ส่งเสริมคุณค่าระหว่างประเทศของเขตโบราณสถานหว่างแถ่งทังลอง

(VOVworld)-เขตจัดแสดง “การค้นพบด้านโบราณคดีใต้พื้นที่ของอาคารรัฐสภา” ได้เปิดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี2016 ซึ่งสิ่งของวัตถุต่างๆพร้อมข้อมูลที่ถูกจัดแสดงที่นี่เปรียบเสมือนเป็นพิพิธภัณฑ์ด้านโบราณคดีแห่งแรกของเวียดนาม


(VOVworld)-เขตจัดแสดง “การค้นพบด้านโบราณคดีใต้พื้นที่ของอาคารรัฐสภา” ได้เปิดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี2016 ซึ่งสิ่งของวัตถุต่างๆพร้อมข้อมูลที่ถูกจัดแสดงที่นี่เปรียบเสมือนเป็นพิพิธภัณฑ์ด้านโบราณคดีแห่งแรกของเวียดนาม

ส่งเสริมคุณค่าระหว่างประเทศของเขตโบราณสถานหว่างแถ่งทังลอง - ảnh 1
ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ง่ายที่สุดและจินตนาการได้ชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของพระราชวังเก่าจากร่องรอยทางโบราณคดีที่นี่(vnexpress)

เขตจัดแสดง “การค้นพบด้านโบราณคดีใต้พื้นที่ของอาคารรัฐสภา”มีร่องรอยของสิ่งก่อสร้างโบราณและโบราณวัตถุในช่วงเวลาต่างๆนับพันชิ้นที่อยู่ทับซ้อนกันเป็นชั้นๆ ซึ่งเพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างอดีตกับปัจจุบัน รัฐบาลได้อนุมัติโครงการให้สงวนพื้นที่ส่วนหนึ่งในชั้นใต้ดินของอาคารรัฐสภาเพื่อเป็นที่จัดแสดงผลงานด้านโบราณคดีเกี่ยวกับหว่างแถ่งทังลอง อันเป็นการมีส่วนร่วมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์คุณค่าของมรดกที่ยิ่งใหญ่นี้ต่อนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ โดยสิ่งของวัตถุที่ถูกเปิดเผยนั้นเป็นผลงานการค้นพบด้านโบราณคดีที่โดดเด่นในช่วงทำการก่อสร้างอาคารรัฐสภาตั้งแต่ปี2008-2009และได้รับการจัดแสดงตามรูปแบบผสมระหว่างโบราณวัตถุกับร่อยรอยของโบราณสถานต่างๆเพื่อสร้างบรรยากาศในส่วนการจัดแสดงให้มีชีวิตชีวามากขึ้น รองศ.ดร. บุ่ยมิงห์จี๊  ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเกี่ยวกับกำแพงโบราณเผยว่าพวกเราอยากทำให้เขตโบราณสถานแห่งนี้ดูมีชีวิตชีวาเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจได้ง่ายที่สุดและสามารถจินตนาการได้ชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับขอบเขต เทคนิกการก่อสร้างและสถาปัตยกรรมของพระราชวังเก่าจากร่องรอยทางโบราณคดีที่นี่”

ส่งเสริมคุณค่าระหว่างประเทศของเขตโบราณสถานหว่างแถ่งทังลอง - ảnh 2
ร่องรอยที่ถูกค้นพบได้รับการจัดแสดงอย่างมีชีวิตชีวา(vnexpress)

ในส่วนการจัดแสดงของแต่ละชั้นต่างมีจุดที่เป็นไฮไลต์และเป็นเอกลักษณ์ที่ผูกพันกับเรื่องราวต่างๆของพระราชวังหว่างแถ่งทังลองในอดีต โดยมีการจัดแบ่งตามระยะเวลาของร่อยรอยโบราณแต่ละชั้น เช่นชั้นล่างคือร่อยรอยของหว่างแถ่งในยุคทังลองคือหลังปี1010 ส่วนชั้นบนจัดแสดงร่อยรอยของโบราณสถานในยุคก่อนกรุงทังลองคือยุคก่อนที่กษัตริย์ลี้กงอ๋วน ทรงมีพระบรมราชโองการให้ย้ายราชธานีมาที่ทังลอง ในเขตนี้ยังมีภาพผนังที่ประกอบจากเศษกระเบื้องที่ถูกค้นพบ ณ ที่นี่ที่สะท้อนให้เห็นถึงภาพรวมของกระบวนการก่อสร้างกรุงทังลองในประวัติศาสตร์ นั่นคือภาพ “มังกรผงาดฟ้า” ที่ได้อารมณ์มาจากสัญลักษณ์ของมังกรสมัยราชวงศ์ลี้และบันทึกเหตุการณ์ปี1010 และภาพ “รุ่งอรุณทังลอง” ที่เริ่มมาจากภาพของใบโพธิ์และกระเบื้องมุงหลังคาที่ประดับดอกบัวในสถาปัตยกรรมราชวงลี้ ซึ่งเป็นการบรรยายเรื่องราวในประวัติศาสตร์เมื่อครั้งที่กษัตริย์ลี้กงอ๋วนทรงย้ายราชธานีมาที่ทังลองและการพัฒนารุ่งเรืองของวัฒนธรรมด๋ายเวียดนับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ลี้

ส่งเสริมคุณค่าระหว่างประเทศของเขตโบราณสถานหว่างแถ่งทังลอง - ảnh 3
มังกรผงาดฟ้า-ภาพผนังที่ประกอบจากเศษกระเบื้อง (vnexpress)

ทั้งนี้เขตจัดแสดง “การค้นพบด้านโบราณคดีใต้พื้นที่ของอาคารรัฐสภา”เป็นผลจากการทำงานมาเกือบ4ปีของบรรดานักวิทยาศาสตร์ของศูนย์วิจัยเกี่ยวกับกำแพงโบราณเวียดนาม ซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นกระบวนการสานต่อเกียรติประวัติแห่งการพัฒนาของศูนย์กลางแห่งอำนาจการบริหารประเทศตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันของประชาชาติเวียดนาม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด