วัฒนธรรมการเลื่อมใสศรัทธาของชาวประมงเวียดนาม

( VOVworld )-เวียดนามตั้งอยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกและมีชายฝั่งทะเลยาวกว่า ๓,๒๐๐ กม. ดังนั้นจึงมีประวัติศาสตร์แห่งการพิชิตทะเลมาโดยตลอด  ส่วนชาวประมงก็มีชีวิตผูกพันกับการออกเรือไปหาปลาที่ต้องเผชิญกับพายุและคลื่นลมแรงที่มีความเสี่ยงสูง  ทั้งนี้เป็นที่มาของความเชื่อในเทพเจ้าให้ปกป้องพวกเขาคลาดแคล้วจากภัยต่างๆนานา  ผ่านกาลเวลา ความเชื่อนั้นได้กลายเป็นความเลื่อมใสศรัทธาในการบูชาเทพแห่งทะเลจนกลายเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจของชุมชนชาวประมงหมู่บ้านประมงริมฝั่งทะเล



( VOVworld )-เวียดนามตั้งอยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกและมีชายฝั่งทะเลยาวกว่า ๓,๒๐๐ กม. ดังนั้นจึงมีประวัติศาสตร์แห่งการพิชิตทะเลมาโดยตลอด  ส่วนชาวประมงก็มีชีวิตผูกพันกับการออกเรือไปหาปลาที่ต้องเผชิญกับพายุและคลื่นลมแรงที่มีความเสี่ยงสูง  ทั้งนี้เป็นที่มาของความเชื่อในเทพเจ้าให้ปกป้องพวกเขาคลาดแคล้วจากภัยต่างๆนานา  ผ่านกาลเวลา ความเชื่อนั้นได้กลายเป็นความเลื่อมใสศรัทธาในการบูชาเทพแห่งทะเลจนกลายเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจของชุมชนชาวประมงหมู่บ้านประมงริมฝั่งทะเล
วัฒนธรรมการเลื่อมใสศรัทธาของชาวประมงเวียดนาม - ảnh 1
พิธีการแห่งิงห์โอง

ความเลื่อมใสศรัทธาที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของชาวประมงที่อยู่ริมฝั่งทะเลเวียดนามคือ การบูชาก๊าโอง( Ca Ong ) หรือปลาวาฬ  แต่ไหนแต่ไรมา ชาวประมงของหมู่บ้านริมฝั่งทะเลมีประเพณีบูชาก๊าโอง( Ca Ong )หรือปลาวาฬเสมือนเทพของทะเลตะวันออก มีนิยายปรำปราเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จผ่านบริเวณทะเลแห่งหนึ่งและได้เห็นพายุถล่มเรือประมงของชาวบ้านอับปางลงในทะเล ท่านได้เอาผ้ากาสาวพัสตร์ด้านหลังทิ้งลงในทะเลให้กลายเป็นฝูงปลาวาฬช่วยชีวิตชาวประมงเหล่านี้ นับแต่นั้นมา ปลาวาฬจึงได้รับการบูชาเป็นก๊าโอง( Ca Ong )และถือเป็นเทพปกป้องชีวิตของพวกเขายามออกทะเลกว้าง  ทั้งนี้เป็นที่มาของประเพณีบูชาเซ่นไหว้ก๊าโอง( Ca Ong )  ตามประเพณีดังกล่าว หากก๊าโองถูกพัดเข้าบริเวณทะเลไหนก็หมายความว่าจะนำโชคมาให้  ส่วนเมื่อพบก๊าโองเกยตื้น ชาวบ้านต้องจัดงานศพอย่างยิ่งใหญ่และฝังศพปลาในหาดทรายติดกับทะเลแล้วสร้างศาลเจ้าบูชาและจัดพิธีเซ่นไหว้เป็นประจำทุกปี  ต่อมา พิธีเซ่นไหว้นี้ได้กลายเป็นเทศกาลเซ่นไหว้งิงห์โอง( Nghinh Ong ) ประเพณีบูชาก๊าโองถือเป็นมรดกวัฒนธรรมทางทะเลของชาวเวียดที่มีความเชื่อเกี่ยวข้องกับทะเลอีกทั้งยังเป็นการยืนยันถึงอธิปไตยในการทำประมงในทะเลของชาวประมงเวียดนาม  ซึ่งบางประเทศริมฝั่งทะเลที่เป็นเพื่อนบ้านของเวียดนามเช่นจีนและกัมพูชาไม่มีประเพณีนี้ ศ.ดร.เจิ่นหงอกเทม ( Tran Ngoc Them )นักศึกษาวัฒนธรรมเผยว่า  “ ชาวบ้านที่อยู่ริมฝั่งทะเลของเวียดนามเลื่อมใสศรัทธาบูชาก๊าโอง โดยเฉพาะหมู่บ้านริมฝั่งทะเลจากจังหวัดแทงหัวลงมาภาคใต้ ส่วนภาคเหนือของประเทศบางจังหวัดก็มีประเพณีนี้เช่น จังหวัดกว่างนิงห์ ประเพณีนี้มักจะจัดในบริเวณทะเลที่มีปลาวาฬและชาวบ้านประกอบอาชีพประมง

วัฒนธรรมการเลื่อมใสศรัทธาของชาวประมงเวียดนาม - ảnh 2
พิธีกรรมงิงห์โอง

ปัจจุบัน ประเพณีบูชาก๊าโองและงานเทศกาลเซ่นไหว้งิงห์โองถูกจัดขึ้นตามหมู่บ้านชาวประมงตั้งแต่ริมฝั่งทะเลภาคกลางไปจนถึงภาคใต้  เทศกาลงิงห์โอง( Nghinh Ong )หรือแห่ปลาวาฬของแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่จัดขึ้นช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงและต้นฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งตรงกับช่วงปลายฤดูจับปลาและเริ่มต้นฤดูใหม่  งานเทศกาลแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนได้แก่ พิธีกรรมและเทศกาลเป็นเวลา ๒-๓ วัน โดยจัดขึ้นทั้งบนทะเลและบนผืนดินใหญ่  แต่พิธีสำคัญได้จัดที่ เมี้ยวห่ายเถิ่น( Mieu Hai Than )หรือศาลเจ้าเทพเจ้าทางทะเล ไฮไลท์ของงานคือการแห่รูปจำลองก๊าโองบนเรือที่ตกแต่งด้วยดอกไม้ไปยังศาลเจ้า เมี้ยวห่ายเถิ่น( Mieu Hai Than ) ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับการขอบคุณและของิงห์โองบันดาลให้การทำประมงได้ผลดี ดร.หวิ่งก๊วกทั้ง( Huynh Quoc Thang ) นักศึกษาวัฒนธรรมเห็นว่า  “ สิ่งที่เห็นชัดคือ ความสำนึกในบุญคุณและความผูกพันและการขอบคุณสิ่งที่มีชีวิตโดยเฉพาะปลาวาฬ ซึ่งเป็นการขอบคุณทะเลที่ได้หล่อเลี้ยงชีวิตคน อีกด้านหนึ่งคือ ชาวประมงมีความเชื่อและอธิษฐานให้ทุกครั้งที่ออกเรือไปหาปลาทะเลจะสงบและจับปลาได้จำนวนมาก  อีกความหมายคือ ความคิดถึงเพื่อนที่ได้เสียชีวิตกลางทะเล

ภายในงานยังมีการร้องเพลงพื้นเมืองอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์คือ การร้องเพลงบ๋าจ๋าว ( Ba Trao )ซึ่งเป็นศิลปะการร้องเพลงแขนงหนึ่งที่คนทั้งร้องทั้งรำไปด้วย โดยเรื่องราวได้เล่าถึงระยะเวลาออกทะเลจับปลาที่แสนลำบากของชาวประมง ตั้งแต่การออกเรือ การรับมือกับพายุคลื่นลมแรงหรือช่วงทะเลเงียบตลอดจนการปล่อยแหจับปลา ต่อจากพิธีกรรมก็จะเข้าสู่งานเทศกาลโดยมีการเล่นกีฬาพื้นเมืองต่างๆเช่น การแข่งเรือ ชักเขย่อ การเชิดสิงโต

วัฒนธรรมการเลื่อมใสศรัทธาของชาวประมงเวียดนาม - ảnh 3
การแห่งิงห์โองไปยังศาลเจ้าเมี้ยวห่ายเถิ่น

นอกจากการบูชาเซ่นไหว้ก๊าโองแล้ว ชาวประมงริมฝั่งทะเลจังหวัดแทงหัวภาคกลางตอนเหนือของประเทศยังมีประเพณีบูชาเทพเจ้าแห่งทะเลคือ การบูชาเทพเจ้าโดกเกื๊อก(Doc Cuoc )หรือเทพเจ้าขาเดียว  โดยวิหารโดกเกื๊อกตั้งอยู่บนเทือกเขาเจื่องเหละ(Truong Le ) เมืองเสิ่มเซิน( Sam Son ) จังหวัดแทงหัว( Thanh Hoa )  วิหารแห่งนี้ได้รับการก่อสร้างตั้งแต่สมัยราชวงศ์เจิ่นราวศตวรรษที่ ๑๕  นายฟานเท้ถ่าว( Phan The Thao ) ผู้ดูแลวิหารเผยว่า   “  มีเรื่องที่เล่าต่อกันมาเกี่ยวกับที่มาของชื่อโดกเกื๊อกว่า เพื่อปกป้องมาตุภูมิเทพเจ้าโดกเกื๊อกไดัแยกร่างเป็นสององค์ โดยองค์หนึ่งปกป้องประเทศทางทะเล ส่วนอีกองค์ปกป้องทางบกกวาดล้างศตรูเพื่อให้ประเทศมีความสงบสุข ชาวบ้านทำมาค้าขึ้นและมีชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น  วิหารโดกเกื๊อกไม่เพียงแต่เป็นสถานที่ที่ชาวประมงมาขอให้ปกป้องคลาดแคล้วจากภัยพิบัติต่างๆทุกครั้งที่ออกเรือไปหาปลาในทะเลกว้างเท่านั้น หากยังเป็นจุดนัดพบของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมและขอให้ประเทศสงบสุขและเจริญรุ่งเรืองอีกด้วย

ประเพณีบูชาเทพเจ้าแห่งทะเลหรือก๊าโองในวิหารหรือศาลเจ้าต่างๆตามหมู่บ้านชาวประมงริมฝั่งทะเลยังคงได้รับการสืบทอดและอนุรักษ์มาตราบเท่าทุกวันนี้  โดยก่อนที่จะออกเรือไปหาปลา ชายประมงะมาที่นี่จุดธูปขอให้เทพเจ้าแห่งทะเลบันดาลให้การไปจับปลาดำเนินไปอย่างสะดวก ส่วนพอตกค่ำผู้เป็นภรรยาหรือผู้เป็นแม่ก็มักจะมาที่นี่จุดธูปอธิษฐานขอให้ลูกหรือสามีกลับบ้านอย่างปลอดภัย  ประเพณีบูชาเทพเจ้าแห่งทะเลถือเป็นวัฒนธรรมแห่งความเลื่อมใสศรัทธาของชาวประมงที่อยู่ริมฝั่งทะเล อันเป็นการเติมแต่งให้แก่วัฒนธรรมพื้นเมืองของคนเวียดนามให้มีความหลากหลายมากขึ้น ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด