อนุรักษ์และพัฒนาอาชีพทำกระดาษสา

(VOVWORLD) - ในจำนวนอาชีพหัตถกรรมพื้นเมืองหลายแขนงของเวียดนาม อาชีพทำกระดาษสาถือเป็นหนึ่งในอาชีพที่มีอายุยาวนานหลายพันปีและสะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติเวียดนามได้อย่างเด่นชัด แต่ปัจจุบันก็กำลังมีความเสี่ยงที่จะสูญหายไปตามการพัฒนาของยุคสมัยที่ไม่นิยมใช้กระดาษสาอีก อันเป็นสาเหตุที่ต้องส่งเสริมการอนุรักษ์เอาไว้และพัฒนาให้คงอยู่ตลอดไป
อนุรักษ์และพัฒนาอาชีพทำกระดาษสา  - ảnh 1 กระดาษ "ซั๊ก"ที่ใช้ เขียนพระบรมราชโองการของกษัตริย์ในอดีต

หนังสือประวัติศาสตร์ระบุว่า อาชีพทำกระดาษสาในเวียดนามมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 โดยมีหมู่บ้านทำกระดาษสาที่ขึ้นชื่อหลายแห่ง เช่น หมู่บ้านซวนเยืองโอ๊ หมู่บ้านด๊งกาว ที่ จังหวัดบั๊กนิง หมู่บ้านมายจื๋อที่จังหวัดแทงฮว้า หมู่บ้านสวยก่อที่จังหวัดหว่าบิ่ง หมู่บ้านโหลกตุยและด่ายฟู้ที่จังหวัดกว๋างบิ่ง ส่วนที่กรุงฮานอย มีหมู่บ้านเอียนท้ายที่ทำกระดาษและตีพิมพ์ หมู่บ้านโห่เขาและหมู่บ้านดงสาที่ทำกระดาษที่ใช้พิมพ์ภาพพื้นเมืองขนาดใหญ่ รวมทั้งเขตที่ทำกระดาษต่างๆหลายชนิด เช่น เขตกวานฮวาและเอียนฮวาที่ทำกระดาษดิบ เขตโห่เขาที่ทำกระดาษสำหรับการบูชา เขตอานดงที่ทำกระดาษลิตมัส เขตอานท้ายทำกระดาษโหยฟองและเขตจุงยาทำกระดาษ "ซั๊ก"ที่ใช้ เขียนพระบรมราชโองการของกษัตริย์ในอดีต

ในอดีต กระดาษสานิยมใช้กันทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้สำหรับเขียนอักษร คำกลอน วาดภาพบูชา ภาพพื้นบ้าน ตลอดจนใช้เป็นเอกสารบันทึกพระธรรมคำสอนและเอกสารต่างๆที่ใช้สำหรับการบูชา แต่การพัฒนาของกระดาษอุตสาหกรรมในปัจจุบันได้ทำให้การใช้กระดาษสาลดน้อยลง โดยกระดาษสาถูกใช้เฉพาะในงานจิตรกรรม ศิลปะลายพู่กัน เป็นต้น จิตรกรเหงวียนแหมงดึ๊กได้เผยว่า“กระดาษสามีคุณค่าด้านศิลปะในระดับสูงและเป็นที่ชื่นชอบของจิตรกรเพราะสามารถวาดภาพได้ง่ายและสวยงามกว่าวาดบนผ้าไหม ส่วนลูกค้าก็ชอบภาพที่วาดบนกระดาษสามากกว่า แต่ผู้ที่ทำกระดาษสาต้องหาตลาดต่างๆมากขึ้น มิฉะนั้นจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่อาจสูญหายไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องได้รับความสนใจและการสนับสนุนจากสำนักงานภาครัฐ นักวิชาการและผู้ที่ทำงานด้านศิลปะ รวมทั้งความร่วมมือระหว่างหมู่บ้านทำกระดาษสาต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการทำกระดาษสาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด”

กระดาษสาเป็นกระดาษที่ทำจากเปลือกไม้"ย้อ" ซึ่งทำด้วยมือทุกขั้นตอนและได้รับการสืบทอดมาหลายรุ่นตามหมู่บ้านต่างๆในเวียดนาม กระดาษสามีลักษณะที่โดดเด่นเมื่อเทียบกับกระดาษชนิดอื่นๆคือ มีความเหนียวนุ่ม ไม่เลอะเทอะเวลาเขียน และสามารถเก็บได้นานถึงหลายร้อยปี

การส่งเสริมให้อาชีพทำกระดาษสาพัฒนาไม่ใช่เรื่องง่าย โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องหาตลาดรองรับ ในสถานการณ์ที่เป็นจริง ผู้ผลิตกระดาษสาหลายคนได้ทิ้งอาชีพนี้เพื่อไปหางานอื่นทำเพราะรายได้ไม่ดี แต่เมื่อเร็วๆนี้ กระดาษสาได้รับความนิยมมากขึ้น โดยหมู่บ้านทำกระดาษสาหลายแห่งได้รับการฟื้นฟูและพัฒนา นาง โงทูเหวี่ยน จากหมู่บ้านทำกระดาษสาเยืองโอ จังหวัดบั๊กนิงได้เผยว่า“อาชีพทำกระดาษสามีช่วงเวลาที่รุ่งเรืองในอดีตเนื่องจากเป็นกระดาษที่ใช้กันทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่ปัจจุบัน ไม่ค่อยมีคนใช้กระดาษสาสำหรับการเขียนทั่วไป ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือต้องหาทางให้มีคนใช้กระดาษสามากขึ้น ปัจจุบัน ครอบครัวดิฉันกำลังจัดสรรค์กระดาษสาให้แก่หน่วยทหารต่างๆของกองทัพ สำนักงานของรัฐและเยาวชนที่ชอบเขียนตัวอักษรมงคลและวาดภาพ ส่วนวิธีการทำกระดาษสานั้น ก็มีการนำเครื่องจักรมาใช้ในบางขั้นตอนเพื่อประหยัดเวลา ลดจำนวนแรงงานและค่าใช้จ่าย”

ในจำนวนกระดาษสาชนิดต่างๆ กระดาษ"ซั๊ก"เป็นกระดาษพิเศษที่ใช้เขียนพระบรมราชโองการของกษัตริย์ในสมัยศักดินา เป็นกระดาษที่มีคุณภาพดีและทนทานที่สุด โดยสามารถเก็บได้นานถึง 700 ปีในขณะที่กระดาษคล้ายๆกันจากญี่ปุ่น จีนและสาธารณรัฐเกาหลีสามารถเก็บได้แค่ 400 ปี ก่อนหน้านี้ ตระกูลลายที่หมู่บ้านจุงยาในกรุงฮานอยได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นผู้ผลิตกระดาษสำหรับใช้ในวังเพียงผู้เดีย แต่ปัจจุบัน ช่างศิลป์อาวุโสในหมู่บ้านส่วนใหญ่ได้เสียชีวิตไปแล้วและข้อมูลการทำกระดาษ “ซั๊ก”ในหมู่บ้านมีน้อยมาก นาย ลายฟู้แถก ที่ หมู่บ้านจุงยา เขตเก่าไย้ในกรุงฮานอยได้เผยว่า“ปัจจุบัน อาชีพทำกระดาษซั๊กไม่มีคนทำอีกแล้ว แต่ครอบครัวของพวกเรายังคงรักษาเคล็ดลับการทำกระดาษ "ซั๊ก" ก่อนหน้านี้ 10ปี มีผู้ที่สนใจมาศึกษาเกี่ยวกับกระดาษ “ซั๊ก”ในหมู่บ้านของเรา ซึ่งพ่อของผมได้สืบทอดเคล็ดลับการทำกระดาษ "ซั๊ก"าให้แก่ผม ปัจจุบัน มีแต่ผมคนเดียวในหมู่บ้านที่สามารถทำกระดาษ "ซั๊ก" ดังนั้น อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีมาตรการอนุรักษ์อาชีพนี้เพราะเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ไม่มีที่อื่นเหมือน”

กระดาษสามีความผูกพันกับชีวิตของคนเวียดนามแต่เนิ่นนาน ซึ่งถูกใช้เป็นวัสดุเพื่อเก็บรักษาและเผยแพร่คุณค่าวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของประชาชาติที่ยาวนานหลายพันปี ปัจจุบัน กระดาษสาเริ่มกลับมาได้รับความนิยมและมีส่วนแบ่งในตลาด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงจุดเด่นทางวัฒนธรรมของประชาชาติเวียดนามเพื่อมุ่งสู่การส่งออกกระดาษสาไปยังต่างประเทศ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด