วัฒนธรรมมีส่วนช่วยปกป้องอธิปไตยของประเทศ
( VOVworld )-โครงการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การปกป้องอธิปไตยของประเทศ กิจกรรมโบราณคดี โดยเฉพาะการขุดค้นโบราณคดีใต้ทะเลในช่วงที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า คนเวียดปรากฎตัวในหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรสลี่ย์และหว่างซาหรือพาราเซลสองแห่งมาหลายพันปีและกิจกรรมนี้ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน เป็นอันว่า วัฒนธรรมและรากเหง้าของชาติได้ยืนยันถึงอธิปไตยของประเทศเหนือหมู่เกาะสองแห่งดังกล่าวและเป็นการเติมพลังอันแข็งแกร่งให้แก่การต่อสู้เพื่อปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดนของเวียดนาม
( VOVworld )-โครงการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การปกป้องอธิปไตยของประเทศ กิจกรรมโบราณคดี โดยเฉพาะการขุดค้นโบราณคดีใต้ทะเลในช่วงที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า คนเวียดปรากฎตัวในหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรสลี่ย์และหว่างซาหรือพาราเซลสองแห่งมาหลายพันปีและกิจกรรมนี้ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน เป็นอันว่า วัฒนธรรมและรากเหง้าของชาติได้ยืนยันถึงอธิปไตยของประเทศเหนือหมู่เกาะสองแห่งดังกล่าวและเป็นการเติมพลังอันแข็งแกร่งให้แก่การต่อสู้เพื่อปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดนของเวียดนาม
หนังสือประวัติศาสตร์ชุด ด่านนามโห่ยเดี่ยนสึอเหล่
ปี ๒๐๑๕ ศ.ครูประชาชนท่านเหงวียน กวาง หงอก อุปนายกฯสมาคมประวัติศาสตร์เวียดนามได้เดินทางไปยังหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรสลีย์ภายหลังต้องรอคอยมาหลายปี
ศ.เหงวียน กวาง หงอกได้ทุ่มเทแรงกายและแรงใจเพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอธิปไตยของเวียดนามเหนือทะเลและเกาะแก่ง ดังนั้นการเดินทางเที่ยวนี้จึงมีความหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ท่านบอกว่า “ ท่านไปเที่ยวเจื่องซาเพื่อรักมาตุภูมิมากขึ้นและภาคภูมิใจต่อพลังอันแข็งแกร่งของชาติมากขึ้น ” อีกทั้งเพื่อตรวจสอบเอกสารข้อมูลวิจัยต่างๆของท่านเกี่ยวกับวัฒนธรรมซาหวิ่งและข้อมูลทางโบราณคดีที่ยืนยันการปรากฎตัวของคนเวียดโบราณในหมู่เกาะเจื่อง ซา ศ.เหงวียน กวาง หงอกเล่าว่า “ ไปเจื่องซาครั้งนี้ ผมสามารถค้นหาร่องรอยของชาวซาหวิ่งโบราณและชาวจามโบราณ พวกเขาได้มาบุกเบิกที่นี่มาหลายพันปี ซึ่งเห็นชัดเจนคือ ซากร่องรอยของวัฒนธรรมซาหวิ่งก่อนหน้านี้ ๓,๐๐๐ ปี ซึ่งได้ขุดพบซากวัตถุที่เป็นเอกลักษณ์ของสมัยโน้นคือ ต่างหูที่มีหัวสัตว์สองตัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมซาหวิ่งและเจ้าของของมันคือวัฒนธรรมซาหวิ่งเวียดนาม ”
ร.ศ.ดร.ต๊ง จูง ติ๊น นายกสมาคมโบราณคดีเวียดนามเปิดเผยว่า หลังการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีในเกาะบางแห่งของหมู่เกาะเจื่องซามา ๒ ครั้ง นักโบราณคดีสามารถขุดพบเศษเครื่องเคลือบดินเผาในรัชสมัยดินห์และเลราวศตวรรษที่ ๑๐ รัชสมัยหลีและเจิ่นราวศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๔ และรัชสมัยเลราวศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ จนถึงรัชสมัยเหงวียน เศษเครื่องเคลือบดินเผาแม้จะเป็นของพ่อค้า ชาวประมงและชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนเกาะล้วนแสดงให้เห็นถึงการปรากฎตัวของชาวเวียด ร.ศ.ดร.ต๊ง จูง ติ๊นกล่าวว่า “ วัตถุเหล่านี้พิสูจน์ให้เป็นว่า ชาวเวียดได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆบนหมู่เกาะเจื่องซามาแต่เนิ่นนามและต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน การเคลื่อนไหวทางทะเลและการค้าขายทางเศรษฐกิจและกิจกรรมวัฒนธรรมของชาวเวียดนามบนเส้นทางทะเลนั้นมีมาแต่เนิ่นนาน ซึ่งได้พิสูจน์จากโบราณวัตถุทางโบราณคดี ในขณะที่ประเทศอื่นๆไม่มีร่องรอยอะไรเลย แต่เรากลับขุดพบซากร่องรอยของคนเวียด ”
หนังสือด่ายนามถึกหลุก
ไม่เพียงแต่ขุดพบร่องรอยวัตถุโบราณและสิ่งของโบราณคดีเท่านั้น หากการปรากฎตัวของวัดที่ก่อสร้างตามสถาปัตยกรรมวัดวาอารามในเขตที่ราบแม่น้ำห่งหรือแม่น้ำแดงบนเกาะบางเแห่งเช่น เกาะเซินกา ซินห์ต่น นามเอี๊ยตและตัวเมืองเจื่องซาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า มีคนเวียดอาศัยอยู่ มีวัฒนธรรม ความเลื่อมใสศรัทธาและศาสนา ส่วนหนังสือประวัติเก่าเช่น ด่ายนามถึกหลุกจิ้งเบียนและด่านนามโห่ยเดี่ยนสึอเหล่ได้ระบุว่า กษัตริย์มินห์ เหม่นห์ทรงสั่งให้ส่งวัสดุไปยังหมู่เกาะหว่างซาเพื่อก่อสร้างวัดและศาลเจ้าเพื่อเป็นสถานที่บูชและจัดพิธีบวงสรวงขอให้ชาวประมงออกทะเลมีความปลอดภัย วัดวาอารามบนหมู่เกาะเจื่องซาเป็นการสืบสานเกียรติวัฒนธรรมและความเลื่อมใสศรัทธาของบรรพบุรุษมาหลายศตวรรษ
เมื่อมีโอกาสไปเยือนอำเภอเกาะเจื่องซา ทุกคนต่างรู้สึกภาคภูมิใจอย่างบอกไม่ถูกเมื่อยืนอยู่ที่อนุสาวรีย์กษัตริย์ฮึงด่าวด่ายเวืองเจิ่นก๊วกต๊วนที่สูงสง่างาม ทั้งนี้ทำให้เราหวนคิดถึงชัยชนะของทหารด่ายเวียดบนแม่น้ำแบกดั่งอย่างหาญกล้าที่ขับไล่ข้าศึกหยวนและมองโกลในศตวรรษที่ ๑๓ และพิจารณาแนวทางการบริหารประเทศของวีรกษัตริย์เจิ่น ฮึง ด่าวที่ว่า “ พักพลังของประชาชน ซึ่งเป็นรากเหง้าและเป็นมาตรการที่ดีที่สุดเพื่อปกป้องประเทศ ” ดังนั้นสัญลักษณ์วัฒนธรรมดังกล่าวจึงเป็นพลังอันแข็งแกร่งเพื่อให้กำลังใจประชาชนในการต่อสู้เพื่อปกป้องประเทศ ศ.เหงวียน กวาง หงอกยืนยันว่า “ สิ่งที่สำคัญที่สุดเพื่อต่อสู้ปกป้องอธิปไตยของประเทศและบูรณภาพแห่งดินแดนคือ การอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรม ซึ่งเป็นป้ายบอกอธิปไตยของประเทศที่สำคัญที่สุด ซึ่งหมายถึงมันได้จารึกในจิตใจของแต่ละคน วัฒนธรรมของชาติถือเป็นอาวุธที่ทรงสมรรถภาพที่เสริมพลังอันเข้มแข็งให้แก่การต่อสู้เพื่อพิทักษ์รักษาอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศ ”
นอกจากเขตอนุสรณ์สถานทหารพลีชีพเพื่อชาติกากมา ณ จังหวัดแค้งหว่าแล้ว ในเดือนมกราคมนี้ สหภาพแรงงานเวียดนามจะก่อสร้างเขตอนุสรณ์สถานทหารพลีชีพเพื่อชาติหว่างซา ณ อำเภอเกาะลี้เซิน จังหวัดกว่าง หงาย ซึ่งหลายศตวรรษก่อนโน้น ทหารเหล่านี้ได้ออกทะเลตามคำสั่งของราชวงศ์เหงวียนเพื่อบุกเบิกที่ดินที่หมู่เกาะหว่างซาและเจื่องซาเพื่อยืนยันและปฏิบัติอธิปไตยในหมู่เกาะสองแห่งดังกล่าว สิ่งปลูกสร้างทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณจะเป็นสัญลักษณ์แห่งเกียรติความรักชาติ จิตใจแห่งความเป็นอิสระและพึ่งตนเอง ซึ่งถือเป็นอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพของคนเวียดนามเพื่อยืนอยู่อย่างมั่นคงท่ามกลางคลื่นลมแรงเพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศ .