รูปลักษณ์สัตว์ศักดิ์สิทธิ์เงในศิลปะประติมากรรมเวียดนามโบราณ
Ha Hiep-To Tuan -  
( VOVworld )-งานนิทรรศการรูปลักษณ์สัตว์ศักดิ์สิทธิ์เงในศิลปะประติมากรรมเวียดนามโบราณได้รับการจัดขึ้น ณ นครโฮจิมินห์เมื่อเร็วๆนี้ โดยสิ่งของวัตถุที่จัดแสดงในงานได้แก่ ผลงานศิลปะและเอกสารวิจัยเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของเง ซึ่งเป็นสัตว์เวียดนามโดยแท้ซึ่งได้รับการแนะนำสู่สายตาผู้ชมอย่างสมบูรณ์และเป็นระบบ ทั้งนี้ทำให้ผู้ชมเข้าใจคุณค่าวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของเวียดนามมากขึ้น
( VOVworld )-งานนิทรรศการรูปลักษณ์สัตว์ศักดิ์สิทธิ์เงในศิลปะประติมากรรมเวียดนามโบราณได้รับการจัดขึ้น ณ นครโฮจิมินห์เมื่อเร็วๆนี้ โดยสิ่งของวัตถุที่จัดแสดงในงานได้แก่ ผลงานศิลปะและเอกสารวิจัยเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของเง ซึ่งเป็นสัตว์เวียดนามโดยแท้ซึ่งได้รับการแนะนำสู่สายตาผู้ชมอย่างสมบูรณ์และเป็นระบบ ทั้งนี้ทำให้ผู้ชมเข้าใจคุณค่าวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของเวียดนามมากขึ้น
เงทองแดงศตวรรษที่ ๑๗ ณ จังหวัดนามดิ่นห์
สัตว์สองตัวที่มีความใกล้ชิดกับชีวิตของคนเวียดนามมาตลอดคือ ควายและสุนัข โดยควายช่วยในการไถนาเพื่อปลูกข้าว ส่วนสุนัขทำหน้าที่เฝ้าดูแลบ้านเพื่อป้องกันพวกมิจฉาชีพและสัตว์ป่า ผ่านมาหลายศตวรรษ ชาวเวียดนามได้สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมสุนัขจากหินและถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่เฝ้าดูแลและปราบภูติผีปีศาจ ดังนั้นสุนัขหินจึงมักพบเห็นทั่วไปตามประตูหมู่บ้านหรือประตูบ้าน สุนัขหินเหล่านี้ถูกแกะสลักอย่างละเอียดประณีตในท่านั่ง แต่สุนัขหินที่ตั้งไว้ตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆเช่น ศาลาประจำหมู่บ้านและวัดวาอารามได้แกะสลักให้มีความศักดิ์ศิทธิ์มากขึ้นและสลักเป็นรูปเง สัตว์ศักดิ์สิทธิ์เงถือเป็นสัตว์พิเศษในวัฒนธรรมเวียดนามที่แตกต่างกับกิเลนในวัฒนธรรมของจีน โดยกิเลนคล้ายกับสิงโต มีเขา ขาเหมือนขาควาย ตัวกิเลนอ้วนท้วนและผิวมีเกล็ดคล้ายเกล็ดมังกร ปากคาบลูกโลกในท่านั่งและเท้าข้างหนึ่งวางบนลูกโลก ส่วนตัวเงของเวียดนามไม่มีเขา ตัวเรียวสง่างาม ขาคล้ายขาหมา นายเหงวียนแทงตุ่งนักวิจัยวัฒนธรรมในนครโฮจิมินห์เปิดเผยว่า “ เงของเวียดนามมีลักษณะพิเศษเพราะมาจากการจินตนาการของบรรพบุรุษแต่มีศิลปะ มันไม่เหมือนสัตว์ตัวใดในโลก ผมรู้สึกมีความสุขมากที่นักศึกษามาชมงานจำนวนมากด้วยความตั้งใจ พวกเขาดูแต่ละชิ้นด้วยความทะนุถนอมเพื่อรับรู้ข้อมูลวัฒนธรรมโบราณของชาติ ”
เงหินสองตัวที่พระราชวังหว่างแถ่งเว้
ในหลายศตวรรษที่ผ่านมา รูปสัตว์ตัวเงได้รับการตบแต่งตามวัดโบราณเช่น บนขื่อคานบ้าน ที่เชิงชายศาลาประจำหมู่บ้านอานหว่าจังหวัดห่านาม เฟิ้ตหลกจังหวัดท้ายบินห์ ศาลาประจำหมู่บ้านฝู่หลาวจังหวัดบั๊กยาง ที่หมู่บ้านจูงเกิ่นจังหวัดเหง่อานและหมู่บ้าเตยดั่งที่เซินเตย ตลอดจนเบนเสาศาลาประจำหมู่บ้านโห่ยท้ง จังหวัดห่าติ่ง
งานนิทรรศการรูปลักษณ์สัตว์ตัวเงในศิลปะประติมากรรมเวียดนามโบราณมีการจัดแสดงผลงาน ๖๐ ชิ้นเกี่ยวกับตัวเงที่ทำจากหิน เซรามิก ไม้และทองแดง และเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับรูปลักษณ์เงในประวัติศาสตร์ประติมากรรมเวียดนามโบราณตั้งแต่สมัยราชวงศ์หลี เจิ่น เลและเหงวียนราวศตวรรษที่ ๑๑ถึงศตวรรษที่ ๑๙ ทั้งนี้ทำให้ผู้ชมเห็นคุณค่าทางศิลปะเวียดนามโดยแท้ นางสาวเจิ่นถิ่หวิ่งมาย นักศึกษาคณะศิลปะการอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยวันลาง นครโฮจิมินห์เปิดเผยว่า “ ดิฉันมาชมงานเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างประติมากรรมเวียดนามกับประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน เพื่อสามารถเลือกลวดลายต่างๆในการผลิตผลงานของตัวเองให้คงความเป็นเวียดนามได้อย่างถูกต้อง ”
งานนิทรรศการได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติและนักศึกษา
หลายปีที่ผ่านมา จากการเปิดกว้างประเทศและผสมผสานเข้ากับโลก ทำให้มีผลงานวัฒนธรรมจากต่างประเทศเข้ามาเวียดนามมากมาย ดังนั้น งานนิทรรศการดังกล่าวทำให้ผู้ชมเข้าใจความสง่างามของสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของประเทศ อีกทั้งเป็นการเชิดชูวัฒนธรรมพื้นบ้าน ปลูกฝังความภาคภูมิใจของคนเวียดนามต่อวัฒนธรรมที่มีคุณค่าและมีเอกลักษณ์ของชาติ ./.
Ha Hiep-To Tuan