มาวัดเยยฟังการบรรเลงพิณพื้นบ้านของชนเผ่าเขมร

( VOVworld )-ชีวิตทางศิลปะและวัฒนธรรมของชนเผ่าเขมรในภาคใต้ประเทศเวียดนามมีความหลากหลายซึ่งเห็นได้จากงานเทศกาลต่างๆเช่น เทศกาลดอลตา เทศกาลOk-om-boc และงานเทศการแข่งเรือหางยาวที่มีดนตรีประกอบที่สร้างบรรยากาศครึกครื้น  สิ่งที่ขาดมิได้เพื่อสร้างบรรยากาศวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าเขมรคือ วงดนตรีเพนทาโทนิกที่ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านของชนเผ่าเขมร  โดยเฉพาะที่วัดเยยซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ในจังหวัดซอกจังทางภาคใต้ประเทศเวียดนามไม่เพียงแต่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่รู้จักกันแพร่หลายเท่านั้น หากยังเป็นสถานที่แสดงดนตรีพื้นบ้านของชนเผ่าเขมรอีกด้วย


( VOVworld )-
ชีวิตทางศิลปะและวัฒนธรรมของชนเผ่าเขมรในภาคใต้ประเทศเวียดนามมีความหลากหลายซึ่งเห็นได้จากงานเทศกาลต่างๆเช่น เทศกาลดอลตาหรือการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับ เทศกาลOk-om-bocหรืองานเซ่นไหว้พระจันทร์ขอให้การทำนาได้ผลดีและงานเทศการแข่งเรือหางยาวที่มีดนตรีประกอบที่สร้างบรรยากาศครึกครื้น  สิ่งที่ขาดมิได้เพื่อสร้างบรรยากาศวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าเขมรคือ วงดนตรีเพนทาโทนิกที่ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านของชนเผ่าเขมร  โดยเฉพาะที่วัดเยยซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ในจังหวัดซอกจังทางภาคใต้ประเทศเวียดนามไม่เพียงแต่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่รู้จักกันแพร่หลายเท่านั้น หากยังเป็นสถานที่แสดงดนตรีพื้นบ้านของชนเผ่าเขมรอีกด้วย

มาวัดเยยฟังการบรรเลงพิณพื้นบ้านของชนเผ่าเขมร - ảnh 1
แบนด์เล่านเครื่องดนตรีพื้นบ้านที่วัดเยย 

เสียงเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้านของชนเผ่าเขมร ณ บริเวณ วัดเยยมักได้สร้างความเร้าใจให้แก่นักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศ  วัดเยยเป็นโบราณสถานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมระดับชาติและมีอาวุกว่ ๔๐๐ ปี และนักท่องเที่ยวที่มาวัดนี้จะได้ยินเสียงเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีของชนเผ่าเขมรโดยเฉพาะเครื่องดนตรีที่แปลกใหม่สำหรับพวกเขาเช่นพิณซอด้วง ขิม กระจับปี่ ซึ่งได้รับการชื่นชมจากนักท่องเที่ยว  คุณลุงฟัว ซวง หัวหน้าวงดนตรีเปิดเผยว่า วงดนตรีของวัดเยยได้รับการก่อตั้งเมือปี ๒๐๐๙ รวมสมาชิก ๙ คนที่ล้วนเป็นผู้สูงอายุ พวกเขามาจากหมู่บ้านต่างๆแต่มีความหลงไหลเดียวกันคือดนตรี บางคนต้องเดินทางไกลถึง ๑๐ ก.ม.เพื่อมาที่นี่เล่นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของชนเผ่าตน  นับแต่นั้นมา สมาชิกทุกคนของวงดนตรีจะมาวัดเยยทุกวันเพื่อเล่ยดนตรีบริการให้แก่นักท่องเที่ยวฟัง คุณลุงซวงเปิดเผยว่า  “ บางท้องถิ่นในจังหวัดซอกจังจัดตั้งวงเล่นเครื่องดนตรีพื้นบ้านแต่อยู่ได้ไม่นาน พวกเขาจะเล่นในโอกาสงานเทศกาลหรือได้รับเชิญให้ไปเล่นตามสถานที่ต่างๆประมาณ ๑-๒ ครั้งต่อปี  ส่วนวงดนตรีของพวกเราแสดงทุกวันตั้งแต่ ๗.๓๐.นถึง ๑๖.๐๐.นจนกว่านักท่องเที่ยวจะกลับหมด ”

คุณลุงจ่า วินห์ อายุ ๘๗ ปี ที่มีพื้นเพอยู่ที่ตำบลทาม โดน อำเภอหมี เซวียน ท่านเป็นสมาชิกที่สูงอายุที่สุดของวงและเคยเข้าร่วมคณะศิลปะชุมชน  เมื่ออายุสูงมากแล้ว ท่านยังคงอยากได้เล่นเครื่องดนตรีของชนเผ่าเขมร ดังนั้นเมื่อได้รับเชิญเข้าร่วมวงดนตรีเพื่อบริการลูกค้า ท่านจึงตอบรับคำเชิญทันที  คุณลุงวินห์กล่าวว่า “ ผมแก่แล้ว แต่ยังเล่นเครื่องดนตรีได้จึงเข้าร่วมวงดนตรี ประเพณี วัฒนธรรมพื้นบ้านของชนเผ่าเขมรที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษแต่คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยชอบ มีแต่รุ่นอาวุโสเท่านั้นที่หวงแหน เครื่องดนตรีพื้นบ้านของชนเผ่าเขมรก็มีมาแต่บรรพบุรุษ  ทางวัดมีเครื่องดนตรีพวกเราจึงจัดเป็นวงดนตรี ผมมาที่นี่เล่นเครื่องดนตรีและสอนให้แก่สมาชิกหน้าใหม่เพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณีของชนเผ่าตนให้อยู่นานเท่านาน ”

ยังมีสมาชิกของวงดนตรีที่เคยเป็นสมาชิกในคณะศิลปะชุมชนอื่นๆที่ต้องเดินทางไกลเพื่อมาวัดเยยร่วมวงดนตรี ใบหน้าของพวกเขาแสดงความสุขเพราะดนตรีพื้นบ้านที่พวกเขาเล่นนั้นได้รับการสนับสนุนจากนักท่องเที่ยวอย่างไม่ขาดสาย  ความสุขสำหรับพวกเขาไม่เฉพาะแค่ได้เล่นเครื่องดนตรีพื้นบ้านเท่านั้น  หากยังได้แสดงความรักศิลปะแห่งดนตรี  พวกเขามีความประสงค์ว่าจะมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าตน  คุณลุงฟัว ซวง เปิดเผยว่า “ ผมอยากอนุรักษ์ประเพณีของชนเผ่าเขมรให้อยู่ตราบนานเท่านาน ดังนั้นผมพยายามให้วงดนตรีนี้อยู่ได้นาน ผมจะฝึกการเล่นเครื่องดนตรีให้แก่ผู้ที่หลงไหลในเครื่องดนตรีประเภทนี้  ผมจะเชิญชวนผู้ที่รู้จักเล่นแต่ยังไม่ชำนาญมาร่วมวงดนตรีและจะฝึกให้พวกเขาด้วย

ภายหลังจัดตั้งมา ๗ ปี วงดนตรีพื้นบ้านของชนเผ่าเขมรวัดเยยสามารถสร้างชื่อเสียงไปไกลถึงเขตที่มีชนเผ่าอาศัยอยู่ พวกเขาไม่เพียงแต่เล่นดนตรีเพื่อบริการนักท่องเที่ยวที่มานมัสการวัดเยยเท่านั้น  หากยังได้รับเชิญแสดงในงานเทศกาลพื้นเมืองและงานแต่งงาน อันเป็นการมีส่วนร่วมต่อการอนุรักษ์และตอบสนองความต้องการในการเสพวัฒนธรรมของชนเผ่าเขมร .

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด