วัฒนธรรมการกินหมากพลูในชีวิตของชาวภาคใต้

( VOVworld )- ถึงแม้ประเพณีการกินหมากพลูและวัฒนธรรมการกินหมากพลูจะมีมาตั้งแต่รัชสมัยบรรพกษัตริย์หุ่ง เวืองที่ก่อตั้งประเทศและมีมาในทุกพื้นที่ของประเทศ แต่ในแต่ละแห่งจะมีความแตกต่างกัน  สำหรับชาวภาคใต้นั้น แม้ประเพณีการกินหมากพลูจะมีความเหมือนภาคอื่นๆของประเทศแต่ก็มีความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะซึ่งสะท้อนวัฒนธรรมแห่งน้ำใจที่มีต่อกัน

( VOVworld )- ถึงแม้ประเพณีการกินหมากพลูและวัฒนธรรมการกินหมากพลูจะมีมาตั้งแต่รัชสมัยบรรพกษัตริย์หุ่ง เวืองที่ก่อตั้งประเทศและมีมาในทุกพื้นที่ของประเทศ แต่ในแต่ละแห่งจะมีความแตกต่างกัน  สำหรับชาวภาคใต้นั้น แม้ประเพณีการกินหมากพลูจะมีความเหมือนภาคอื่นๆของประเทศแต่ก็มีความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะซึ่งสะท้อนวัฒนธรรมแห่งน้ำใจที่มีต่อกัน

วัฒนธรรมการกินหมากพลูในชีวิตของชาวภาคใต้ - ảnh 1
ชาวเกิ่นเทอรุ่นใหม่ศึกษาประเพณีการกินหมากพลู

ข้อมูลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ในช่วงต้นศตวรรษที่ ๒๐ ประเพณีการกินหมากพลูได้รับการปฏิบัติทั้งในหมู่สตรีและผู้ชาย ซึ่งวิธีการกินหมากและเชื้อเชิญกันได้กลายเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามในชีวิตของชุมชน

นายเจือง หงอก เตื่อง นักวิจัยวัฒนธรรมของจังหวัดเตี่ยน ซางเห็นว่า ประเพณีการกินหมากพลูได้เข้าสู่ชีวิตวัฒนธรรมของชาวภาคใต้พร้อมกับหลักการปฏิบัติต่อกันที่มีความหมายต่างๆ  มีหน่วยงานศิลปะแขนงหนึ่งที่ผลิตภาชนะสำหรับใส่เครื่องหมากพลูเพื่อเป็นสำรับหรือเรียกว่าเซี่ยนหมากที่มีศิลปะของแต่ละยุคสมัย เซี่ยนหมากเป็นเครื่องบ่งบอกถึงฐานะทางสังคมของคนเวียดนามสมัยโบราณเช่น พวกขุนนางหรือกษัตริย์จะใช้เต้าปูนไข่มุก เต้าปูนทองแดง เต้าปูนงาช้าง เต้าปูนเครื่องเคลือบดินเผาที่ผลิตจากประเทศจีนหรือฝรั่งเศส  บ้างมีรูป สลักลวดลายและสัญลักษณ์ต่างๆอย่างประณีต บ้างเป็นเครื่องสำหรับประชาชนคนสามัญ แต่หลากหลายรูปแบบ  ส่วนสำรับหรือเซี่ยนหมากก็มีหลากหลายรูปแบบที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรือประเภทที่ทำอย่างประณีตสวยงาม  นายเจือง หงอก เตื่องเปิดเผยว่า  “ เซี่ยนหมากสำหรับพิธีการสู่ขอและงานแต่งงานที่มีหมากและพลูนั้นต้องเป็นภาชนะที่ทำอย่างประณีต  ส่วนเซี่ยนหมากพลูถวายพระนั้นก็ต้องมี  เซี่ยนหมากสำหรับงานแต่งงานมีสองอย่างได้แก่ เซี่ยนหมากชุดเจิ่าเหรือยมีตลับสองใบ ซึ่งใบใหญ่เป็นสัญลักษณ์ของผู้เป็นสามี ใบเล็กเป็นสัญลักษณ์ของผู้เป็นภรรยา มีถ้วยเล็ก ๒ ใบและถือแก้ว ๒ ใบเพราะตามภาษาเวียดนามลีคือแก้วมีความหมายเกี่ยวกับการจากกัน  ส่วนเซี่ยนหมากสำหรับพิธิศพจะมีตลับหนึ่งใบและถ้วยเล็กหนึ่งใบเพื่อเชิญผู้ทำพิธีศพกินหมากพลูและดื่มเหล้า ”

อย่างไรก็ตาม ในชีวิตปัจจุบันที่พลุกพล่านนั้น ประเพณีกินหมากพลูค่อยๆสูญหายไปตามกาลเวลา แต่วัฒนธรรมการกินหมากพลูยังคงฝังลึกอยู่ในจิตใจของคนเวียดนามผ่านกิจกรรมทางจิตวิญญาณต่างๆเช่น ถาดหมากพลูที่ขาดไม่ได้ในพิธีสู่ขอและงานแต่งงานตลอดจนถวายแด่บรรพบุรุษและปู่ย่าตายายที่เสียชีวิตไปแล้วและการทำบุญที่วัด อันเป็นการแสดงออกถึงน้ำใจอันดีงามของลูกหลาน  ทุกวันนี้ ยังมีหลายคนประกอบอาชีพเจียนหมากจีบพลูเพื่องานทางจิตวิญญาณ  คุณป้าหลี ถิ่ แถ่ง วัย ๘๔ ที่อาศัยในนครเกิ่น เทอที่ประกอบอาชีพเจียนหมากจีบพลู แม้รายได้ไม่มากนักแต่ท่านก็รู้สึกมีความสุข  คุณป้าแถ่งกล่าวว่า  “ ดิฉันจีบพลูและเจียนหมากเพื่อทำการเซ่นไหว้ ดังนั้นต้องทำอย่างประณีต พลูถูกใส่ในตลับ เมื่อเปิดตลับออกมาจะมีพลูหมาก ๔ คำแล้วคุยกับฝ่ายหญิงเกี่ยวกับของหมั้นต่างๆว่า จะให้เจ้าสาวอะไรไม่ว่าจะเป็นทองคำ แหวน สร้อยคอและกำไลมือ ”

วัฒนธรรมการกินหมากพลูในชีวิตของชาวภาคใต้ - ảnh 2
เต้าปูนเคลือบสีฟ้าศตวรรษที่ ๑๘

เอกสารวิจัยต่างๆของพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมได้ยืนยันว่า ประเพณีการกินหมากพลูมีมาตั้งแต่สมัยโบราณในชุมชนย่านเอเชียเช่น ไทย กัมพูชา จีน และอินเดียและได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน  สำหรับเวียดนาม ประเพณีการกินหมากพลูมีมาตั้งแต่รัชสมัยกษัตริย์หุ่งเวืองและได้กลายเป็นวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวเวียดนามจนเข้าสู่วัฒนธรรมพื้นบ้านและแต่งเป็นนิยายปรัมปราเรื่อง “ นิยายหมากพลู ” หมากพลูได้สะท้อนความคาดหวังเกี่ยวกับจิตใจแห่งความซื่อสัตย์ น้ำใจต่อกันในครอบครัว ญาติพี่น้องและกลายเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะชุมชน การกินหมากพลูของคนเวียดนามเป็นธรรมเนียมที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า แขกและเจ้าของบ้านจะเริ่มคุยกันเรื่องต่างๆนาๆได้แล้ว  ผ่านระยะต่างๆทางประวัติศาสตร์ ประเพณีการกินหมากพลูของคนภาคใต้มีส่วนร่วมต่อวัฒนธรรมกินหมากพลูของประเทศแต่มีความหมายทางมนุษยศาสตร์ที่แตกต่างกันเช่น เต้าปูนของชนเผ่าเขมรมีรูปเจดีย์เหมือนของชาวอินเดีย  การทำเต้าปูนจากไม้ไผ่ ไม้และเครื่องดินเผาที่มีขนาดต่างๆและตบแต่งหลากหลายรูปแบบหรือการจีบพลูก็ไม่เหมือนภาคอื่นๆ  คุณเหงวียน ถิ่ ทั้ม ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สตรีภาคใต้เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ที่พิพิธภัณฑ์ได้มีชุดสะสมเกี่ยวกับประเพณีการกินหมากพลูของคนเวียดนามและได้ประสานกับจังหวัดหลายแห่งในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงโดยเริ่มจากเมืองเกิ่นเทอเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมกินหมากพลูของคนเวียดนามในภาคต่างๆให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย คุณทั้มกล่าวว่า   “ จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ประเพณีการกินหมากพลูมาจากเขตตะวันตกภาคใต้  ดิฉันหวังว่า พิพิธภัณฑ์สตรีภาคใต้จะจัดแสดงชุดสะสมนี้ตามจังหวัดต่างๆ  ในเวลาข้างหน้า พิพิธภัณฑ์เกิ่น เทอจะประสานงานกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆเพื่อศึกษาวิจัยประเพณีการกินหมากพลูอย่างละเอียดและเต้าปูนกับป้ายปูนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรตามกาลเวลา ”

แม้ประเพณีการกินหมากพลูอาจสูญหายไปตามกาลเวลา แต่วัฒนธรรมการกินหมากพลูยังคงอยู่ตราบนานเท่านานจนกลายเป็นชีวิตทางจิตวิญญาณอันดีงามของชุมชนภาคใต้ ซึ่งได้ทิ้งไว้ผลงานศิลปะเพื่อเล่านิยายเรื่องหมากพลูตอนต่อให้แก่ลูกหลานในปัจจุบัน .

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด