพลงในพิธีเซ่นไหว้บูชาตามแบบโบราณอย่างสมบูรณ์
สโมสรฟู้ถิร้องเพลงกาจู่ |
พร้อมกับศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของเวียดนามอย่าง “ต่วง” “แจ่ว”และ “ก๋ายเลือง” เป็นต้น “กาจู่” หรือยังเรียกว่าการร้องเพลง “อ๋าด่าว” และ “โกเด่า” ก็ถือเป็นอีกหนึ่งมรดกวัฒนธรรมที่โดดเด่นของเวียดนาม ซึ่งมีการผสมผสานระหว่างบทกวีกับดนตรีอย่างกลมกลืน
ตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2014 นักวิจัยบุ่ยจ่องเหี่ยนได้เริ่มทำการวิจัยรูปแบบการแสดงเพลงทำนอง “เกื๋อดิ่ง” ซึ่งในช่วงเวลานั้น เหลือแค่ศิลปินกาจู่อาวุโสเหงียนฟู้แดะที่รู้จักทั้งสองรูปแบบเท่านั้น ดังนั้น เขาเป็นคนเดียวที่มีความรู้และสามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการร้องเพลงกาจู่ได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อปลายปี 2016 สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะเวียดนามได้มอบหน้าที่ให้นักวิจัยบุ่ยจ่องเหี่ยนจัดทำโครงการ “อนุรักษ์กาจู่ในกรุงฮานอยตามวิธีการเข้าถึงใหม่” และต้นปี 2017 คุณเหี่ยนได้จัดตั้งสโมสรกาจู่ฟู้ถิเพื่อทดลองผลการวิจัยทางทฤษฎีต่างๆ และเมื่อสามารถสะสมฟื้นฟูทำนองส่วนไหนได้ เขาก็รีบไปยังจังหวัดหายเยืองเพื่อให้ศิลปินเหงียนฟู้แดะช่วยประเมิน เมื่อโครงการได้เสร็จในขั้นพื้นฐาน ศิลปินเหงียนฟู้แดะก็ล้มป่วย แต่คุณเหี่ยนก็ไม่ย่อท้อและยิ่งทุ่มเทกับงานวิจัยต่อไป คุณเหี่ยนกล่าวว่า “ก่อนหน้านี้ ศิลปินกาจู่รุ่นใหม่เรียนและฝึกร้องตามอารมณ์และความเคยชินเท่านั้น แต่ผมได้บันทึกลำดับเสียงของกาจู่ของนักร้องอาวุโสหลายท่านแล้วทำเป็นแผนผังและโน๊ตดนตรีเพื่อสอนให้เด็กรุ่นใหม่สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น กาจู่เป็นดนตรีพิเศษ ซึ่งมีการผสมผสานระหว่างการเล่นเครื่องเคาะจังหวะและพิณ ดังนั้น ต้องเข้าใจแผนผังเพื่อสามารถร้องเพลงกาจู่ตามเทคนิคการร้องของนักร้องอาวุโสได้”
เมื่อก่อนนี้ ศิลปินกาจู่ในสโมสรต่างๆมักจะเรียนผ่านการสอนแบบปากต่อปาก ซึ่งมักจะมีข้อจำกัดไม่ถูกต้องตามทำนองโบราณ ดังนั้น โครงการฟื้นฟูอนุรักษ์กาจู่ของนักวิจัยบุ่ยจ่องเหี่ยนสามารถสรุปทฤษฎีของการร้องเพลงกาจู่ตามมาตรฐานของกาจู่โบราณเพื่อช่วยให้นักร้องรุ่นใหม่ร้องตาม ซึ่งถือเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมในการวิจัยดนตรีพื้นเมืองเวียดนาม รองศ.ดร. เลืองห่งกวาง รองหัวหน้าสถาบันวัฒนธรรมศิลปะเวียดนามเผยว่า “โครงการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าของมรดกเพลงพื้นเมืองทำนองกาจู่ในกรุงฮานอยได้ช่วยให้นักร้องรุ่นใหม่มีวิธีการเข้าถึงใหม่ โดยสามารถเรียนหลักพื้นฐานของจังหวะดนตรีโบราณชนิดนี้ นอกเหนือจากการอาศัยตัวอย่างประสบการณ์ของคนรุ่นก่อนช่วยให้ศิลปินรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงและร้องทำนอง “เกื๋อดิ่ง” ที่สูญหายได้”
|
ควบคู่กับการฟื้นฟู นักวิจัยบุ่ยจ่องเหี่ยนและสโมสรฟู้ถิยังจัดทำอัลบั้ม “การร้องทำนองเกื๋อดิ่ง” ที่มีบทเพลงตัวอย่าง โดยเฉพาะมีบางบทได้รับการขับร้องเป็นครั้งแรกหลังจากที่สูญหายไปเป็นเวลา 60 ปี นี่ถือเป็นความสำเร็จของนักวิจัยบุ่ยจ่องเหี่ยนผ่านการสะสมรวบรวมและสรุปเทคนิคการเล่น การร้องและการเคาะจังหวะของศิลปินที่มีชื่อเสียงในการร้องเพลงกาจู่สมัยก่อนเพื่อจัดทำหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ใช้ในการร้องเพลงกาจู่สมัยใหม่ รองศ.ดร.หวูเหญิดทัง อดีตหัวหน้าวิชาทฤษฎีดนตรีพื้นเมืองของสถาบันดนตรีแห่งชาติเวียดนามได้ประเมินว่า “นี่คือโครงการวิจัยที่มีคุณค่าเป็นอย่างมาก แม้งานเยอะแต่คุณเหี่ยนก็ทำได้อย่างรอบคอบละเอียดและถูกทิศทาง ผมขอเสนอให้ทางสถาบันฯและสมาคมพื้นเมืองเวียดนามให้การช่วยเหลือเพื่อให้โครงการนี้ได้รับการตีพิมพ์โดยเร็ว”
โครงการ “อนุรักษ์กาจู่ในฮานอยตามแนวทางการเข้าถึงใหม่” ได้รับการรับรอง ณ กรุงฮานอยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายนปี 2017 โดยมีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกาจู่ในรอบ 1 ศตวรรษและสรุปด้านทฤษฎีขั้นพื้นฐานเพื่อฟื้นฟูมรดกดนตรีของบรรพบุรุษมีส่วนร่วมอนุรักษ์และสืบทอดการร้องเพลงทำนองกาจู่ในชีวิตสมัยใหม่ต่อไป.
Ngoc Anh - VOV5