อนุรักษ์และพัฒนาคุณค่าของปูชนียสถานประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเวียดนาม
(VOVworld) /  
(VOVworld) - ในยุคโลกาภิวัฒน์ การพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมกำลังได้รับความสนใจ ของนานาประเทศในโลกโดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาและผสมผสานเข้ากับกระแสโลก อย่างเวียดนามที่นักบริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมกำลังแสวงหามาตรการ อนุรักษ์และพัฒนาคุณค่าประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมหลายพันปีของตน
(VOVworld) - ในยุคโลกาภิวัฒน์ การพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมกำลังได้รับความสนใจของนานาประเทศในโลกโดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาและผสมผสานเข้ากับกระแสโลกอย่างเวียดนามที่นักบริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมกำลังแสวงหามาตรการอนุรักษ์และพัฒนาคุณค่าประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมหลายพันปีของตน
|
Myson สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของจ. Quang Nam (Photo Internet)
|
ตามข้อมูลสถิติจนถึงเดือนสิงหาคมปี 2010 ในเวียดนามมีปูชนียสถานประวัติศาตร์และวัฒนธรรม 40.000 แห่ง ซึ่งมี 3.000 แห่งได้รับการจัดอันดับเป็นปูชนียสถานแห่งชาติและอีก 5.000 แห่งเป็นปูชนียสถานของจังหวัด ความหลากหลายและเก่าแก่ของปูชนียสถานดังกล่าวถือได้ว่าเป็นมรดกอันล้ำค่าให้แก่ชนรุ่นหลัง แม้จะได้รับการอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์มาตลอดแต่ปัจจุบันก็ยังมีปูชนียสถานหลายแห่งที่มีอายุ 200-300 ปีกำลังทรุดโทรมอย่างหนักควรได้รับการอนุรักษ์อย่างเร่งด่วนและรักษาความคงเดิมของปูชนียสถานเหล่านั้น ดังที่นาย Nguyen Doan Tuan หัวหน้าคณะกรรมการดูแลปูชนียสถานและสถานที่ท่องเที่ยวฮานอยกล่าวว่า “ผมเห็นว่า การปฏิสังขรณ์ปูชนียสถานที่ทรุดโทรมผุพังนั้นอาจจะเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างใหม่แต่ต้องรักษาสภาพปัตยกรรมดั้งเดิมไว้ทั้งรูปแบบ ขนาดและตำแหน่งที่ตั้ง”
เดี๋ยวนี้ ปูชนียสถานประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมส่วนใหญ่จะถูกใช้ประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยวเพื่อหารายได้ใช้ในการปฏิสังขรณ์และการประชาสัมพันธ์คุณค่าของปูชนียสถานเหล่านั้น นาย Dang Kim Ngoc ผู้อำนวยการศูนย์กิจกรรมวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์โบราณสถาน Van Mieu – Quoc Tu Giam เผยว่า “นอกจากให้บริการด้านการท่องเที่ยวและการบรรยายประวัติของปูชนียสถานแล้ว พวกเรายังทำการซ่อมแซมและปฏิสังขรณ์ปูชนียสถานเหล่านี้เพื่อให้คงทน สวยงามแต่ยังรักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้ได้รวมทั้งทิวทัศน์และภาวะแวดล้อม”
|
อาคาร Thai Binh ณ กรุงเก่าเว้ (Photo Internet) |
การอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์ รักษาและพัฒนาคุณค่าของปูชนียสถานและวัฒนธรรมเป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคมและต้องได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี สิ่งที่สำคัญคือต้องประชาสัมพันธ์และปลูกฝังจิตสำนึกให้พวกเขาเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงคุณค่าของปูชนียสถานดังกล่าว คร. Pham Quoc Quan ผู้อำนวยการพิพิทธภัณฑ์การปฏิวัติ ผู้ที่มีประสบการณ์ด้านอนุรักษ์และพัฒนาคุณค่ามรดกวัฒนธรรมเวียดนามมีความเห็นว่า “ตามแนวทางขององค์การยูเนสโก้ ปูชนียสถานของทุกชาติต้องมอบหมายให้ชุมชนเป็นผู้ดูแลและพัฒนาคุณค่าให้ถูกต้อง แต่ในความเป็นจริงนั้น การรักษาดูแลและการอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์สิ่งเหล่านี้ยังมีข้อบกพร่องอยู่ โดยเฉพาะปูชนียสถานที่เกี่ยวพันธ์ถึงเทศกาลพื้นเมือง แต่ถ้าหากได้รับการเอาใจใส่ชี้แนะอย่างใกล้ชิดแล้วก็อาจจำกัดข้อบกพร่องนั้นได้”
|
กำแพง Hoang Thanh - ปูชนียสถานของกรุงฮานอย (Photo Internet) |
นาง Nguyen Thi Minh Ly รองอธิบดีกรมมรดกแห่งกระทรวงวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยวเวียดนามก็มีความเห็นที่คล้ายคลึงว่า ต้องมีการชี้แนะให้ประชาชนมีใจรักและหวงแหนปูชนียสถานต่างๆและให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์อย่างเต็มที่ “ทำได้เช่นนี้จะเป็นการค้ำประกันการสืบทอดปัจจัยพื้นฐานของปูชนียสถานให้ชนรุ่นหลังได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งพื้นฐานที่ว่านั้นมิได้หมายความว่า ชนรุ่นหลังจะต้องทำเหมือนชนรุ่นก่อน หากชนรุ่นหลังต้องมีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีกว่าแต่ไม่กลายของเดิมที่ได้สืบทอดมาและต้องเป็นความคิดสร้างสรรค์ของตนอย่างแท้จริง มิใช่ลอกแบบจากผู้อื่น”
บรรดาปู้เชี่ยวชาญด้านนี้มีการมองว่า ในการอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์ปูชนียสถานและมรดกวัฒนธรรมนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแนวทาง การบริหารและจัดการปฏิบัติอย่างเป็นระบบตั้งแต่ส่วนกลางลงไปถึงหน่วยงานรับผิดชอบและชุมชนในสังคม การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมในกระบวนการพัฒนาต้องมีความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่หยุดยั้ง ต้องมีความคล่องตัวในการประยุกต์ใช้หลักวิทยาศาสตร์เพื่อเลือกวิธีการแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับปูชนียสถานแต่ละแห่ง เป้าหมายของผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมเวียดนามในปัจจุบันก็คือ ประสานการอนุรักษ์และการพัฒนาคุณค่ามรดกวัฒนธรรมกับวิถีชีวิตในยุคใหม่ มีส่วนร่วมในการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจ – สังคม ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในกระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก./.
-VOVworld