ส่งเสริมพลังทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

(VOVworld) – วัฒนธรรมคือพลังส่วนหนึ่งสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ ซึ่งถ้าหากมีการผสานอย่างดีระหว่างพิธีกรรม ความเลื่อมใส เทศกาลการท่องเที่ยวกับสถาบันทางวัฒนธรรมที่มีมาช้านานและนโยบายด้านวัฒนธรรมต่างๆ ก็จะมีส่วนร่วมไม่น้อยต่อการร่างและปฏิบัตินโยบายเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของแต่ละประเทศ


(VOVworld) – วัฒนธรรมคือพลังส่วนหนึ่งสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ ซึ่งถ้าหากมีการผสานอย่างดีระหว่างพิธีกรรม ความเลื่อมใส เทศกาลการท่องเที่ยวกับสถาบันทางวัฒนธรรมที่มีมาช้านานและนโยบายด้านวัฒนธรรมต่างๆ ก็จะมีส่วนร่วมไม่น้อยต่อการร่างและปฏิบัตินโยบายเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของแต่ละประเทศ

ส่งเสริมพลังทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน - ảnh 1
อ่าวฮาลองที่ได้รับเป็นมรดกของโลก

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกได้รับรองมรดกโลกใน 3 รูปแบบ ประกอบด้วย มรดกทางธรรมชาติ มรดกทางวัฒนธรรมและมรดกที่มีการผสมผสานระหว่างองค์ประกอบทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ส่วนการรับรองเป็นมรดกโลกถือเป็นการรับรองที่มีเกียรติและเก่าแก่ที่สุดของยูเนสโก ปัจจุบันนี้ เวียดนามมีมรดกโลก 8 รายการและมรดกวัฒนธรรมนามธรรมอีก 11 รายการที่ได้รับการรับรองจากยูเนสโก นับตั้งแต่ปี 1987 เวียดนามได้เข้าร่วมอนุสัญญาเกี่ยวกับการปกป้องมรดกวัฒนธรรมรูปธรรมและนามธรรมของยูเนสโกและปฏิบัติข้อกำหนดต่างๆของอนุสัญญาได้อย่างสมบูรณ์ นาง Susan Vize ตัวแทนสำนักงานยูเนสโกประจำเวียดนามเผยว่า  “ การที่ได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมเป็นก้าวเดินแรกที่สำคัญเพื่อปฏิบัติการอนุรักษ์ต่อไป มิฉะนั้น ทุกคนจะลืมมรดกนี้ในสภาวการณ์แห่งโลกาภิวัติ ดิฉันคิดว่า การที่เวียดนามมีมรดกวัฒนธรรมที่ได้รับการรับรองหลายรายการ ทั้งในด้านรูปธรรมและนามธรรมจะช่วยสร้างความสามารถและพลังขับเคลื่อนให้แก่เวียดนามในการปกป้องและอนุรักษ์มรดกเหล่านี้”

ส่วน ศ.เลืองวันวี ผู้อำนวยการโปรแกรมปริญญาโทเอเชีย – แปซิฟิกของมหาวิทยาลัย Toronto ประเทศแคนาดา อดีตหัวหน้าคณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัย Toronto ประเทศแคนาดากล่าวว่า เวียดนามต้องขยายขอบเขตเกี่ยวกับบรรยากาศและเวลาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมต่อการพัฒนา “ทัศนะของยูเนสโกคือ ต้องทำให้เราเห็นว่า ต้องให้ความเคารพวัฒนธรรมต่างๆเนื่องจากมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาผ่านการอนุรักษ์ นอกจากนี้ ถ้าวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ได้รับความเคารพ พวกเขาก็จะตระหนักได้ดีเกี่ยวกับการอนุรักษ์”

ศ. เลือวันวียังย้ำเป็นพิเศษถึงบทบาทของชุมชนในการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค้าด้านวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ว่า “ไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์มรดกเท่านั้น แต่ยูเนสโกยังให้ความสนใจถึงการอนุรักษ์ในชุมชน ซึ่งไม่ใช่การอนุรักษ์ในพิพิธภัณฑ์ ดังนั้น บทบาทของผู้ที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมและชุมชนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะไม่ใช่แค่เราจะบันทึกดนตรีหรือการแสดงศิลปะแล้วนำไปอนุรักษ์ในพิพิธภัณฑ์ การอนุรักษ์แบบนั้นจะไม่ช่วยให้วัฒนธรรมอยู่รอด แต่ชุมชนต้องให้ความสนใจเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมอย่างจริงจัง”

ในแง่มุมวัฒนธรรมพื้นเมือง ศ.เลโห่งลี้ หัวหน้าสถาบันวิจัยวัฒนธรรมพื้นเมืองสังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์เวียดนามเผยว่า เรายังถือวัฒนธรรมและเทศกาลเป็นคุณค่าที่ต้องอนุรักษ์ รักษาและเชิดชูพร้อมกับกิจกรรมการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ การสะสมและการจัดแสดงต่างๆ ซึ่งผมคิดว่าเพื่อสามารถใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมได้อย่างเต็มที่ ต้องถือวัฒนธรรมเป็นผลิตภัณฑ์ในเชิงสินค้า นี่คือหน้าที่ของผู้ที่มีความรับผิดชอบด้านวัฒนธรรมพื้นเมือง ซึ่งต้องการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานการท่องเที่ยวกับหน่วยงานวัฒนธรรม”

วัฒนธรรมมีความหมายที่กว้างขวางและมีแนวโน้มเปิดกว้าง วัฒนธรรมของแต่ละประเทศและแต่ละชุมชนต่างมีความคล่องตัว เปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้สอดคล้องกับยุคสมัยและความต้องการของชุมชน เวียดนามมีชาติพันธุ์ทั้งหมด 54 ชาติพันธุ์ ด้วยเอกลักษณ์วัฒนธรรมและภาษาที่หลากหลาย ที่พัฒนายืนยาวนับพันปี ดังนั้นต้องมีการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวัฒนธรรมให้เหมือนเป็นความต้องการที่จำเป็นเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมเวียดนามให้ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมโลกควบคู่กับการอนุรักษ์เอกลักษณ์เอาไว้.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด